ตัวเลข PMI ในยุโรป และ สหรัฐที่ประกาศออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้เกิด กระแสความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และมีผลต่อเนื่องไปยัง ทิศทางดอกเบี้ยว่าอาจจะปรับลดลงแรงกว่าที่คาด โดย FEDWATCH TOOL แสดงความน่าจะเป็น 54.8% ที่จะเห็นการลดดอกเบี้ย 0.5% ใน การประชุม 7 พ.ย.67 กลับมาที่บ้านเราปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวส่งผลทำ ให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องโดยล่าสุดต่ำกว่า 33 บาท/USD สร้างกระแส เรียกร้องให้ ธปท. เข้ามาดูแล ซึ่งเรามองว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะเห็น การปรับลดดอกเบิ้ยนโยบายอย่างน้อย 1 ครั้งในการประชุมอีก 2 ครั้งที่ เหลือของปีนี้ ในมุมของFUND FLOW เชื่อว่าน่าจะเห็นเม็ดเงินจากนักลงทุ ถนต่างชาติไหลเข้ามาต่อเนื่อง และเมื่อรวมกับ กองทุนวายุภักษ์ และ THAILAND ESG FUND ก็น่าจะทำให้SET INDEX ขยับตัวขึ้นได้ ยังเห็นสัญญาณบวกจาก FUND FLOW ทั้งจากต่างประเทศ และ ใน ประเทศ ทำให้ SET INDEX ยังอยู่ในแนวโน้มขึ้น วันนี้คาดกรอบ 1440 – 1457 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPALL (BK:CPALL), CPN และTASCO
สัญญาณดอกเบี้ยขาลงยังชัดเจน FED มั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้ออยู่ภายใต้การควบคุม ทำให้วันที่18 ก.ย. ที่ผ่านมา มีการ ปรับดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปีลดลง 0.5% สู่ระดับ 5.0% ส่วนในช่วงที่เหลือของปีนี้ DOT PLOT คาดลดดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อย 0.5% สู่ระดับ 4.5% วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงในสหรัฐฯ มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ โดยล่าสุดประธาน FED หลายสาขา อาทิ CHICAGO, ATLANTA, MINNEAPOLIS ฯลฯ ต่างออกมาประสาน เสียงหนุนการปรับลดเบี้ย
นอกจากนี้ LEADING INDECATOR อย่างเช่นดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ก.ย. 67 ที่รายงานออกมาล่าสุดวานนี้ อยู่ที่ 47.0 จุด ต่ำกว่าตลาดคาด 48.6 จุด และยังชะลอ ตัวต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 บ่งชี้ภาคการผลิตยังคงอยู่ในภาวะหดตัว หนุนให้ตลาดฯ เทน้ำหนักให้มากกว่าครึ่ง (54.8%) ที่คาดว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ย อีก 0.5% ในการประชุมรอบเดือน พ.ย. นี้ อย่างไรก็ตามในสัปดาห์นี้ ยังมี2 ประเด็นสำคัญที่น่าติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก
1. วันพฤหัสบดีที่25 ก.ย. 67 ติดตาม JEROME POWELL ประธาน FED จะ กล่าวเปิดงานก่อนการประชุม TREASURY MARKET CONFERENCE ประจำปี 2024
2. วันศุกร์ที่ 26 ก.ย. 67 ติดตามรายงานตัวเลขเงิน PCE สหรัฐฯ เดือน ส.ค. 67 CONSESUS คาดว่าจะเห็นการย่อตัวลงมาอยู่ที่ +2.3%YOY
สรุป กลไกทิศทางดอกเบี้ยขาลงในสหรัฐฯ มีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ หลัง ตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางดอกเบี้ยไทยในปัจจัจจุบันยังคงตรึงไว้ที่ 2.5% หนุนให้เงินบาทแข็งค่าอย่างรวมเร็ว ส่วนในระยะถัดไปหากสัญญาณการลด ดอกเบี้ยในบ้านเรายังไม่เกิดขึ้น เชื่อว่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าต่อ
้น กนง. ลดดอกเบี้ย เพื่อพยุงภาคส่งออก และค่าเงินบาท รัฐบาลชุดใหม่เตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน นโยบายการคลังมากขึ้น อาทิ กระทรวงการคลังเตรียมการจ่ายเงินในโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอล เล็ต สำหรับกลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านคน ในช่วง 25-30 ก.ย.67 ประเด็นดังกล่าว คาด หนุนให้ GDP GROWTH ไทยปีนี้มีโอกาสแตะ 3% ดังที่ปลัดกระทรวงการคลัง ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่เตรียมหารือ ธปท.เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายทาง การเงินในอนาคต ซึ่งคาดหมายถึงการดำเนินนโยบายการเงิน-การคลัง ให้สอดคล้อง กันมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่าเร็วและแรง อีกทั้งยังช่วยผลักดัน GDP GROWTH ได้ เนื่องจากมูลค่าส่งออก และการท่องเที่ยว คิดเป็นสัดส่วน 65- 70% ของมูลค่า GDP ไทย โดยฝ่ายวิจัยฯคาดว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้1 ครั้ง (25 BPS.) ผ่านการ ประชุม กนง.ที่เหลืออยู่ 2 ครั้งในปีนี้ คือ ประชุม กนง. ครั้งที่ 5/67 :16 ต.ค. 67 และ ประชุม กนง. ครั้งที่ 6/67: 18 ธ.ค. 67 สะท้อนตาม BOND YIELD ไทยอายุ1 ปีถึง 10 ปี ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่2.50% ทั้งหมด
ขณะที่ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าแร็วและแรง ตามกลไกของ DOLLAR INDEX ที่อ่อนค่า ตั้งแต่ต้นไตรมาส ค่าเงินบาท แข็งค่ากว่า 10.3%(QTD) ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าอยู่ ระดับดังกล่าว จนถึงสิ้นปี อาจกระทบต่อภาคการส่งออกสูงถึง 1.3 แสนล้านบาท(ตาม การคาดการณ์ของตลาดฯ) ซึ่งจากข้อมูลในอดีต เวลาเงินบาทแข็งค่า มักกดดันให้ สัดส่วน “มูลค่าส่งออก/GDP ลดลง” โดยมีค่า CORRELATION ระหว่างกันสูงถึง 0.7
วันนี้ต้องติดตามตัวเลขส่งออก-นำเข้า ประจำเดือน ส.ค.67 ว่าจะออกมาเช่นไร โดยทาง BLOOMBERG CONSENSUS ประเมินว่าตัวเลขส่งออกอยู่ที่ +6.0%YOY ลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่ +15.2%YOY
สรุป ลุ้น กนง. ลดดอกเบี้ยภายในปีนี้ เพื่อพยุงภาคส่งออก และการท่องเที่ยวที่มี สัดส่วนสูงถึง 65-70% ของมูลค่า GDP ไทย และช่วยพยุงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไป มากกว่านี้ ซึ่งหากมีการลดดอกเบี้ยจริง จะช่วยหนุน UPSIDE ของ TARGET SET ปีนี้ ราว 60 จุด
เห็นสัญญาณการปรับประมาณการกำไรขึ้นเล็กๆ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากฐานที่ต่ำ โดยฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน GDP GROWTH ไทยช่วง 2H67 มีโอกาสเติบโตเด่น 4.1% จึงจะเท่ากับที่กระทรวงการคลัง ประเมินทั้งปี 2567 เติบโต 3% และเป็นการเติบโตจากฐานที่ต่ำช่วง 1H67 ที่ 1.9% อีก ทั้งยังสูงกว่า GDP GROWTH 2H67 สหรัฐฯ ที่ทาง BLOOMBERG คาดเหลือ 2.1% ส่วนในมุมกำไรบริษัทจดทะเบียนเห็นสัญญาณเล็กๆ ในการทยอยปรับประมาณการ กำไรขึ้นในเดือน ก.ย. นี้ โดยจากข้อมูล BLOOMBERG CONSENSUS ประเมิน EPS67F ที่91.5 บาท/หุ้น และ EPS68F ที่ 102.7 บาท/หุ้น
ขณะที่ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินแบบอนุรักษ์นิยมกว่าตลาด EPS67F ที่91.4 บาท/หุ้น และ EPS68F ที่ 98.8 บาท/หุ้น หนุน EPS GROWTH ไทย 67F คาดจะเติบโตได้สูง 13%, และปี 68F อีก 8%
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการคัดกรองหุ้นน่าเก็งกำไร หลัง BLOOMBERG CONSENSUS ปรับเป้าหมายหุ้นขึ้นในเดือน ก.ย. (MTD) คาดอาจมีการทยอยปรับ ประมาณการขึ้นต่อ รวมถึงเม็ดเงินทยอยไหลเข้าเพิ่มเติมได้ อาทิ TASCO, EGCO, TIDLOR, BANPU, MTC, BCPG, VGI, KKP, SAWAD, BAM, GUNKUL, TRUE, IVL, KTB, KBANK (BK:KBANK) ฯลฯ
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities