THB reaching new high
• SET: คาด SET Index เปิดตลาดต้นสัปดาห์นี้น่าจะยังอยู่ในทิศทางที่ดี จากปรากฏการณ์ USD carry trade ที่ยังคงค่าเนินต่อไป ภายหลังจาก Fed มีการปรับลดดอกเบี้ยในระดับ 50 bps สัปดาห์ก่อน สะท้อนผ่านเงิน USD ที่ยังคงทรงตัวอ่อนค่า
• THB: ส่วนทางด้านเงินบาทนั้น ล่าสุดแข็งค่าทะลุระดับ 33 บาท/ดอลลาร์ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และสกุลเงินในเอเชียที่แข็งค่ามากสุดในรอบสุด สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังธปท.ดูเหมือนว่าก็ไม่มีท่าทีรีบร้อนใดๆที่จะส่ง สัญญาณเข้าแทรกแซงในตลาดเงินช่วงนี้ ส่งผลให้ Fund flow น่าจะยังอยู่ ในเกณฑ์ที่ดี แต่ในทางกลับกัน อาจเป็น Sentiment กดดันต่อหุ้นกลุ่ม ส่งออกของไทยต่อไป
• Strategy: แม้ปัจจัยด้าน Fund flow, Liquidity และ Sentiment ในตลาด หุ้นไทยจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ด้วยระดับ Upside potential ของดัชนี SET ที่เหลือเพียง 2% จากเป้าหมายปีนี้ของเราที่ 1480 จุด ทําให้ประเมิน เช่นเดิมว่าในเชิงกลยุทธ์ ยังคงจําเป็นต้องโฟกัสไปยังหุ่นที่มี Valuation ตี๋ากว่าค่าเฉลี่ยอยู่ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้ดังนี้
1) กลุ่ม Domestic play ที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกใน ระดับต่า ได้แก่ CPALL (BK:CPALL), CRC, HMPRO, BJC, GLOBAL, COM7, AWC, CPN, KTC, SAWAD
2) กลุ่ม Bond-liked ที่จะได้ประโยชน์จาก Bond yield ขาลง อาทิ IFF/REIT / Utilities laun DIF, TFFIF, EGCO, CPNREIT
• Factors: สําหรับปัจจัยที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
1) รายงานตัวเลขส่งออก-นําเข้าของไทยประจําเดือนส.ค.ที่อาจประกาศ ออกมาในสัปดาห์นี้ ล่าสุดตลาดคาดขยายตัวที่ 6.0% และ 6.5% ตามล่าดับ
2) การออกมาให้สัมภาษณ์ของกรรมการ Fed หลายท่าน โดยเฉพาะผู้มี สิทธิ์โหวตในปีนี้อย่างนาย Raphael Bostic ในวันนี้ Michelle Bowman, Adriana Kugler, Jerome Powell, John Williams, Michael Barr, Lisa Cook มองความเห็นของบุคคลเหล่านี้มีโอกาสที่ จะทําให้เงิน USD และ Bond yield เคลื่อนไหวผันผวนในสัปดาห์นี้ได้
• BoJ recap: ไฮไลท์จากการประชุม BoJ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้แก่การที่ Bol มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และหลัง การประชุม นาย Kazuo Ueda ผู้ว่า Bol ส่งสัญญาณเชิง Dovish ชัดเจน โดยกล่าวว่า BoJ คงไม่รีบร้อนที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยใดๆ หากเป้าหมายต่างๆ อย่างไม่มีการบรรลุผล และส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการใช้นโยบายการเงิน เพื่อจุดประสงค์ในการกาหนดทิศทางอัตราแลกเปลี่ยน หลังโทนการ ประชุมออกมาในเชิง Dovish ส่วนใหญ่ ท่าให้เงินเยนตอบรับอ่อนค่าทันที และต่อเนื่องมายังต้นสัปดาห์นี้ ทั้งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า ตะกร้า Dollar Index รอบนี้ไม่ได้มีการแข็งค่าขึ้นมาด้วย สะท้อนถึงผลกระทบของ การลดดอกเบี้ย 0.50% ของ Fed ที่ยังกดดันเงิน USD โดยตรงอยู่ นั่นแปลว่า 2 สกุลเงินยักษ์ใหญ่ของโลก ณ เวลานี้ (USD & JPY) ต่างดูเหมือนจะมีปัจจัยกดดันเฉพาะตัวของตนเอง ซึ่งน่าจะทําให้ สกุลเงิน EM รวมถึงเงินบาทของไทยแข็งค่าอย่างต่อเนื่องได้
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities