Economic Highlight
ควรรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน พร้อมจับตาผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)
**ราคาทองคำ = Spot Gold price (XAUUSD)
FX Highlight
- สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าที่คาด ตามจังหวะการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าคาด โฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำและแรงซื้อสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ
- เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทมีโอกาสทยอยอ่อนค่าลง (เราจะมั่นใจมากขึ้น หากเงินบาทสามารถอ่อนค่าเหนือระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ชัดเจน) แต่เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นบ้าง หากผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อมั่นว่าเฟดจะเร่งลดดอกเบี้ย
- ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจรีบาวด์แข็งค่าขึ้นบ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ออกมาแย่กว่าคาดชัดเจน หรืออัตราเงินเฟ้อไม่ได้ชะลอตัวลงหนัก
- นอกจากนี้ เงินดอลลาร์อาจพอได้แรงหนุนจากบรรยากาศปิดรับความเสี่ยงของตลาดและโอกาสที่เงินยูโร (EUR) อาจอ่อนค่าลง หาก ECB ส่งสัญญาณพร้อมลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง
- เรามองว่า ควรจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) และบรรดาสกุลเงินฝั่งเอเชีย ที่อ่อนไหวกับภาพเศรษฐกิจจีน อย่าง เงินบาทได้
- นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้น เรามองว่า ควรติดตามทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจเริ่มทยอยขายทำกำไรสินทรัพย์ไทย รวมถึงจับตาการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาทองคำ
- สัญญาณจาก RSI MACD และ Stochastic ใน Time Frame รายวัน สำหรับ USDTHB สะท้อนว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทนั้นยังคงอยู่ แม้จะชะลอลงบ้าง จากการกลับมาแข็งค่าเร็วและแรงของเงินบาทตั้งแต่ช่วงวันพุธที่ผ่านมา นอกจากนี้ สัญญาณ RSI Bullish Divergence ยังคงอยู่ พร้อมทั้งโอกาสเกิด Hammer Reversal Pattern ทำให้เรายังคงมุมมองเดิมว่า การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมานั้น ควรจะชะลอลง และเงินบาทยังมีโอกาสทยอยอ่อนค่าลงได้บ้าง ทั้งนี้ เราจะมั่นใจได้ว่า เงินบาทจะกลับมาอ่อนค่าลงต่อเนื่องได้ หากเงินบาทสามารถอ่อนค่าลงเหนือระดับ 34.10 บาทต่อดอลลาร์ ได้ชัดเจน
- ส่วนสัญญาณจาก Time Frame H1 สะท้อนว่า เงินบาทมีแนวโน้มทยอยอ่อนค่าลงได้ จาก RSI Bullish Divergence รวมถึงสัญญาณจาก Stochastic และ MACD ในขณะที่ Time Frame H4 สัญญาณจาก RSI และ Stochastic สะท้อนว่า เงินบาทเริ่มมีโอกาสอ่อนค่าลง ทว่า MACD ยังไม่ได้สะท้อนภาพดังกล่าวที่ชัดเจน
- โดยรวมเงินบาทยังมีแนวต้านแรกแถว 33.80 บาทต่อดอลลาร์ และมีโซนแนวต้านถัดไปในช่วง 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนโซนแนวรับนั้น โซน 33.40-33.50 บาทต่อดอลลาร์ จะเป็นแนวรับสำคัญ แต่หากเงินบาทยังแข็งค่าต่อได้ ก็อาจแข็งค่าทดสอบโซน 33.20 บาทต่อดอลลาร์
Gold Highlight
- ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบ sideways ตามที่เราประเมินไว้ในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยราคาทองคำเคลื่อนไหวผันผวนพอสมควร หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่สามารถทำให้ผู้เล่นในตลาดมั่นใจได้ว่า เฟดจะสามารถเร่งลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายนได้
- นอกจากนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางก็ดูไม่ได้ทวีความรุนแรงมากนัก ทำให้ราคาทองคำก็ขาดปัจจัยสนับสนุนในช่วงนี้
- เรายังคงประเมินว่า ราคาทองคำก็เสี่ยงเคลื่อนไหวผันผวนได้ทั้งสองทิศทาง (Two-Way Volatility) ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่าจะส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดอย่างไร
- ทั้งนี้ ปัจจุบัน ผู้เล่นในตลาดได้คาดหวังแนวโน้มการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟดไปพอสมควรแล้ว ทำให้เรามองว่า Upside ของราคาทองคำจากประเด็นแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดอาจมีอยู่อย่างจำกัด และอาจต้องรอจับตาท่าทีของบรรดาธนาคารกลางอื่นๆ ว่าจะส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยต่อเนื่องลงหรือไม่
- และนอกเหนือจากประเด็นแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของบรรดาธนาคารกลางหลัก เรามองว่า ราคาทองคำต้องการปัจจัยหนุนเพิ่มเติม ถึงจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทะลุโซนแนวต้านได้ โดยเฉพาะปัจจัยความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์จากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางและสงครามรัสเซีย-ยูเครน
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI Stochastic และ MACD Time Frame รายวัน ชี้ว่า ราคาทองคำยังคงมีความเสี่ยงที่จะทยอยปรับตัวลดลง
- ส่วนในภาพTime Frame H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI Stochastic และ MACD สะท้อนว่า ราคาทองคำเริ่มเจอโซนแนวรับแถวโซน 2,480 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และอาจเริ่มทรงตัวในกรอบ sideways หรือการปรับตัวลดลงอาจมีอยู่อาจจำกัด
- โดยรวม เรายังคงมองว่า ราคาทองคำจะแกว่งตัวในกรอบ sideways เพื่อรอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยราคาทองคำยังมีโซนแนวต้านแถวจุดสูงสุดของปีนี้ หรือโซน 2,530 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และมีโซนแนวรับแถว 2,480 ดอลลาร์ต่อออนซ์