📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ราคาทองคำทยอยปรับตัวสูงขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์

เผยแพร่ 19/08/2567 09:03

Economic Highlight

ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด ECB และ BOJ ผ่านรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ของสหรัฐฯ ยูโรโซนและญี่ปุ่น รวมถึงถ้อยแถลงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ขณะเดียว ควรระวังความผันผวนจาก สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และพร้อมจับตาสถานการณ์การเมืองไทย

 

**ราคาทองคำ = Spot Gold price (XAUUSD

FX Highlight

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทได้ทยอยแข็งค่าขึ้น หลุดโซนแนวรับที่เราประเมินไว้ ตามโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ จังหวะอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทยที่ลดลงต่อเนื่อง 
  • อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า การแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินบาท อาจเริ่มชะลอลงได้บ้าง โดยมีความเสี่ยงที่เงินดอลลาร์อาจมีจังหวะแข็งค่าขึ้นได้ หากผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟด
  • นอกจากนี้ แม้ว่าความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทยจะลดลงไปบ้าง ทว่าควรจับตาการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ ที่หากมีความล่าช้า ก็อาจกระทบเงินบาทผ่านฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้ 
  • ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่ควรจับตานั้น เรายังคงมองว่า สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางคือความเสี่ยงที่มองข้ามไม่ได้ แม้ว่าจะมีกระแสข่าวสหรัฐฯ และหลายๆ ประเทศพยายามหาทางลดความตึงเครียดของสถานการณ์ในตะวันออกกลางก็ตาม 
  • โดยหากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางทวีความรุนแรงและเสี่ยงบานปลายมากขึ้น อาจกดดันให้ตลาดการเงินกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ส่วนราคาน้ำมันดิบก็อาจผันผวนสูงขึ้นเร็วและแรง ซึ่งภาพดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าได้ แต่เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก หรืออาจแกว่งตัว sideways หากราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นได้ในกรณีดังกล่าว
  • อนึ่ง ควรระวัง ความผันผวนในตลาดการเงินจากการปรับสถานะ JPY-carry trade หรือ Short JPY เพิ่มเติม ซึ่งจะขึ้นกับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยในประเด็นหลัง ต้องรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของญี่ปุ่น อย่าง อัตราเงินเฟ้อ CPI และดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ
  • สัญญาณจาก RSI MACD และ Stochastic ใน Time Frame รายวัน สะท้อนว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินบาทยังคงอยู่ ทว่า RSI ได้เข้าสู่โซน Oversold ทำให้เราประเมินว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอาจชะลอลงบ้าง และเงินบาทอาจมีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ sideways ได้เช่นกัน  
  • ส่วนสัญญาณจาก Time Frame H1 และ H4 ทั้ง RSI และ MACD สะท้อนภาพเงินบาทยังมีโมเมนตัมฝั่งแข็งค่าอยู่ ไม่ต่างกับ Time Frame Daily อย่างไรก็ดี Stochastic และ RSI Oversold ได้สะท้อนว่า เงินบาทเริ่มมีโอกาสที่จะผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง 
  • โดยรวมเราประเมินว่า เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways เพื่อรอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยจะมีโซนแนวรับในระยะสั้นแถว 34.50-34.60 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่โซนแนวต้านจะอยู่แถว 35.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีโซน 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ และโซน 35.50 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวต้านถัดไป

Gold Highlight

  • ราคาทองคำทยอยปรับตัวสูงขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ได้ ทำให้ราคาทองคำดูจะไร้โซนแนวต้านในช่วงนี้ และอาจปรับตัวขึ้นต่อได้ หากมีปัจจัยหนุนเพิ่มเติม อย่างสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
  • อย่างไรก็ดี เรามองว่า ควรระวังแรงขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำทำจุดสูงสุดใหม่ ทว่า ปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำกลับไม่ได้มีชัดเจนนัก 
  • โดยในส่วนของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ก็อาจกลับมากดดันราคาทองคำได้ หากผู้เล่นในตลาดคลายกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวเพิ่มเติม ในทางกลับกัน หากสถานการณ์ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้นได้จริง อย่างที่เรากังวลนั้น ก็อาจหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อได้
  • ส่วนประเด็นแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดนั้น เรามองว่า ต้องระวังในกรณีที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาสดใส ทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยลดความคาดหวังต่อการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งอาจกดดันราคาทองคำได้ ผ่านการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI Stochastic และ MACD Time Frame รายวัน ชี้ว่า ราคาทองคำยังมีโมเมนตัมขาขึ้นอยู่ อย่างไรก็ดี RSI เริ่มเข้าใกล้โซน Overbought และอาจเกิดภาพ RSI Bearish Divergence เพิ่มความเสี่ยงที่ราคาทองคำอาจย่อตัวลงในระยะสั้น 
  • ส่วนในภาพTime Frame H4 และ H1 แม้ว่าสัญญาณจาก MACD ยังคงสะท้อนถึงโมเมนตัมขาขึ้นของราคาทองคำที่ยังคงมีอยู่ ไม่ต่างกับภาพใน Time Frame รายวัน ทว่า สัญญาณจาก RSI และ Stochastic ได้สะท้อนถึงความเสี่ยงที่ราคาทองคำอาจปรับตัวลดลงได้ โดยอาจมีโซนแนวต้านแรกแถว 2,510 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากปรับตัวขึ้นต่อได้ ราคาทองคำก็ไร้แนวต้าน ส่วนแนวรับแรกอาจอยู่ในช่วง 2,480 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และมีโซนแนวรับถัดไปแถว 2,460 ดอลลาร์ต่อออนซ์
  • โดยรวม เรามองว่า ราคาทองคำอาจแกว่งตัวในกรอบ sideways แต่ต้องระวังแรงขายทำกำไรใกล้จุดสูงสุด รวมถึงการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด และสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย