FED มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.5% ตามคาด แต่ก็ส่งสัญญาณการ ปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไป (18 ก.ย.67) ชัดเจนขึ้น และอาจ เห็นการปรับลดในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2567 ได้ราว 3 ครั้ง ท่าทีดังกล่าว ทำให้ BOND YIELD 10 ปี ปรับลดลงโดยล่าสุดอยู่ที่ 4.05% สำหรับใน บ้านเรา แม้มีกระแสเรียกร้องออกมาจากกระทรวงการคลังที่ให้ความเห็น ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่ควรจะเป็น แต่ท่าทีของ ธปท. ก็ยังเห็นว่าเป็น ปัญหาเชิงโครงสร้าง การลดดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ตอบโจทย์ ในมุมของ ตลาดหุ้นหาก FED ลงดอกเบี้ย 3 ครั้ง และบ้านเราคงดอกเบี้ย น่าจะส่งผล ทำให้เงินบาทแข็งค่า ซึ่ง ASPS RESEARCH ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของ ส่วนต่าง BOND YIELD 10 ปี สหรัฐ-ไทย หากส่วนต่างแคบลงจะทำให้เงิน บาทแข็งขึ้น โดยรอบนี้มีโอกาสแข็งค่าทะลุ 35 บาท/USD ลงมาได้ ซึ่งอาจ สร้างแรงดึงดูด FUND FLOW สัญญาณบวกจาก FUND FLOW รวมถึงเม็ดเงินลงทุนจากสถาบันใน ประเทศ ชัดเจนขึ้น คาด SET INDEX วันนี้อยู่ในกรอบ 1301 – 1325 จุด หุ้น TOP PICK เลือก IVL, PLANB และ PTTEP
ทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เริ่มเป็นขาลงชัดเจน ตามถ้อยแถลง ของประธาน FED มีผลต่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามกลไล วานนี้มีการประชุม 2ธนาคารกลางใหญ่ เริ่มจากญี่ปุ่น (BOJ)ขึ้นดอกเบี้ย 15 BPS. สู่ ระดับ 0.25% และปรับลดการซื้อพันธบัตรลงไตรมาสละ 4 แสนล้านเยน ส่งผลให้ค่าเงิน USDJPY แข็งค่าขึ้นล่าสุดอยู่ระดับ 149 เหรียญฯ/เยน (1 เดือน เงินเยนแข็งค่าขึ้น 7.4%) ส่วนสหรัฐฯ (FED) คงดอกเบี้ยระดับเดิม 5.50% พร้อมกับแสดงท่าที DOVISH อย่างชัดเจนในอนาคต โดยประธาน FED ได้กล่าวกับสื่อมวลชนหลังการประชุมว่า หากข้อมูลทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อ CPI มีสัญญาณอยู่ในทิศทางชะลอ ตัวลงสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% FED ก็พร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดใน การประชุมครั้งหน้า นั้นคือ ก.ย.67
ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาด โดยระยะถัดไป จะเริ่มเห็นทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯเป็น ขาลงชัดเจนขึ้น โดยตลาดประเมินว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยปีนี้ 3 ครั้ง โดยผลการ สำรวจของ FED WATCH TOOL ให้น้ำหนักเกือบ 90% ที่คาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ย ลงสู่ระดับ 5.25% และทยอยปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ย.67 และ ธ.ค.67 ลง 0.25% จนคาด ณ สิ้นปีดอกเบี้ยจะอยู่ระดับ 4.75% ประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้ BOND YIELD 10Y สหรัฐ ปรับตัวลงแรง 2.65% อยู่ที่4.03% (ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน) และกดดัน DOLLAR INDEX อ่อนค่าแรง 0.44% อยู่ระดับ 104.10 จุด
สรุป การที่ BOJ ปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น ซึ่งองค์ประกอบค่าเงิน ดอลลาร์มีสัดส่วนของค่าเงินเยนสูงเป็นอันดับ 2 ที่ 14% จึงทำให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่าตามกลไล บวกกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีท่าทีลดดอกเบี้ยในอนาคต ยิ่งเป็น แรงเสริมให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่ามากขึ้น ประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็ง ค่าขึ้นตามกลไก และเป็นปัจจัยหนุนให้ FLOW ต่างชาติมีโอกาสหันมาสนใจตลาดหุ้น ไทยมากขึ้น ตามรายละเอียดในหัวข้อถัดไป
ทิศทางดอกเบี้ยขาลงชัดเจน โดยเฉพาะสหรัฐฯ มีผลต่อค่าเงิน บาทแข็งค่าขึ้นตามกลไล วัฎจักรดอกเบี้ยขาลงทองสหรัฐ ที่มีโอกาสลดดอกเบี้ยเร็วกว่าไทยมากในช่วงที่เหลือ ของปี โดยตลาดคาดว่า FED มีโอกาสลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ส่วน BOT น่าจะคง ดอกเบี้ยเหมือนเดิม ประเด็นดังกล่าวอาจส่งผลให้ส่วนต่างผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐกับไทยแคบ ลงเรื่อยๆ โดยฝ่ายวิจัยฯ ได้ทำการศึกษา ความสัมพันธ์ของส่วนต่าง BOND YIELD 10ปีสหรัฐ – ไทย กับค่าเงินบาท พบว่า เคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าCORRELATION สูงถึง 0.85 โดย ทุกๆ ส่วนต่าง BOND YIELD ที่แคบลง 25 BPS. หนุนบาทแข็งขึ้น 0.7 บาท/เหรียญ อาจะจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทย มากขึ้นเพราะ ต่างชาติมีโอกาสได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม 6-7% ถ้าในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี สหรัฐลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง และไทยคงดอกเบี้ย อาจหนุนให้ค่าเงินบาท แข็งค่าลงไปอยู่ในกรอบ 33.1 –33.4 บาท/เหรียญ หรือแข็งค่าขึ้นราว 6-7% มีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็นนี้ คือ หุ้น HIGH YIELD ลง LH, SIRI, SCB, KBANK (BK:KBANK), TTB, PTTEP, หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง GPSC, BGRIM, GULF
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยฯ ยังทำการศึกษาเพิ่มเติม พบว่า เวลาส่วนต่าง BOND YIELD 10 ปี ไทยกับสหรัฐแคบลง FUND FLOW ต่างชาติมักจะไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ในทาง กลับกันหาก BOND YIELD 10 ปี ไทยถูกสหรัฐทิ้งห่าง (GAP มากขึ้น) FUND FLOW ก็มักจะไหลออก โดยทุกๆ ส่วนต่าง BOND YIELD 10Y(US-TH) แคบลง 5 ถึง 10 BPS. หนุนให้ FUND FLOW ไหลเข้าได้ราว 1 หมื่นล้านบาท แต่ถ้า ส่วนต่าง BOND YIELD 10Y (US-TH) กว้างขึ้น 5 ถึง 10 BPS. กดดัน FUND FLOW ไหลออก 1 หมื่น ล้านบาท
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหาหุ้นไทย ที่ต่างชาติเริ่มเก็บสมผ่าน NVDR อย่าง หนาแน่นในเดือน ก.ค. 67 ถึง 1.4 หมื่นล้านบาท โดยมี 10 หุ้นที่ต่างชาติซื้อผ่าน NVDR สูงสุด ในเดือน ก.ค. 67 คาดว่าจะมีเม็ดเงินไหล เข้าเพิ่มเติมในช่วงต่อจากนี้ คือ DELTA 3.7 พันล้านบาท, BBL 2.6 พันล้านบาท, CPALL (BK:CPALL) 2.5 พันล้านบาท, KBANK 2.1 พันล้านบาท, CPF 1.7 พันล้านบาท, TRUE 1.5 พันล้านบาท, IVL 1.5 พันล้านบาท, PTTGC 1.3 พันล้านบาท, ADVANC 592 พันล้านบาท, BGRIM 584 พันล้านบาท
หาหุ้นน้ำมันไทยยัง LAGGARD หลังราคาน้ำมันโลกดีดตัว วานนี้น้ำมัน WTI ดีดตัวขึ้นแรงราว 5% และเช้านี้บวกต่ออีกราว 1% พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 78.67 เหรียญฯ หลังปรับตัวลงไปทำจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 2 เดือน ขณะที่ปัจจัยเข้า มาช่วยผลักให้ราคาน้ำมัน REBOUND คงหนีไม่พ้นความกังวลจากฝั่ง SUPPY หลัง ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่เริ่มกลับมามีน้ำหนักอีกครั้ง ขณะที่สถานการณ์ความตรึงเครียดในตะวันออกกลาง (ภูมิภาคที่ผลิตน้ำมันดิบมาก ถึง 1 ใน 3 ของโลก) ล่าสุด กลุ่มติดอาวุธฮามาสและสื่ออิหร่านรายงานตรงกันว่า “อิส มาอิล ฮานิเยห์“ หัวหน้ากลุ่มฮามาส ได้ถูกสังหารแล้วในอิหร่าน จากการโจมตีของ อิสราเอล (อย่างไรก็ตามอิสราเอลยังไม่ได้ออกมาชี้แจงดังกล่าว) ซึ่งยังต้องติดตามถึง ความเสี่ยงต่อการขยายวงกว้างของสงครามไปในระดับภูมิภาค
ในอีกแง่มุมหนึ่งของราคาน้ำมันดิบโลกที่ดีดตัวขึ้นแรง มองเป็น SENTIMENT เชิงบวก ต่อ SET INDEX ด้วยเช่นกัน เนื่องจากหุ้นไทย MARKET CAP อิงราคา COMMODITY เกือบ 1 ใน 3 ขณะที่หุ้นน้ำมันไทยที่ยัง LAGGARD ราคาน้ำมัน (YTD) อาทิ BCP IRPC BSRC PTT (BK:PTT) SPRC TOP PTTEP
สรุป ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ร้อนแรง หนุนราคาน้ำมันดิบโลกดีดตัว มองเป็น SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นอิงราคาน้ำมัน และยัง LAGGARD อาทิ BCP IRPC PTT SPRC TOP PTTEP
เรื่องเล่าขั้นต่ำบัตรเครดิต ท่ามกลางกระแสข่าว ธปท. อยู่ระหว่างพิจารณาปรับลดการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 8% เหลือ 5% (ตามแผนปัจจุบันปี 2568 กลับสู่ระดับ 10% เท่ากับช่วง PRECOVID) หลังกลุ่มรายย่อยยังได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวอย่างไม่เท่าเทียมกันของ เศรษฐกิจไทย ในมุมมองฝ่ายวิจัยกรณีที่เกิดขึ้น มองกลางต่อประเด็นดังกล่าว แม้ ช่วยด้านการเติบโตของสินเชื่อบัตรเครดิต ตามการผ่อนชำระเงินต้นต่ำลง (สินเชื่อ บัตรเครดิต ณ สิ้น เม.ย. 67 อยู่ที่ 4.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นของ ธ.พ. ราว 2.2 แสนล้านบาท และ NON – BANK ประมาณ 2.5 แสนล้านบาท) และลดแรงกดดันด้าน NPL บางส่วน ช่วยผ่อนคลายการตั้ง ECL อย่างไรก็ดีผลทางอ้อมทำให้ระดับหนี้ ครัวเรือนต่อ GDP ที่อยู่สูงถึงประมาณ 90% มีแนวโน้มลดลงช้า ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ในการปรับขั้นต่ำเหลือ 5% จะยาวนานเท่าใด มีโอกาสเป็นปัจจัยฉุดรั้งกำลังซื้อใน ประเทศระยะถัดไป
สำหรับกลุ่ม NON – BANK ที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นหลัก อย่าง KTC, AEONTS (ทั้งคู่ฝ่ายวิจัยไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์) ย่อมได้ประโยชน์จากการเติบโตของ สินเชื่อและ ECL ผ่อนคลาย มากกว่ากลุ่ม ธ.พ. ซึ่งมีสัดส่วนสินเชื่อบัตรเครดิต เมื่อ เทียบกับพอร์ตรวมไม่สูง อาทิ BAY อยู่ที่ราว 4% ของพอร์ตสินเชื่อ, , SCB (ผ่าน บ. ย่อย CARDX รวมสินเชื่อบุคคล) อยู่ที่ราว 4% ของพอร์ตสินเชื่อ, KBANK ราว 4% ของพอร์ตสินเชื่อ, KTB (ผ่าน บ. ย่อย KTC) สัดส่วนราว 3% ของพอร์ตสินเชื่อ และ TTB ราว 3% ของพอร์ตสินเชื่อ โดยการลงทุนกลุ่มธนาคาร ให้น้ำหนัก เท่าตลาด มองว่า VALUATION เชิง PBV ไม่ แพง ประกอบกับ DIV YIELD ตั้งแต่ 5% - 9% ภาพรวมถือว่าน่าสนใจ เลือก ธ.พ. ที่ การควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ทำได้ดีต่อเนื่อง เรียงตามความชอบดังนี้ KTB (OUTPERFORM : FV@B19.8), KBANK (OUTPERFORM : FV@B148) > TTB (OUTPERFORM : FV@B1.98) > BBL (OUTPERFORM : FV@B175) > TISCO (NEUTRAL : FV@B100) > SCB (NEUTRAL : FV@B102) > KKP (UNDERPERFORM : FV@B38)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities