ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

ซื้อถูก ขายแพง สูตรสำเร็จของการเล่นหุ้น รู้หุ้นถูกแพงด้วย Multiple

เผยแพร่ 24/06/2567 09:20

เคยได้ยินเรื่อง ซื้อถูก ขายแพง ในวงการหุ้นหรือเปล่า?

เมื่อไหร่กันที่หุ้นถึงจะถือว่าราคาถูก หรือหุ้นตัวไหนที่ถือว่าราคาแพง?

ไม่มีใครรู้คำตอบนี้อย่างแท้จริง เพราะถ้ารู้ คน ๆ นั้นก็คงกลายเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกไปแล้ว แต่อย่างน้อยเราสามารถใช้มาตรวัดบางอย่างเข้ามาประเมินคร่าว ๆ ได้ว่าหุ้นตัวนั้น ๆ มีราคา “ต่ำกว่าความเป็นจริง” หรือ “สูงกว่าความจริง”

มาตรวัดอย่างนึงที่นักลงทุนนิยมใช้คือ Multiple หรือการนำราคาหุ้นมาหารด้วยค่ามาตรวัดพื้นฐานซักตัว เช่น EV/EBITDA, P/BV, P/S, EV,S, หรือ P/CFPS

ตัวที่เป็นที่นิยมที่สุดที่ทุกคนน่าจะเคยได้ยินมาคือ P/E Ratio(price to earnings) ซึ่งคำนวณง่ายมาก โดยนำราคาหุ้น มาหารกับกำไรต่อหุ้น

เช่น บริษัท A มีหุ้นในตลาดอยู่ 1 ล้านหุ้น หุ้นแต่ละตัวราคา 30 บาท เมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทนี้มีรายได้ 2 ล้านบาท ตัวเลขที่ได้คือตัวเลขเท่าไหร่ที่นักลงทุนยอมจ่าย 1 บาทต่อกำไรของบริษัทนั้น ซึ่งก็คือ 15 เท่า

ปัญหาของเรื่องนี้คือ P/E Ratio ตัวนี้เป็นการดูข้อมูลย้อนหลัง เนื่องจากเอากำไรของบริษัทที่ผ่านมาแล้วมาคำนวณ ข้อมูลเลยไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ เพราะเราต้องการมองไปที่อนาคตของหุ้น นักลงทุนเลยเอา “คาดการณ์” เข้ามาช่วย ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการที่เอา Multiple หลายตัวมาคำนวณ ตัวอย่างเช่น

หุ้น A ราคาหุ้นร่วงต่อเนื่อง แต่คาดการณ์บอกว่าหุ้นตัวนี้ทำกำไรสูงขึ้น แปลว่านักลงทุนไม่ค่อยเชื่อมั่นในกำไรที่บริษัทนี้ทำได้เหมือนที่เคย

หุ้น B ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น แต่กำไรน้อยลง แปลว่านักลงทุนยอมจ่ายในราคาที่แพงขึ้นเพื่อเป็นเจ้าของหุ้นตัวนี้

มาดูอีกตัวอย่างกัน ในที่นี้เราอาจจะเอา P/E multiple มาเทียบกับ ค่าเฉลี่ยระยะยาว(long term average) เพื่อดูว่ามาร์จิ้นสูงหรือต่ำกว่าปกติ เช่น

ถ้าเราลองเอาค่าเฉลี่ย P/E 10 ปี ของหุ้น A ตัวข้างบนที่เราเคยบอกว่า P/E อยู่ที่ 15 แต่ตอนนี้ P/E อยู่ที่ 12 แปลว่าหุ้นอาจจะถูกกว่าความจริง เราอาจจะซื้อเพื่อทำกำไรในขณะที่มันกลับมาที่ P/E เฉลี่ยที่ 15 เหมือนเดิม

สังเกตว่าผมมักจะใช้คำว่า “อาจจะ” เนื่องจากไม่มีตัววัดไหนที่แม่นยำ 100%

ทั้งนี้ยังมี Multiple อีกหลายตัวมากที่เราสามารถหยิบมาคำนวณเพื่อหาราคาที่แท้จริงของหุ้น แล้วเราจะดูพวกตัวเลข Multiple ได้จากที่ไหน?

ปกติแล้ว ในหน้าหุ้นทุกตัวบนเว็บไซต์ investing.com ที่ให้บริการฟรี จะมีข้อมูลของ Multiple บางตัวอยู่แล้ว เช่น P/E หรือ EV/EBITDA ที่เหลือเราต้องนำมาคำนวณเอง

ที่มา: investing.com

อ่านมาถึงตรงนี้ผู้อ่านเริ่มปวดหัวกันรึยัง? เพราะการพยายามหาคำตอบนี้แหละที่ทำให้นักลงทุนปวดหัว และบางทีอาจจะตัดสินใจลงทุนช้าไป เพราะมัวแต่คำนวณ Multiple กันอยู่

นอกจากนี้ Multiple หลาย ๆ ตัวที่เราอยากดูนั้นหาไม่เจอ หรือหายาก

ตรงนี้ investingPro สามารถเข้ามาช่วยได้ นอกจาก investingPro จะรวบรวม Multiple มาให้เราค้นหาได้สะดวกแล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า Fair Value หรือ มูลค่ายุติธรรม ให้เราดูอีกด้วย

Fair Value ของ investingPro คือมูลค่ายุติธรรมแบบสำเร็จรูป หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือเค้าคำนวณมาให้เสร็จแล้วว่าหุ้นตัวนั้น ๆ มีมูลค่าที่ควรจะเป็นเท่าไหร่

ที่มา: มูลค่ายุติธรรมของ Apple (NASDAQ:AAPL) จาก investingPro

ในหน้านี้คือมูลค่ายุติธรรมที่ได้จาก Multiple กว่า 14 ตัวมาหาค่าเฉลี่ย ออกมาเป็นมูลค่ายุติธรรม ตัวเลขนี้เป็นการบอกคร่าว ๆ ว่าถ้าเรานำ Multiple ที่เหมาะสมกับหุ้นตัวนี้มาคำนวณ ราคาหุ้นดังกล่าวควรจะเป็นเท่าไหร่

แน่นอนว่าข้อมูลที่ว่าอาจไม่แม่นยำ 100% เนื่องจากเป็นการคาดคะเนราคาหุ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เท่านั้น อย่างที่ผมได้พูดไว้ข้างต้นว่ายังไม่มีใครสามารถรู้ได้ 100% ว่าราคาหุ้นที่ควรจะเป็นคือเท่าไหร่(ถ้ารู้ก็คงรวยกันหมดแล้ว)

แต่การดู Fair value นั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประหยัดเวลาในการหาข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นมาก และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากที่เราต้องนำมาพิจารณา

ทั้งนี้ หากใครที่ต้องการใช้งาน investingPro เพื่อดูมูลค่ายุติธรรมของหุ้น สามารถสมัครใช้งานด้วยคูปองส่วนลด TH2024 เพื่อรับส่วนลดเพิ่มเติมอีก 10% รวมเข้ากับโปรโมชั่น Summer Sale ที่ investing กำลังจัดในช่วงนี้ ถือเป็นการลดราคาที่แรงเกือบที่สุดในรอบปี

Disclaimer: บทความนี้จัดทำขึ้นโดยทีมงานของ investing ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย