ัจจัยการเมืองกลับมาสร้างแรงกดดันให้กับตลาด เริ่มจากกรณีที่ ศาล รัฐธรรมนูญ อยู่ระหว่างการวินิจฉัยเรื่องที่ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งรัฐมนตรี ที่อาจขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งน่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาใน ช่วงเวลาไม่เกิน 2 เดือนนี้ ถัดมาเป็นการพิจารณาคำร้องให้ยุบพรรคก้าว ไกล ซึ่งก็น่าจะใกล้รู้ผลเช่นกัน ล่าสุดเป็นกรณีที่ อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง อดีต นายกฯทักษิณ ตามข้อกล่าวหาที่ทำผิดตาม ป.อาญามาตรา 112 โดยมี กำหนดยื่นฟ้องคดีต่อศาล 18 มิ.ย.67 ทั้ง 3 กรณีในมุมของนักลงทุน ถือ เป็นปัจจัยที่สร้างความไม่เชื่อมั่น ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านตัวเลขขายสุทธิของ นักลงทุนต่างชาติ ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเบาบางกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้ หากการเมืองเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยน ก็อาจทำให้เศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงฟื้น ตัวเกิดอาการสะดุดอีกรอบ
SET INDEX ปิดต่ำกว่า 1357 จุด เป็นสัญญาณลบทาง TECHNICAL ขณะที่สถานการณ์การเมืองเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยง วันนี้คาดกรอบ 1340 – 1358 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPALL (BK:CPALL), PTTEP และTU
ัจจัยภายนอกไม่สดใส กดดัน SET ทดสอบแนวรับ 1340 จุด
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงช่วง 0.6%-1.5% ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ กระทรวงการคลังสหรัฐทำการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 5 ปี วงเงิน 7 หมื่น ล้านดอลลาร์วานนี้ แต่ได้รับการตอบรับที่ซบเซาในตลาด โดย BID-TO-COVER RATIO ลดลงสู่ระดับ 2.3 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ระดับ 2.45 เท่า จึงทำให้อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ ที่ 4.6% และส่งผลให้ DOLLAR INDEX แข็งค่ากว่า 0.5% สู่ระดับ 105.12 จุด และ กดดันค่าเงินบาทไทยให้อ่อนค่าตามกลไก
ขณะที่ในมุมทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯยังเห็นสัญญาณว่าอยู่ในทิศทางขาลงอยู่ แต่ ตลาดคาดว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ โดยอาจจะเกิดขึ้น ในช่วง พ.ย.67 หรือธ.ค.67 ซึ่งจากก่อนหน้านี้ตลาดเคยคาดว่า FED อาจจะปรับลด อัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ และหากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงโอกาสการคงดอกเบี้ย ในการประชุม FED รอบ พ.ย.67(5.25%-5.50%) จะเห็นได้ว่า มีโอกาสสูงขึ้นที่จะคง ดอกเบี้ย โดยความน่าจะเป็นล่าสุดอยู่ที่ 41.3% ซึ่งก่อนหน้านี้ 1 สัปดาห์มีความน่าจะ เป็นล่าสุดอยู่ที่ 29.1% เท่านั้น
ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวที่ปัจจัยภายนอกผันผวน คาดกดดันให้ SET INDEX วันนี้ ผันผวนตาม โดยวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1340-1358 จุด และกล ยุทธ์การลงทุนแนะนำกลุ่มหุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า หรือหุ้นที่มี ปัจจัยบวกเฉพาะตัว อาทิ HANA, DELTA, KCE, TU, ITC, AAI, CPF, GPFT, STA, NER, STGT เป็นต้น
ประเมินความไม่แน่นอนทางการเมือง กับตลาดหุ้นไทย
วานนี้อัยการสูงสุด มีคำสั่งฟ้องอดีตนายกฯ "ทักษิณ ชินวัตร" คดีมาตรา 112 แต่ พนักงานไม่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้เนื่องจากนายทักษิณไม่ได้มาพบตามกำหนด นัด โดยได้มอบหมายให้ทนาย มายื่นเลื่อนนัดฟังคำสั่งคดี ส่วนอัยการสูงสุดสั่งฟ้อง ทุกข้อกล่าวหา และนัดยื่นฟ้องต่อศาล ในวันที่ 18 มิ.ย.2567
ในช่วงต่อจากนี้ ประเด็นการเมือง ทั้งประเด็น 40 สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายก ฯเศรษฐา แต่งตั้ง คุณพิชิต เป็น รัฐมนตรี รวมถึงประเด็นอัยการสูงสุดส่งคำสั่งฟ้อง คดีที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กระทำผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 อาจทำ ให้เกิดความไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางการเมือง และเกิดความกังวลต่อการดำเนิน นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไปอีกระยะ จนกว่าจะเห็นความชัดเจน
ฝ่ายวิจัยฯ ทำการค้นหาข้อมูล POLITICAL UNCERTAINTY จากการนับจำนวน บทความข่าวที่นำเสนอในอินเตอร์เน็ต แต่ละสัปดาห์ย้อนหลัง 1 ปี พบว่า จำนวน บทความข่าวเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังน้อยกว่า ช่วงหลังเลือกตั้งในปีที่แล้วอยู่พอสมควร
ในเชิงเปรียบเทียบกับตลาดหุ้น พบว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองเคยพีคๆ ในช่วง หลังเลือกตั้งปี 2566 ช่วงนั้น SET INDEX ย่อตัวจากบริเวณใกล้ๆ 1580 จุด ลงมา เหลือ 1460 จุด แต่ปัจจุบัน SET INDEX อยู่บริเวณ 1349 จุด ต่ำกว่าช่วงนั้นมาก แม้ ในระยะสั้นอาจสร้างจิตวิทยาเชิงลบต่อนักลงทุน กดดันสภาพคล่องตลาดลดลง ทำให้ ผลักดันให้ SET INDEX ปรับตัวขึ้นได้ยากในช่วงนี้
แต่ในมุม VALUATION ที่ SET INDEX บริเวณต่ำกว่า 1350 จุดยังถือว่าถูก โดยมี P/E เพียง 14 เท่ากว่าๆ เท่านั้น ต่ำกว่า P/E ตลาดหุ้นโลกที่ 18 เท่า หากประเด็นต่างๆ ผ่อนคลาย อาจจะเป็นจังหวะในการหาหุ้นเข้าสะสมเพื่อหวังผลในระยะกลางถึงยาวได้ ซึ่งความไม่แน่นอนจากประเด็นดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในมุม VALUATION ที่ SET INDEX บริเวณต่ำกว่า 1350 จุด ยังถือว่า ถูก โดยมี P/E เพียง 14 เท่ากว่าๆ เท่านั้น ต่ำกว่า P/E ตลาดหุ้นโลกที่ 18 เท่า หาก ประเด็นต่างๆผ่อนคลาย อาจจะเป็นจังหวะในการหาหุ้นเข้าสะสมเพื่อหวังผลในระยะ กลางถึงยาวได้
ความกังวลเรื่อง เพดานหนี้สาธารณะ ธปท. แสดงความกังวลหลัง ครม. หลัง ครม. มีมติปรับปรุงแผนการคลังระยะปาน กลาง (ปีงบประมาณ 2568 –2571) สำหรับใช้ในโครงการ DIGITAL WALLET วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ผ่านการเพิ่มกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 โดยในระยะ ข้างหน้าอาจกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง และการจัดการกับความเสี่ยงทางการคลัง
เฉพาะอย่างยิ่งการก่อหนี้สาธารณะ/GDP เสี่ยงปรับตัวสูง 68.9% ในปี 2570 (ใกล้ เพดาน 70%) รวมถึงภาระดอกเบี้ยภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพ คล่องในการรับมือกรณีเกิดวิกฤต
หากเปรียบเทียบสัดส่วนหนี้สาธารณะ/GDP และการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยกับ ประเทศอื่นๆ ปี 2566 พบว่าบ้านเราอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (หนี้, GDP) สวนทางกับ ประเทศเพื่อนบ้านที่แม้ภาระหนี้จะไม่สูง (หนี้) แต่เศรษฐกิจยังขยายตัวเด่น (GDP) โดยมีระดับ BREDIT RATING ใกล้เคียงกัน
สรุป การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้น แม้จะยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง แต่ยังมีความกังวล ในเรื่องการเพิ่มภาระผูกพันให้กับประเทศ ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวต่ำ อาจ ทำให้การกระตุ้นผ่านนโยบายการคลังได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งการดำเนินนโยบานการเงินใน ปัจจุบัน กนง. ตรึงดอกเบี้ยไว่ในระดับสูง 2.5% ทำให้ภาครัฐต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่ สูงขึ้นด้วย
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities