บรรยากาศเป็นใจ ต่อการลดดอกเบี้ยมากขึ้น

เผยแพร่ 17/05/2567 10:28

ในมุมของทิศทางดอกเบี้ยโลก เราเห็นสัญญาณของการที่ FED จะปรับลด ดอกเบี้ยชัดเจนมากขึ้น โดยวันนี้แนะนำให้ดู FEDSPEAK INDEX ซึ่ง คำนวณมาจาก HEADLINE ข่าวที่เข้าหน้าที่ FED ให้ความเห็นพบว่า สัญญาณออกไปทาง DOVISH มากขึ้น ทั้งนี้เชื่อกันว่า FED จะปรับลดอก เบี้ยปีนี้ 2 ครั้ง ส่วนในบ้านเราดูเหมือนว่าแรงกระตุ้นให้ปรับลดดอกเบี้ยอาจ มาจากภาพเศรษฐกิจ ซึ่งในวันจันทร์ที่ 20 พ.ค.67 จะประกาศ GDP งวด 1Q67 CONSENSUS คาดเติบโต 0.5% QOQ แต่ก็เริ่มมีความเห็นจากนัก เศรษฐศาสตร์ หลายสำนักว่าอาจโตได้ต่ำกว่า หรืออาจติดลบ QOQ เป็น ไตรมาสที่ 2 (เข้านิยาม TECHNICAL RECESSION) สถานการณ์ เศรษฐกิจดังกล่าว ประกอบดับเงินเฟ้อที่อยู่ระดับต่ำ ถือเป็นบรรยากาศที่ เอื้อต่อการปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง

เงินบาทที่แข็งค่า ขณะที่เริ่มเห็นแรงซื้อจากต่างชาติ ถือเป็นปัจจัยที่หนุนการ ปรับตัวขึ้นของ SET INDEX วันนี้ประเมินกรอบ 1370 –1386 จุด ส่วนหุ้น TOP PICK เลือก BEM, BJC และ GULF

ปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม แต่โทนสดใสขึ้นจาก อดีต

วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงเล็กน้อย ทั้ง NASDAQ -0.3% S&P500 -0.2% DJIA -0.1% ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประธาน FED สาขา CLEVELAND (MESTER), NEW YORK (WILLAIMS), RICHMOND (BARKIN) ให้สัมภาษณ์สื่อ วานนี้ โดยมีแนวความคิด HIGHER FOR LONGER สำหรับทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ จนกว่าจะมั่นในว่ามีข้อมูลเพียงพอที่ยืนยันได้ว่าเงินเฟ้อจะสามารถเข้าสู่กรอบ เป้าหมาย 2% ได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลใน BLOOMBERG ยังส่งสัญญาณว่า ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯยังอยู่ในทิศขาลง โดนสังเกตได้จาก FEDSPEAK INDEX( คำนวณจากจำนวน HEADLINE ข่าวทิศทางดอกเบี้ยที่เจ้าหน้าที่ FED ให้ความเห็น) ต่ำกว่า 0 มักตามมาด้วยการลดดอกเบี้ย ดังรูปด้านล่าง ซึ่งสอดคล้องกับ FED WATCH TOOL ที่ตลาดคาด FED ลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน 9 และครั้งที่ 2 คือ เดือน 12(ดอกเบี้ยลงจาก 5.50% สู่ระดับ 5.00%)

ขณะที่ประเทศจีน ส่งสัญญาณที่ดีผ่านตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยเช้านี้จะมี การประกาศตัวเลข INDUSTRIAL PRODUCTION คาด +5.5%YOY(เดือนก่อน หน้า +4.5%YOY) และ RETAIL SALES คาด +3.7%YOY(เดือนก่อนหน้า +3.1%YOY) ในเดือน เม.ย.67 ซึ่งต้องติดตามว่าตัวเลขเช้านี้จะออกมาตามคาด หรือไม่

ส่วนประเทศญี่ปุ่นวานนี้ มีการประกาศตัวเลข GDP 1Q67 กลับมาหดตัว -2%YOY เป็นการชะลอตัวที่มากกว่าคาดที่ระดับ -1.2%YOY ซึ่งสาเหตุมาจากภาคส่วนการ อุปโภคบริโภคชะลอตัว -0.7%QOQ ซึ่งเป็นภาวะซบเซา 4 ไตรมาสติดต่อกัน เนื่องจาก เงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มสูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2 % ส่งผลให้ตลาดคาดว่า BOJ อาจ ชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบการประชุม 14 มิ.ย. และ 31 ก.ค.

สรุป ทั้ง 3 ประเทศ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่นมีการคาดหวังในทิศทางดอกเบี้ยที่แตกต่าง กัน (สหรัฐฯ HIGHER FOR LONGER, จีน DOVISH, ญี่ปุ่น HAWKISH ) ดังนั้นจึง ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอย่างใกล้ชิด

บรรยากาศเอื้อลดดอกเบี้ยในปีนี้มีมากขึ้น?

วานนี้ รมว.คลัง ร่วมหารือผู้ว่า ธปท. เพื่อทำความเข้าใจตรงกันในเรื่องนโยบาย การเงิน โดยสรุปกระทรวงการคลังมีข้อเสนอแนะต่อแบงค์ชาติ 2 เรื่อง ได้แก

1. การปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไทย (ปัจจุบัน 1-3%) ทั้งนี้ ธปท.จะใช้ เครื่องมือการวิเคราะห์ โดยคำนึงถึงโอกาสว่าเงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรในระยะ สั้นและปานกลาง แล้วจึงกลับมาเสนอกระทรวงการคลังอีกครั้งให้ได้ข้อยุต

2. การเพิ่มความยืดหยุ่นในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มรายย่อย SME และลูกหนี้เสีย ส่วนการปรับเกณฑ์ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและ เป็นธรรม (RESPONSIBLE LENDING) ธปท.ให้ความสำคัญและดำเนินการ ตามมาตรฐานระดับโลก ซึ่งทำให้ภาคการเงินของไทยมีความเข้มแข็ง

นอกจากนี้ รมว.คลังเสนอให้ ธปท.ได้ทบทวนการกำหนดอัตราดอกเบี้ย แต่อย่างไรก็ ตาม ยังคงเปิดทางให้ธปท.มีความอิสระในการดำเนินนโยบาย สำหรับการหารือระหว่างคลังและ ธปท. เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นเงื่

สินเชื่อ หวังให้กลุ่มรายย่อยและธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้มากขึ้น โดยในมุมมอง ของนักวิเคราะห์ทางพื้นฐานของกลุ่มธ.พ. ประเมินว่า ช่วง 1Q67 สินเชื่อกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) ที่ 14 ล้านล้านบาท เพิ่ม 0.5% QOQ (+1.5% YOY) หลักๆ มาจากสินเชื่อ รายใหญ่, รัฐบาล, ต่างประเทศ และกลุ่ม HIGH YIELD อย่าง จำนำทะเบียนรถ / รถ แลกเงิน ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์, บ้าน และ SME ชะลอ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังรอ แรงส่งจากงบประมาณภาครัฐ ในกรณีที่มีแนวทางในการยืดหยุ่นนโยบายสินเชื่อ ฝ่าย วิจัยมองว่าสุดท้ายแล้วการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละธนาคาร ตามอัตราผลตอบแทนที่ได้รับเทียบกับความเสี่ยง ซึ่งภายใต้ SENSITIVITY ANALYSIS (สมมติฐานอื่นคงเดิม) พบว่าทุก 1% ของสินเชื่อเพิ่มขึ้น (ลดลง) จาก สมมติฐาน จะทำให้กำไรสุทธิกลุ่ม เพิ่มขึ้น (ลดลง) 0.8% โดยยังคงมุมมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยช่วง 2H67 จะดีกว่า 1H67 แรงหนุนจากงบประมาณภาครัฐ กระจายเข้าสู่ระบบ บวกต่อสินเชื่อธุรกิจ (รายใหญ่ + SME) มากกว่ารายย่อยที่ยังมี แรงฉุดจากหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูง ดีต่อ KBANK (BK:KBANK)(FV@B148) และ BBL(FV@B175) ที่มีสัดส่วนสินเชื่อธุรกิจมากสุดในกลุ่มฯ ส่วน TTB(FV@B1.98) ที่ มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกันชน ยังเป็นตัวเลือกที่ดี ภายใต้โลกที่มีความผันผวนสูง

ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจในบ้านเราในช่วง 4Q66 ที่ผ่านมา ขยายตัวเพียง +1.7%YOY และหดตัว -0.6%QOQ โดยมีแรงกดดันหลักๆ มาจากการเบิกจ่าย งบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐ รวมถึงภาคการค้าชะลอตัวลง ตามเศรษฐกิจโลก ขณะที่ GDP GROWTH ไทยใน 1Q67 CONSENSUS คาดเติบโต แค่ +0.7%YOY และ +0.5%QOQ (รอติดตามตัวเลขจริงในวันที่ 20 พ.ค. 67) ขณะที่ TDRI คาดเศรษฐกิจไทยเจอแรงกดดันเศรษฐกิจโลกชะลอกระทบส่งออก เบิกจ่ายงบ ล่าช้า รวมถึงหนี้ครัวเรือนสูงอาจชะลอการใช้จ่ายภาคครัวเรือน มีโอกาสปรับลด GDP ไทยปี2567เหลือเพียง 2.5%

สรุป การหารือปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไทย รวมถึงการเพิ่มความยืดหยุ่นในการ เข้าถึงแหล่งเงินทุน บวกกับความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวต่ำ ล้วนสะท้อนความต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ซึ่งน่าจะช่วงหนุนให้โอกาสในปรับการ ลดดอกเบี้ยมีมากขึ้น

กำไร 1Q67 ออกมาเติบโตทั้ง QOQ และ YOY ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการรายงานกำไรบริษัทจดทะเบียนมา 593 บริษัท รายงานงบงวด 1Q67 ออกมา 2.65 แสนล้านบาท เติบโต 53.7%QOQ และเติบโต - 3.4%YOY

นอกจากนี้กำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q67 เติบโตดีกว่าคาดถึง 4.7% ถือว่าดีกว่า คาดมากสุดในรอบ 6 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีหุ้นที่งบ 1Q67 ดีกว่าที่ตลาดฯ คาด มากๆ ดังนี้

ทั้งกำไรงวด 1Q67 ฟื้นจากฐานที่ต่ำ และเติบโต QOQ แรง รวมถึงส่วนใหญ่ยังดีกว่า ตลาดคาด พร้อมกับ VALUATION ตลาดอยู่ในระดับที่น่าสนใจ คาดหวังจะเป็น MOMENTUM ช่วยผลักดันให้ SET INDEX ปรับตัวขึ้นต่อได้สอดคล้องกับสถิติใน อดีตเวลากำไรผ่านจุดต่ำสุด ดัชนีก็มีโอกาสฟื้นต่อในระยะถัดไป

กลยุทธ์แนะนำหุ้นพื้นฐานดี งบ 1Q67 ดีกว่าคาด และเติบโตต่อในช่วงที่เหลือของปี WHA, BEM, BGRIM, CPALL (BK:CPALL), DOHOME, TU, ADVANC, SCC, SCGP, CPALL

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities


ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย