💼 ปกป้องพอร์ตของคุณด้วยฟีเจอร์การคัดเลือกหุ้นโดย AI จาก InvestingPro - ตอนนี้ลดสูงสุดถึง 50% รับส่วนลด

สัญญาณดี 

เผยแพร่ 16/05/2567 09:46

สัญญาณผ่อนคลายที่จะนำไปสู่การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ FED มี มากขึ้น หลังประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย.67 ที่ 3.4% ตามคาด และ เป็นตัวเลขที่ลดลงจาก 3.5% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลข RETAIL SALES ขยายตัวเพียง 3.04% เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 3.83% ผลจาก ตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้FED WATCH TOOL แสดงโอกาสที่จะเห็น การปรับลดดอกเบี้ยปีนี้ 2 ครั้ง ในเดือน ก.ย. และ พ.ย.67 ตามด้วย BOND YIELD ปรับลดลง เงิน USD อ่อนค่า และ เงินบาทในเชิงเปรียบเทียบแข็งค่า ขึ้น สถานการณ์ด้งกล่าวเชื่อว่าน่าจะหนุนให้ SET INDEX วันนี้สามารถ ปรับตัวขึ้นไปได้ ส่วนประเด็นที่ติดตามวันนี้คงเป็นการพบกันระหว่าง รมว. คลัง และ ผู้ว่า ธปท. ซึ่งหวังว่าจะเห็นการสอดประสานของนโยบายการเงิน และการคลังมากขึ้น

เชื่อว่า SET INDEX วันนี้ น่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้จากแรงหนุน จากความ คาดหมายเชิงบวกของดอกเบี้ยในสหรัฐ ประเมินกรอบ 1363 – 1380 จุด ส่วนหุ้น TOP PICK เลือก GULF, MAJOR และ PTTEP

สินทรัพย์เสี่ยงสดใส หลังตลาดคาด FED อาจลงดอกเบี้ยเร็วขึ้น

ตลาดหุ้นสหรัฐฯสดใส โดยผลตอบแทนวานนี้บวกแรงทุกดัชนีทั้ง NASDAQ +1.4% S&P500 +1.2% DJIA +0.9%(NASDAQ / S&P500 ทำ ALL TIME HIGH) ซึ่ง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก ดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน +3.4%YOY ในเดือนเม.ย.67 (ตามตลาดคาด) แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +3.5%YOY หาก เทียบรายเดือน ดัชนี CPI ทั่วไปปรับตัวขึ้น 0.3%MOM (ตามตลาดคาด) ในเดือน เม.ย.67 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +0.4%MOM ขณะที่ยอดค้าปลีก (RETAIL SALES) ทรงตัวในเดือนเม.ย.67 สวนทางกับที่ตลาดคาดว่า +0.4%MOM

ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้ตลาดฯ คาดหวังว่า FED จะผ่อนคลายนโยบายการเงินมาก ขึ้นโดยล่าสุดอ้างอิงจาก FED WATCH TOOL ตลาดคาด FED ลดดอกเบี้ยครั้งแรก ในเดือน 9(โอกาสมากขึ้นจากวันก่อนประกาศ CPI จาก 50.1% เป็น 53.3%) และครั้ง ที่ 2 คือ เดือน 12 แต่ในเดือน 11 ตลาดให้น้ำหนักมากขึ้นที่จะลดดอกเบี้ยลง (โอกาส มากขึ้นจากวันก่อนประกาศ CPI จาก 26.2% เป็น 32.2%)

ซึ่งสอดคล้องกับ BOND YIELD สหรัฐฯที่ทยอยปรับตัวลงแรงเช่นกัน โดยล่าสุด BOND YIELD สหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลง 12 BPS. มาอยู่ที่ระดับ 4.33% และหนุนให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่าตามด้วยค่าเงินบาทที่ทยอยแข็งค่า โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับ 36.3 บาท/เหรียญฯ ลุ้น FLOW ต่างชาติทยอยไหลเข้า SET INDEX บ้างตามลำดับ

ส่วนประเทศไทย วันนี้ รมว.คลังเตรียมหารือกับผู้ว่า ธปท.เพื่อทำความเข้าใจถึง แนวนโยบายการเงิน การคลังในการดูแลเศรษฐกิจประเทศให้มีความสอดคล้องและ ปรับความเห็นให้ตรงกัน ซึ่งจากตัวเลขเศรษฐกิจของไทยที่ยังไม่สดใสมากนัก จึงทำให้ ตลาดคาดหวังว่า ธปท.อาจดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายในอนาคต และ อาจเห็นดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับลดในครึ่งปีหลังได้

ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์ว่ามีอยู่ 3 กลุ่มที่มักรีบาวน์ ประจำ ดังนี้

1.หุ้น TECH ในไทย อาทิ DELTA KCE HANA

2.หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง GULF BGRIM GPSC

3.หุ้นรับวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง JMT MTC SAWAD TIDLOR

ดังนั้น ในยามที่ตลาดหุ้นทั่วโลกสดใสเช่นนี้ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯที่มีความหวังว่า FED จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น คาดหวัง SET INDEX ได้รับ SENTIMENT เชิงบวกเช่นกันในวันนี้ โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ระดับ 1363- 1380 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์ว่ามีอยู่ 3 กลุ่มที่มักรี บาวน์ประจำ คือ 1.หุ้น TECH ในไทย 2.หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง 3.หุ้นรับวัฎจักร ดอกเบี้ยขาลง

นโยบายการคลังเร่งสปีด หวังหนุนเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 4Q66 ที่ผ่านมา ขยายตัวเพียง +1.7%YOY และหดตัว -0.6%QOQ หลังมีแค่ภาคการบริโภค (C) ที่เติบโตโดดเด่นราว +7.4%YOY ขณะที่ แรงกดดันหลักๆ มาจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐ (G) หดตัวต่อเนื่อง -3.0%YOY รวมถึงภาคการค้าชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจ โลก อย่างไรก็ตาม GDP GROWTH บ้านเราในช่วง 1Q67 มีแนวโน้มว่าจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น โดย CONSENSUS คาดเติบโต +0.7%YOY และ +0.5%QOQ (รอ ติดตามตัวเลขจริงในวันที่ 20 พ.ค. 67)ขณะที่เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2567 คาดการณ์ว่า จะขยายตัวเฉลี่ยราว 2.6%สำหรับเครื่องยนต์สำคัญที่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้แรงในระยะถัดไป ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าเป็นภาคการใช้จ่ายภาครัฐ (G) จากสัญญาณการดำเนินนโยบายการคลัง ที่เข้มข้นมากขึ้น หลังเริ่มเห็นรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนใน 2Q67 โดย การเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นราว 7.5% ภายในระยะเวลา 10 วัน หลังพ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 มีผลบังคับใช้ช่วงปลาย เม.ย. ทำให้มีสัดส่วนรายจ่ายลงทุนเป็น 22.1%ของ งบประมาณ

สรุป เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มว่าจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยฝ่าย วิจัยฯ ประเมินว่าภาคการใช้จ่ายภาครัฐ (G) จะเป็นเครื่องยนต์ที่สามารถฟื้นตัวขึ้นมา ได้โดดเด่น หลังเริ่มเห็นรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนใน 2Q67 มองเป็น บวกต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง CK STEC TTCL และ วัสดุก่อสร้าง SCC SCCC TASCO

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย