ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานในปัจจุบัน เรามองเห็นภาพของการ BOTTOM OUT ทั้งในส่วนของภาพเศรษฐกิจไทย และ ผลประกอบการ ของบริษัทจดทะเบียน จากจุด BOTTOM ในช่วง 4Q66 ซึ่งในช่วงเวลา ดังกล่าว GDP GROWTH ติดลบ QOQ ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนต่ำ เพียง 1.76 แสนล้านบาท การ BOTTOM OUT ของทั้ง 2 เรื่อง ในภาวะ ปกติก็น่าจะทำให้ SET INDEX ปรับตัวขึ้นไปได้ไม่ยาก แต่ด้วยภาวะ ปัจจุบันเรายังขาดองค์ประกอบที่สำคัญคือ มูลค่าการซื้อขายที่ไม่มาก พอ (MARKET TURNOVER ควรอยู่ที่ 70% ต่อปี หรือ 5 หมื่นล้าน บาท/วัน) ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อน SET INDEX ได้อย่างมีเสถียรภาพ แนวคิดเรื่องการนำ LTF กลับมา เราเห็นว่าน่าจะช่วยเพิ่ม TURNOVER ให้กับตลาดได้ และน่าจะทำให้SET INDEX ตอบสนองเชิงบวก
ประเมินว่า SET INDEX น่าจะแกว่งตัวในทิศทางปรับขึ้น แต่จะเป็นการ ปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป วันนี้ประเมินกรอบ 1373 – 1388 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPN, PTTEP และ TASCO
หากมี LTF ช่วยหนุนตลาดหุ้นไทยได้หลากหลายมิติ
ถ้ามี LTF กลับมาใหม่อีกครั้ง ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินจะมีผลดีต่อตลาดหุ้นไทยใน หลากหลายมิติ ดังนี้
1. แรงขายจากนักลงทุนสถาบันฯ มีโอกาสลดลง สังเกตได้จากหลังหมด LTF และ SSFX มาซักระยะนักลงทุนสถาบันฯ ก็เริ่มขายสุทธิออกมาต่อเนื่อง โดย ตั้งแต่ ม.ค.64 – เม.ย.67 สถาบันฯ เป็นผู้ขายหุ้นไทยมากสุด -1.5 แสนล้าน บาท สูงกว่าต่างชาติ -1.03 แสนล้านบาท
2. หักล้างการ REDEEM ใน LTF เก่า พอ LTF หมดลงก็ไม่มีเม็ดเงินใหม่เข้ามา หนุนตลาดฯ มีแต่เม็ดเงินที่ทยอยถอนออก (REDEEM) โดยก่อน LTF หมด สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี (ปลายปี 2562) ตอนนั้นมีเม็ดเงิน LTF คง ค้างในระบบสูงถึง 4.06 แสนล้านบาท ค่อยๆ ถอนออกจากตลาดหุ้นไทยกว่า 1.59 แสนล้านบาท กดดันตลาด และล่าสุด เม.ย. 67 เหลือมูลค่าคงค้าง LTF อยู่ 2.47 แสนล้านบาท หากไม่มีเม็ดเงิน LTF ใหม่เข้ามาช่วยพยุง ตลาดหุ้น ไทยก็จะถูกกดดันจากแรงขายในยอดเงินคงค้างต่อ
3. ลดผลกระทบจากการ SHORT SELL หรือแรงกระทบจากปัจจัยภายนอก ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนในช่วงระยะสั้น แต่หากมีเม็ดเงิน LTF น่าจะเข้า มาช่วยพยุงในยามผันผวนระยะสั้นได้ เพราะผู้ลงทุน LTF จะหาจังหวะสะสม ในช่วงที่ตลาดย่อตัวลงมา
4. คาดหวังเม็ดเงินจาก LTF ใหม่เข้ามาหนุนราว 6 – 7 หมื่นล้านบาทต่อปีโดย ปกติในอดีตจะมีเม็ดเงิน LTF ใหม่ไหลเข้าหุ้นไทยราว 6 –7 หมื่นล้านบาทต่อปี พร้อมกับช่วยหนุนสภาพคล่องในระบบเพิ่มขึ้น
5. หนุนสภาพคล่อง หรือ TURNOVER ในระบบให้สูงขึ้น โดยในอดีตช่วงมี LTF ตลาดหุ้นไทยมีสภาพคล่องหรือ TURNOVER เฉลี่ยสูงถึง 80% ต่อปี แต่ ปัจจุบัน TURNOVER เฉลี่ยเหลือเพียง 62.7% หากสภาพคล่องกลับมา บริเวณปกติ ที่TURNOVER เฉลี่ยสูงถึง 80% ต่อปีจะมีมูลค่าซื้อขายกลับไป 5.5 หมื่นล้านบาทต่อวัน น่าจะเพียงพอในการขับเคลื่อนดัชนีหุ้นไทยให้ขยับ ขึ้นได้
6. อาจจะแบ่งเม็ดเงินจากกองทุนหุ้นเมืองนอกกลับมาบ้าง โดยล่าสุดฝ่ายวิจัยฯ รวบรวมข้อมูลเม็ดเงินกองทุนหุ้นในระบบ พบว่า เป็นเม็ดเงินในกองทุนหุ้น เมืองนอก (FIFEQ + RMFFIFEQ) สูงสุดถึง 6.4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ราว 40%ของกองทุนหุ้นทั้งหมด ขณะที่เป็นเม็ดเงินจากกองทุน RMF หุ้นไทย เพียง 1.1 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 7% และกองทุน LTF เพียง 2.5 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 15% เท่านั้น
ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา หากมีการฟื้น LTF กลับมา จะช่วยแก้ปัญญาตลาดหุ้นไทย ที่เผชิญในปัจจุบันได้หลายมิติ ทั้งลดแรงขายจากทางสถาบันฯ, หักล้างการ REDEEM ใน LTF เก่า, ลดผลกระทบจากการ SHORT SELL, เพิ่มสภาพคล่องใน ระบบ และที่สำคัญหวังเม็ดเงินไหลกลับเข้ามาในประเทศ
โอกาสเกิด RECESSION ในไทยกระตุกขึ้น หวังหนุนนโยบาย การเงินผ่อนคลาย
ภาพรวมของหลายประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ยังอยู่ในโซนขยายตัวในช่วง 1Q67 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดย GDP GRWOTH ของสหรัฐฯ +1.6%QOQ, ยุโรป +0.3%QOQ, จีน +1.6%QOQ ส่งผลให้ระดับความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมี แนวโน้มทยอยปรับตัวลดลง ขณะที่ผลการสำรวจของ BLOOMBERG พบว่า โอกาส ที่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้จะเข้าสู่ภาวะ RECESSION ในอีก 1 ปีข้างหน้า ลดลง เรื่อยๆ นำโดยสหรัฐฯ มีความน่าจะเป็นเหลือเพียง 30%, ยุโรป 40%, จีน 13%
ในทางกลับกันภาพรวมเศรษฐกิจไทย ถือว่ามีการเติบโตค่อนข้างต่ำในช่วงที่ผ่านมา โดย GDP GROWTH ในช่วง 4Q66 หดตัว -0.6%QOQ ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อ การเกิด TECHNICAL RECESSION (GDP QOQ ติดลบต่อกัน 2 ไตรมาส) อีกทั้งใน แง่มุมโอกาสเกิดเศรษฐกิจ RECESSION ในอีก 1 ปีข้างหน้า ของ BLOOMBERG ล่าสุดยังปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 30% (ต้นปี 2567 อยู่ที่ 15%) ภาวะดังกล่าวสะท้อนทิศ ทางการดำเนินนโยบายการเงินที่ยังมี ROOM ให้ผ่อนคลายมากขึ้น ผ่านการปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อจะได้เป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบ้านเราให้ เป็นไปในแนวทางเดียวกับการกระตุ้นผ่านนโยบายการคลังของรัฐบาล
สรุป ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยที่มีโอกาสเข้าสู่ภาวะซบเซา หรือขยายตัวต่ำ สะท้อน ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่ยังมี ROOM ให้ผ่อนคลายมากขึ้น ผ่านการปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า
กำไร 1Q67 กลุ่ม PROP CONS CONMAT เป็นอย่างไรบ้าง ... มาดูกัน
กลุ่ม PROP : 1Q67 คาดกำไรปกติของ 15 บริษัทรวม 6.13 พันล้านบาท ลดลงใน อัตราเดียวกัน 29% YOY และ QOQ จากหลายปัจจัยทั้งเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า, ทิศทางดอกเบี้ยไทยที่ยังอยู่ระดับสูง, การเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของแบงค์ กระทบต่อกำลังซื้อ และ REJECTION RATE สูงขึ้นไม่เฉพาะกลุ่มระดับกลาง-ล่าง แต่ เริ่มเห็นสู่บ้านระดับบนเพิ่ม กดดันต่อยอดโอนฯ, มาร์จิ้น และส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วม ลดลง กำไรรายบริษัท 1Q67 ประเมิน AP (ประกาศงบแล้ว 7 พ.ค.) , LH, SC, SPALI, QH, SENA, NOBLE และ LALIN ลดลงทั้ง YOY และ QOQ ขณะที่ ORI, BRI, PSH และ LPN คาดกำไรลง YOY แต่เพิ่ม QOQ จากฐานต่ำผิดปกติ 4Q66 สวนทาง ASW กำไรลง QOQ แต่กลับเพิ่ม YOY จากการโอนคอนโดฯ ใหม่ เช่นเดียวกับ SIRI กำไร ลง QOQ และทรงตัว YOY แม้โอนมากขึ้น แต่ถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายเพิ่ม สำหรับ ANAN คาดเป็นบริษัทเดียวที่ดีขึ้น YOY และ QOQ ซึ่งมีผลขาดทุน โดยงวดนี้จะพลิก มีกำไร แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ
ลงทุนเท่าตลาด แม้ระยะสั้นจะมีแรงกดดันจาก 1Q67 ที่อ่อนแอ แต่คาดเป็นจุดต่ำสุด ของปี ก่อนค่อย ๆ ฟื้นขึ้น 2Q67 และต่อเนื่อง 2H67 หนุนจากการลดค่าโอนฯ-จด จำนอง, ดอกเบี้ยไทยที่มีโอกาสปรับลงในครึ่งปีหลัง และเศรษฐกิจไทยที่หวังฟื้นตัว มากขึ้น ตลอดจนการเปิดโครงการใหม่และส่งมอบคอนโดฯ ใหม่เพิ่มตั้งแต่ 2Q67 เลือกหุ้นเด่น คือ AP (FV@B16.00) และ SPALI (FV@B25.40) จากการฟื้นตัวโดด เด่นของกำไรตั้งแต่ 2Q67, มีพอร์ตสินค้าหลากหลาย และได้รับประโยชน์จาก มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ, การเงินแข็งแรง และปันผลสูงเกิน 6% ต่อปี
กลุ่ม CONMAT: การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้าและหนี้สินครัวเรือนที่อยู่ใน ระดับสูง กระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน ส่งผลกำไรกลุ่มวัสดุก่อสร้างในงวด 1Q67 ออกมาไม่สดใส ยกเว้นบางบริษัทที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว บริษัทที่กำไรลดลง YOY ได้แก่ SCC มีกำไร 2,425 ล้านบาท ลดลง 85%YOY หลักๆเกิดจากฐานกำไรที่สูง กว่าปกติในปีก่อนที่มีกำไรพิเศษจากการปรับมูลค่าเงินลงทุน อีกทั้งไตรมาสนี้เผชิญ แรงกดดันจาก SPREAD ธุรกิจปิโตรเคมีที่ลดลง และ TASCO คาดกำไรจะหดตัวแรง 86%YOY จากธุรกิจยางมะตอยในประเทศที่ซบเซาเพราะยังต้องรองบประมาณ ภาครัฐ ขณะที่ธุรกิจต่างประเทศเป็นช่วง LOW SEASON ในหลายประเทศ ทำให้ ราคายางมะตอยปรับตัวลง สวนทางกับราคา CRUDE ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผลขาดทุน จากการทำสัญญา HEDGING เข้ามาซ้ำเติม สำหรับบริษัทที่มีกำไรทรงตัว คือ DCC มีกำไร 341 ล้านบาท อาศัยการปรับ PRODUCT MIXED จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางบน มากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มที่ยังพอมีกำลังซื้ออยู่บ้าง ส่วนบริษัทที่มีกำไรเติบYOY ได้แก่ SCCC มีกำไร 1,161 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53%YOY จากการฟื้นตัวของผล ประกอบการในเวียดนามและศรีลังกา และยังมีตัวช่วยจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และ DRT มีกำไร 204 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%YOY ได้ประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบและ พลังงานที่ลดลง ส่งผลให้มีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นชดเชยยอดขายที่ลดลง รวมถึง TPIPL คาดกำไร 721 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12%YOY แม้ว่าภาพรวมธุรกิจของ TPIPL ถูกกดดันจาก DEMAND ที่ชะลอตัวจากการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐที่ล่าช้าและ เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ส่งผลให้ยอดขายลดลง แต่จะได้ผลบวกจากต้นทุนพลังงาน ลดลงมาชดเชย อีกทั้งเงินบาทอ่อนที่ค่าแรง ทำให้เกิดกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน มาก
กลุ่ม CONS : ภาพรวมผลประกอบการน่าห่วง บริษัทรับเหมาใหญ่อย่าง CK คาด ขาดทุน 142 ล้านบาท เกิดจากเงินบาทที่อ่อนค่าแรง ทำให้บริษัทหลวงพระบางพาว เวอร์ มี FX LOSS จำนวนมาก ส่งผลต่อเนื่องไปถึง CKP ขณะที่ธุรกิจก่อสร้างแม้ยัง รักษาฐานรายได้และ GROSS MARGIN ได้ดี แต่ก็ถูกบั่นทอนจาก SG&A ที่อยู่ใน ระดับสูง และดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นตามมูลค่าหุ้นกู้ที่ออกขายเพิ่มในระหว่างปี ส่วน STEC คาดขาดทุน 36 ล้านบาท นับเป็นการกลับมาขาดทุนครั้งแรกในรอบ 6 ปี กดดันจากส่วนแบ่งขาดทุนเพิ่มขึ้นในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพู ขณะที่ ธุรกิจก่อสร้างมีอัตรากำไรขั้นต้นค่อนข้างต่ำเพราะต้องแบกรับค่าซ่อมอุโมงค์ระบายน้ำหนองบอนในส่วนที่ยังเบิกจากบริษัทประกันภัยไม่ได้ โดยบริษัทรับเหมาที่คาดกำไร เด่นคือ TTCL คาดกำไร 108 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 118%QOQ หนุนหลักจากรายได้ ก่อสร้างที่เติบโต และไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษมากเหมือนไตรมาสก่อนที่มีการเคลียร์ บัญชีลูกหนี้ ROCKSALT
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities