แม้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันจากตัวเลขการส่งออกเดือน มี.ค.67 ที่ลดลง 10.9% YOY และการปรับลด GDP GROWTH ปี 2567 ลงมาอยู่ที่ 2.4% ของ สศค. แต่ SET INDEX ก็ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อถือเป็น ภาวะที่แกร่งกว่าที่คาด ส่วนวันนี้มีผลการประชุม FED ออกมาเป็นการ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และถูกคาดหมายว่าปี 2567 จะมีการปรับลด เพียง 1 ครั้งในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ได้ปรับตัว ลดลงทำให้เชื่อว่าประเนดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาด หุ้นบ้านเรา แม้ว่าผลในอีกทางหนึ่งทำให้เชื่อว่า กนง. บ้านเราจะยังคง ดอกเบี้ยนโยบายระดับ 2.5% ต่อไปอีกนานพอควร สำหรับมุมมอง เศรษฐกิจของ ธปท. ประเมินว่าในงวด 1Q67 GDP น่าจะเติบโตราว 1% QOQ ทำให้เราหลุดพ้นจากภาวะTEHCNICAL RECESSION
ประเมินว่า SET INDEX อยู่ในภาวะที่แกร่งกว่าคาด ขณะที่เช้านี้ยังไม่มี ปัจจัยใหม่ๆ เข้ามากดดัน คาด SET INDEX อยู่ในกรอบ 1360 – 1377 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CK, WHA และ TIDLOR
FED คงดอกเบี้ย 5.5% แต่ส่งสัญญาณ DOVISH ผ่านลด QT
ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ใน การประชุมคืนที่ผ่านมา(ตามคาด) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 23 ปีตัวชี้วัดล่าสุด ชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง การจ้างงานยังคง แข็งแกร่ง และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลง ในช่วงปีที่ผ่านมาแต่ยังคงเพิ่มขึ้น ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา(จากความเสี่ยงเชิงภูมิ รัฐศาสตร์) ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายเงินเฟ้อของ FED ที่ 2% ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้ ตลาดคาดว่า FED จะคงอัตราดอกเบี้ยนานขึ้นในปีนี้ โดย FED WATCH TOOL ให้ โอกาสที่จะลดดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ เขยิบไปอยู่เดือน พ.ย.67 แล้ว(ก่อนหน้านี้อยู่ เดือน ก.ย.67)
นอกจากนี้ เฟดประกาศชะลอการใช้มาตรการปรับลดขนาดงบดุล (QUANTITATIVE TIGHTENING : QT) ซึ่งถือเป็นการเพิ่มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ FED ทั้งนี้ ภายใต้โครงการ QT ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมิ.ย.2565 เฟดจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาล สหรัฐและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) วงเงิน 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติมมาตรการ ดังกล่าวทำให้งบดุลของFED ลดลงสู่ระดับ 7.4 ล้านล้านดอลลาร์ จากระดับ 8.9 ล้าน ล้านดอลลาร์ในช่วงกลางปี 2565
อย่างไรก็ตาม เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.2567 FED จะลดวงเงินพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่จะ ปล่อยให้ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม เหลือเพียง 2.5 หมื่นล้าน ดอลลาร์ จากเดิมที่ระดับ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่คงวงเงิน MBS ที่จะปล่อยให้ครบ อายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม อยู่ที่ระดับ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งการ กระทำดังกล่าวของ FED ถือเป็นการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินแบบหนึ่ง และ ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไป
สรุป แม้ FED จะคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด และเขยิบเดือนที่จะลดดอกเบี้ยไปอยู่ที่ พ.ย.67 อย่างไรก็ตามการประกาศว่าจะชะลอการทำ QT ตั้งแต่ มิ.ย.67 ของ FED(ถือ เป็นเรื่อง SURPRISE เล็กๆ) อาจเป็นแรงหนุนให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นได้ในระยะสั้น
เศรษฐกิจไทยยังแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง
ธปท. ภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมใน 1Q67 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ประเมิน GDP GRWOTH ขยายตัวราว 1%QOQ ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงการเกิด TECHNICAL RECESSION ลดลง (GDP QOQ ติดลบต่อกับ 2 ไตรมาส) โดยแรงขับเคลื่อนมาจาก ภาคการท่องเที่ยวคึกคักต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคบริการ และการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่อง ขยายตัว บวกกับการลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้น
ขณะที่ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน มี.ค. เกินดุล 1.08 พันล้าน USD พลิกกลับมา เป็นบวก 2 เดือนติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้นตามรายรับภาคการท่องเที่ยว สะท้อน เสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ด
แม้เศรษฐกิจไทยโดยรวมจะมีความเสี่ยงขยายตัวต่ำ ใน 1Q67 หลังการใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวจาก พ.ร.บ. งบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า แต่ยังถือว่าสอดคล้องกับกรอบที่ ธปท. ประเมินไว้ว่าจะเห็นการฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับในระยะถัดไป พร้อมกับคง คาดการณ์ GDP GROWTH ทั้งปี 2567 เติบโต +2.6%YOY โดยมีแรงขับเคลื่อนของ การท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นสำคัญ
สรุป ธปท. ค่อนข้างมีมุมมองบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยใน 1Q67 แม้จะมีความ เสี่งเติบโตต่ำ แต่ยังถือว่าสอดคล้องกับกรอบที่ ธปท. ประเมินไว้ว่าจะเห็นการฟื้นตัวดี ขึ้นตามลำดับในระยะถัดไป ด้วยแรงขับเคลื่อนของการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐ เป็นสำคัญ
ตามกลไกตลาดหุ้นมักเกิด EARLY BULL (ดัชนีมักฟื้นตัวก่อน เศรษฐกิจจะผ่านพ้นจุดต่ำสุด) เสมอ
แม้ข้อมูลจากทาง BLOOMBERG จะประเมินเศรษฐกิจงวด 1Q67 มีโอกาสเติบโต เพียง 1.4%YOY ต่ำกว่างวด 4Q66 ที่ 1.9%YOY แต่ยังมีโอกาสทยอยฟื้นตัวดีขึ้น ในช่วงที่เหลือของปีงวด 2Q67 +2.0%, 3Q67 +2.8%, 4Q67 +3.9% หรือผ่านจุด ต่ำสุดในระยะถัดไป
ฝ่ายวิจัยฯ ได้ทำการศึกษา พบว่า ตามกลไกตลาดหุ้นมักทยอยฟื้นตัวก่อน (EARLY BULL) ยามเศรษฐกิจที่กำลังผ่านจุดต่ำสุด (BOTTOM OUT) ตามรูปทางด้านล่าง สะท้อนได้จากตลอด 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า SET INDEX มักฟื้นตัวก่อน (EARLY BULL) การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจหรือ GDP ในงวดที่ทำจุดต่ำสุดแสมอ (BOTTOM OUT) ทั้ง 4 รอบ โดย SET ให้ผลตอบแทนเป็นบวกทุกรอบเฉลี่ย 13.2% (กรอบสีฟ้า) ก่อนที่จะมีการรายงานตัวเลข GDP รองต่ำสุดจนถึง ต่ำสุดในรอบถัดไป และ SET INDEX ยังฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่องทุกรอบ หลังจากรายงานตัวเลข GDP ต่ำสุด แล้ว (กรอบสีเขียว)
นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยฯ ยังลงรายละเอียดเป็นราย SECTOR พบว่า ช่วง EARLY BULL ตลอด 20 ปี่ที่ผ่านมา กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยโดดเด่นกว่าตลาด คือ ETRON +30%, PETRO +21%, PKG +20%, BANK +18%, AGRI +17%, ENERG +15%, TRANS +14%, CONMAT +14% สูงกว่า SET INDEX +13%
สรุป คือ หากเศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสผ่านพ้นจุดต่ำสุดในช่วง 1Q67 และทยอยฟื้น เด่นเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลกที่ส่วนใหญ่ชะลอลง ตามที่นักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ คาด ฝ่ายวิจัยฯ เชื่อว่า SET INDEX ก็ยังตอบรับเหมือนเดิม คือ มีโอกาสเกิด EARLY BULL (ดัชนีมักฟื้นตัวก่อนเศรษฐกิจจะผ่านพ้นจุดต่ำสุด) แนะนำสะสมหุ้นพื้นฐานที่ มักจะฟื้นได้ดีเด่นตามกลุ่มต่างๆ ในอดีต PETRO (IVL), PKG (SCGP), BANK (KBANK (BK:KBANK)), AGRI (STA), ENERG (PTTEP), TRANS (AOT (BK:AOT), BEM), CONMAT (SCCC, SCC) เป็นต้น
แผนการการปิดโรงฟฟ้าถ่านหินของกลุ่ม G7 กระทบต่อหุ้นไทย ตัวไหนหรือไม่ ?
รัฐมนตรีพลังงานจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 หรือ G7 ประกอบไปด้วย ประเทศแคนนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ได้ บรรลุข้อตกลงในการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในปี 2578 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการ เปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด ประเด็นดังกล่าวถือเป็น SENTIMENT เชิงลบต่อกลุ่มถ่านหินในอนาคต ที่ความต้องการใช้ถ่านหินจะปรับตัว ลดลง เนื่องจากเชื้อเพลิงถ่านหินถูกใช้หลักในโรงไฟฟ้า ดังนั้นหากไม่มีการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ๆเกิดขึ้น ความต้องการใช้ถ่านหินในส่วนนี้จะหายไป แต่อย่างไรก็ ตามคาดจะไม่กระทบสัญญาการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินในปัจจุบัน เป็นเพียง นโยบายในระยะยาวของกลุ่ม G7 มากกว่าที่จะไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เกิดขึ้นใหม่ ทั้งนี้ในส่วนของราคาถ่านหินคาดน่าจะยังประคองตัวได้ ถึงแม้ความ ต้องการใช้ถ่านหินจะลดลง แต่ในขณะเดียวกัน SUPPLY ถ่านหินก็ลดลงเช่นกัน เพราะจะไม่มีผู้ผลิตถ่านหินเดินหน้าลงทุนผลิตถ่านหินใหม่เพิ่ม โดยเชื้อเพลิงที่จะมี ทดแทนถ่านหิน คาดจะให้น้ำหนักไปที่ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ดังนั้นมีโอกาสสูง ที่ราคา LNG ในภาพระยะยาวมีโอกาสปรับตัวขึ้นจากปัจจุบันจากความต้องการใช้ ใหม่ๆที่จะทยอยเพิ่มขึ้น
สำหรับในส่วนของประเทศไทย โรงไฟฟ้าถ่านหินที่บริษัทจดทะเบียนในตลท.ลงทุนอยู่ ในปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยุ่ราว 5.7 พันเมกะวัตต์ ซึ่งหลักๆมาจากโรงไฟฟ้า IPP ได้แก่ โรงไฟฟ้าหงสา และ BLCP ส่วนโรงไฟฟ้าอื่นๆส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน SPP ขนาดเล็ก ซึ่งทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนราว 15.9% ของกำลังการผลิตรวม เชื้อเพลิงทุกประเภท ซึ่งเบื้องต้นคาดประเด็นดังกล่าวจะไม่กระทบกับการดำเนินการ ของโรงไฟฟ้าในปัจจุบัน แต่จะส่งผลให้ประเทศไทยเองจะทำตามแนวทางของโลกได้ที่จะ ไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ๆขึ้น และจะส่งผลให้ต้องมีการวางแผนใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นแทน ซึ่งในปัจจุบันก๊าซฯในอ่าวเริ่มหมดลง จำเป็นต้องหาแหล่งใหม่ๆ หรือถ้าไม่เพียงพอก็จะเป็นต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในสัดส่วนที่ เพิ่มขึ้นในอนาคต
MICROSOFT คอนเฟิร์มพร้อมลงทุน DATA CENTER ในไทย วานนี้ในงาน “MICROSOFT BUILD AI DAY EVENT” นายสัตยา นาเดลลา CEO ของ MICROSOFT ประกาศลงทุน DATA CENTER ที่ประเทศไทย แม้จะยังไม่ได้ระบุ ตัวเลขการลงทุนที่ชัดเจน แต่ฝ่ายวิจัยประเมินว่าการสร้าง DATA CENTER จะต้องใช้ พื้นที่ขนาดใหญ่และอยู่ในทำเลที่ดี โดยมี AMATA และ WHA มีศักยภาพเพียงพอที่จะ รองรับ DATA CENTER ขนาดใหญ่ได้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่า WHA มีโอกาสได้คว้างาน มากกว่า AMATA เนื่องจากฐานลูกค้าของ WHA เป็นกลุ่มอุตสาหกรรม NEW ECONOMY ประกอบกับ WHA มีการพัฒนาบริษัทให้มีความเป็น TECH COMPANY
ขณะที่นายกฯ กล่าวว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอินเทอร์เน็ตและโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค รวมถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่ครอบคลุม ที่สุด โครงข่ายมือถือ โครงสร้างพื้นฐาน 5G และโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลไทยและไมโครซอฟท์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการนำ เทคโนโลยีคลาวด์ และ AI ที่เปี่ยมประสิทธิภาพมาเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ของไทย รวมถึงเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มขีดความสามารถด้าน ดิจิทัลของไทยในอนาคต ซึ่งฝ่ายวิจัยฯคาดว่า หุ้นที่จะได้ประโยชน์ในอนาคต คือ หุ้น กลุ่มสื่อสารขนาดใหญ่อย่าง ADVANC TRUE ที่แม้ทาง MICROSOFT จะมีการสร้าง ดาต้าเซ็นเตอร์เอง แต่ยังจำเป็นที่จะต้องมีการเชื่อมต่อกับลูกค้าเป้าหมาย ที่จะต้อง อาศัยโครงข่ายพื้นฐาน เช่น เส้นใยแก้วนำแสง ซึ่งมีโอกาสที่ MICROSOFT จะเลือกใช้ บริการดังกล่าว จากกลุ่ม ADVANC หรือ TRUE หรือ NT ที่เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ ในปัจจุบัน ส่วนหุ้นกลุ่มสื่อสารที่มีธุรกิจเกี่ยวกับ DATA CENTER และ CLOUD SERVICE ก็คาดได้ประโยชน์เช่นกัน อาทิ AIT, ICN, INSET, ITEL, MFEC และ SKY
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities