ตัวเลขการส่งออกเดือน มี.ค.67 กลับมาสร้างแรงกดดัน โดยปรับลดลง 10.9% YOY ต่ำกว่า CONSENSUS ที่คาดว่าจะหดตัว 4.0% ตัวเลขที่ ต่ำกว่าคาดทำให้ สศค. ออกมาปรับลดคาดการณ์GDP GROWTH ปี 2567 ลงจากเดิม 2.8% มาอยู่ที่ 2.4% ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้น่าจะทำให้ เห็น DOWNSIDE ที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจต่างๆ จะออกมาปรับลด ประมาณการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นแรงกดดันของตลาดหุ้น อย่างไรก็ ตามยังมีความหวังเชิงบวก 2 เรื่องคือ ผลประกอบการงวด 1Q67 ของ บริษัทจดทะเบียนซึ่งจากการทำ EARNING PREVIEW พบว่าน่าจะเห็น การเติบโต QOQ อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็นการเบิกจ่าย งบประมาณปี 2567 ที่คาดหมายว่าน่าจะเห็นเม็ดเงินลงทุนจากภาครัฐ ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และอาจมีมาตรการกระตุ้นอื่นๆ เสริม
ตัวเลขการส่งออก และการปรับลดคาดการณ์ GDP น่าจะสร้างแรง กดดันให้SET INDEX ปรับฐานลงได้ แต่DOWNSIDE จำกัด คาดกรอบ 1351 –1367 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPN, TIDLOR และ SCCC
เศรษฐกิจโลกโตอาจโตช้า กดดันสินทรัพย์เสี่ยงช่วงสั้น
วานนี้ ประธานการประชุมเศรษฐกิจโลก (WEF) ได้แสดงมุมมองเชิงลบเกี่ยวกับ แนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยกล่าวว่า โลกจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีหากไม่มีการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจอย่างถูกต้อง โดยมีเหตุผลสนับสนุนว่า อัตราส่วนหนี้สินทั่วโลก (GLOBAL DEBT RATIO) ใกล้แตะระดับสูงสุดตั้งแต่ทศวรรษ ที่ 1820(ใกล้แตะ 100% ของ GDP โลก) และกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีความเสี่ยงที่ จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อกลับสูงขึ้น (STAGFLATION) โดยคาดการ เติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะอยู่ที่ 3.2% ซึ่งแม้จะไม่ถือว่าแย่ แต่ก็ไม่เคยเห็นการ เติบโตที่ระดับต่ำเช่นนี้ โดยแนวโน้มการเติบโตเคยอยู่ที่ระดับ 4% มานานหลายสิบปี
ขณะที่แนวทางการดำเนินนโยบายของ FED ตลาดคาดว่ามีโอกาสคงดอกเบี้ยนาน ขึ้น ล่าสุดจะเริ่มลดดอกเบี้ย คือ เดือน ก.ย.67 ส่วนในมุมทั้งปี ตลาดยังคาดว่า FED จะลดดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้ง หรือ 0.25% เท่าเดิม ซึ่งต้องติดตามผลการประชุม FED วันพฤหัสบดีนี้ที่ตลาดคาดว่าคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5.50%(โอกาส 97.6%) ว่าจะเป็นไป ตามตลาดคาดหรือไม่
ส่วนประเทศไทย วานนี้ผู้ว่าฯ ธปท. ให้สัมภาษณ์พิเศษ CNBC ย้ำว่าแรงกดดันทาง การเมืองจะไม่ทำให้ ธปท.เสียความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย และ แม้จะมีแรงกดดันอย่างมากให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ ธปท. ก็ไม่ได้ดำเนินการตาม หากไม่ใช่การดำเนินการอย่างเป็นอิสระ โดยชี้แนะว่าเศรษฐกิจไทยต้องเพิ่มการลงทุน มากกว่ากระตุ้นระยะสั้น(ลดดอกเบี้ย) แต่หากมีตัวเลขเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ พร้อมที่จะดำเนินโยบายให้สอดคล้องกับภาวะดังกล่าว
สรุป ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัว กดดันสินทรัพย์เสี่ยงช่วงสั้น อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินไม่น่าไหลออกจากไทยมากนัก เนื่องด้วยค่าเงินบาทมีโอกาสน้อยที่จะอ่อนค่า ไปมากกว่านี้ ตามส่วนต่างของดอกเบี้ยสหรัฐฯ-ไทยที่ยังคงระดับเดิม
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงโตต่ำ อาจกดดัน SET ขยับขึ้นยาก
วานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงาน ตัวเลขส่งออกไทยเดือน มี.ค. 67 หดตัวเป็นครั้งแรก ในรอบ 8 เดือน -10.90%YOY ซึ่งติดลบมากว่า CONSENSUS คาดไว้ที่ -4% จาก ฐานการส่งออกที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยอดส่งออกมีมูลค่า 24,960.6 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของยอดการส่งออกย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งอยู่ที่เดือนละ 21,800 ล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 26,123.8 ล้านดอลลาร์ ทำให้เดือน มี.ค. ไทยขาดดุลการค้า 1,163.3 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบเป็นรายเดือนมูลค่าส่งออกยังมีการขยายตัวในทุกหมวด สินค้าราว +6.7%MOM สำหรับรายชื่อสินค้าเดือน ก.พ. ที่ขยายตัวได้ดีทั้ง YOY, MOM และมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาทิ ยางพารา (STA, NER) และอาหารสัตว์เลี้ยง (ITC, ASIAN, AAI, CPF) เป็นต้น
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง ภาพรวมการส่งออกไทยใน 1Q67 ปรับตัวลดลงราว -0.2%YOY ซึ่งหดตัวมากกว่าคาดการณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุตสาหกรรม บวกกับการผลิต ฟื้นตัวช้า นอกจากนี้ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง รวมถึงการเบิกจ่าย งบประมาณที่ล่าช้า ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับ ประมาณการ GDP GROWTH ของไทยในปี2567เติบโตแค่2.4%YOY (ค่ากลางช่วง 1.9-2.9%) ซึ่งลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 2.8%YOY ทั้งนี้หากเศรษฐกิจไทยมี แนวโน้มขยายตัวได้น้อยลง อาจกดดันให้ SET ขยับตัวสูงขึ้นค่อนข้างลำบาก
สรุป กระทรวงการคลังปรับลดคาดการณ์ GDP GROWTH ของไทยปี 2567 เหลือ 2.4%YOY (เดิมคาด 2.8%) หลังมีความเสี่ยงหลักๆ จากภาคส่งออกและการผลิตฟื้น ตัวช้า ประเด็นดังกล้าวอาจกดดันให้ SET ผันผวนในช่วงสั้นๆ ได้
ภาพ DOWNSIDE เศรษฐกิจรบกวนตลาดสั้นๆ อาจกดดันให้ SET ฟื้นตัวช้าหน่อย แนะ SCCC, CPN, TIDLOR
แม้เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ปีนี้จะถูกปรับประมาณลงบ้าง อาจกดดันให้การ ขยับตัวขึ้นของ SET INDEX ปรับตัวขึ้นได้ช้าลง อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆ คอย ช่วยพยุงและพลักดัน SET INDEX ให้น่าทยอยสะสมในช่วงนี้อยู่ ดังนี้
1. SET INDEX ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 1361 จุด ต่ำกว่าต้นทุนเฉลี่ยที่ระดับมูลค่าซื้อ ขายต่างๆ ในปีนี้ของ SET INDEX อยู่ที่ 1384 จุด และยังต่ำกว่าระดับ -1SD ที่ 1367 จุด ส่วนระดับ -2SD อยู่ที่ 1347 จุด ถือเป็นแนวรับสำคัญทางสถิติ ในระยะถัดไป
2. แม้ SET INDEX จะบวกแค่ 2 จุด ในวานนี้ (30/04/67) แต่หากพิจารณาเป็น ราย SECTOR จะพบว่า มีการย่อตัวเพียง 5 ใน 27 SECTOR เท่านั้น คือ ETRON -4.51%, PROF -1.43%, PAPER -0.87%, HELTH -0.84%, PF&REIT -0.37% ส่วนอีก 22 SECTOR ให้ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งสิ้น อาทิ AGRI +2.97%, PERSON +2.85%, TOURISM +1.19%, CONS +1.1% ฯลฯ
3. FUND FLOW ต่างชาติ ยังสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยในเดือน เม.ย. นี้ โดดเด่น กว่าเพื่อนบ้าน โดยต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยในเดือน เม.ย. 82 ล้านเหรียญ หรือ 2.9 พันล้านบาท โดดเด่นกว่าเพื่อนบ้าน อย่าง ตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูก ขายสุทธิ -1.16 พันล้านเหรียญ และ ฟิลิปปินส์ -125 ล้านเหรียญ
ที่มา: BLOOMBERG, สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส ทั้ง 3 ปัจจัย แสดงให้เห็นถึง DOWNSIDE SET INDEX เริ่มจำกัด ทั้งจากต้นทุนที่ต่ำ กว่าค่าเฉลี่ยในปีนี้ การขยับขึ้นมีการกระจายไปในหลากหลาย SECTOR อีกทั้ง FUND FLOW ยังมีการทยอยสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย ขณะเดียวกันเริ่มเห็นผล ประกอบการงวด 1Q67 ทยอยประกาศออกมาดีและดีกว่าคาดเป็นตัวช่วยหนุนอีก แรง
ส่วนกลยุทธ์ในวันนี้แนะนำ หุ้นมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัวเด่น อย่าง หุ้นกำไร 1Q67 ออกมาโดดเด่นเหนือคาด CPN, SCCC และหุ้นได้ประโยชน์งบประมาณเบิกจ่ายปี 2567 เดินหน้า TIDLOR เป็น TOPPICK ในวันนี้
KTB ลดดอกเบี้ย M-RATE ลง 0.25% ช่วยกลุ่มเปราะบาง ... ส่วน TIDLOR หุ้นแนะนำใหม่วันนี้
เย็นวานนี้ KTB(FV@B19) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยทั้ง MRR, MLR และ MOR ลง 0.25% เป็นระยะเวลา 6 เดือน (16 พ.ค. – 15 พ.ย. 67) ให้กับกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.) ลูกค้าสินเชื่อบุคคลรายย่อยที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือของ KTB ทั้ง สินเชื่อ บ้านและสินเชื่อส่วนบุคคล 2.) ลูกค้าสินเชื่อบ้านที่มีวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท และ 3.) SME รายย่อยที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10 ล้านบาทและมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 10 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นมากกว่า 3 แสนบัญชี คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมมากกว่า 2 แสน ล้านบาท
แม้ดูเหมือนเป็นการลดครบทุก M-RATE แต่วงเงินที่เข้าเงื่อนไขกว่า 2 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8% ของพอร์ตสินเชื่อ ทำให้ฝ่ายวิจัยประเมินผลต่อประมาณการกำไร สุทธิปี 2567 จำกัดราว 200 – 300 ล้านบาท ต่อปี (สุทธิจากภาษี) ขณะที่การประชุม นักวิเคราะห์วานนี้โทนกลางหลังเป้าหมายทางการเงินส่วนใหญ่ใกล้เคียงสมมติฐาน ฝ่ายวิจัย จึงคงประมาณการกำไรทั้งปีและคำแนะนำ NEUTRAL โดยตัวเลือกในกลุ่มฯ มองไปที่ TTB(FV@B1.98) ตามด้วย KBANK (BK:KBANK)(FV@B148) และ BBL (FV@B175)
สำหรับ TIDLOR หุ้น TOP PICK วันนี้ โดยฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิ 1Q67 (งบประกาศ 7 พ.ค. 67) เท่ากับ 1.04 พันล้านบาท เติบโต 15% QOQ (+9% YOY) หนุนด้วย แนวโน้ม CREDIT COST ลดลงเหลือ 3.3% (เป้าหมายบริษัทฯ ที่ 3.00% - 3.35%) เทียบกับ 4.3% งวดก่อน (1Q66 ที่ 3.1%) ที่มีการเร่ง WRITE-OFF ลูกหนี้ที่มีความ เสี่ยงออกไปบางส่วน ประกอบกับทิศทางสินเชื่อขยายตัว 2.2% QOQ (+20% YOY)
ทั้งนี้ หากกำไรสุทธิ 1Q67 เป็นไปตามคาดจะคิดเป็นสัดส่วน 23% ของประมาณการ กำไรทั้งปีที่ 4.5 พันล้านบาท (+18% YOY, EPS เติบโต 14% YOY ต่ำกว่าการ เพิ่มขึ้นของกำไรเพราะการจ่ายหุ้นปันผล) ซึ่งฝ่ายวิจัยคาดกำไรช่วงที่เหลือของปีเร่ง ตัว QOQ ตามความต้องการใช้สินเชื่อที่มีแนวโน้มไต่ระดับขึ้น QOQ ดังข้อมูลที่ปรากฎ ในอดีต และปัจจัยหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ หลังงบประมาณเริ่มเบิกจ่าย ประเมินบวกต่อพอร์ตสินเชื่อรถบรรทุกมือ 2 ตามความต้องการใช้รถยนต์เชิง พาณิชย์เพิ่มขึ้น และช่วยลดแรงกดดันจากผลขาดทุนรถยึด คงแนะนำ OUTPERFORM ให้ FV ปี 2567 ที่ 26 บาท (เทียบเท่า PER ที่ 17 เท่า VS ค่าเฉลี่ย ตั้งแต่เข้าตลาดที่ 19 เท่า)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities