ตัวเลข GDP งวด 1Q67 ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาดที่ +1.6% QOQ ขณะที่สัญญาณเงินเฟ้อดูไม่ดีโดย CORE PCE สูงกว่าคาด ภาวะ ดังกล่าวทำให้ความกังวลเรื่อง STAGFLATION ก่อตัวขึ้น และสร้างแรง กดดันไปยังตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งเราน่าจะได้ผลกระทบในเชิง SENTIMENT เช้านี้ ส่วนประเด็นในบ้านเรา มี มาตรการในการควบคุม SHORT SELL ของ SET ซึ่งกำหนดตัวหุ้นที่สามารถ SHORT SELL ได้ให้แคบลง โดย ต้องเป็นหุ้นที่มีMARKET CAPมากกว่า 7.5 พันล้าน, TURNOVER ต้องสูงกว่า 2% ต่อเดือน และ บังคับใช้เกณฑ์ UPTICK สำหรับทุกหุ้น นอกจากนี้ยังกำหนดให้SET สามารถทำ CIRCUIT BREAKER ได้(รอ ฟังรายละเอียด) มาตรการดังกล่าวน่าจะทำให้แรงกดดันต่อราคาหุ้น น้อยลง แต่ก็ต้องรอดูผลข้างเคียงว่ามูลค่าการซื้อขายลดลงหรือไม่
มีโอกาสที่จะเห็นการปรับฐานของ SET INDEX หลังปรับขึ้นมาต่อเนื่อง 4 วัน โดยมีแรงกดดันจากตลาดหุ้นต่างประเทศเข้ามาเป็นตัวเร่ง ประเมิน กรอบ 1355 –1369 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPALL (BK:CPALL), SCCC และ TU
STAGFLATION กลับมาน่ากังวล ทำสินทรัพย์เสี่ยงผันผวน
วานนี้สหรัฐฯ เผยตัวเลขเศรษฐกิจใน 1Q67 เริ่มจาก GDP GROWTH ขยายตัวแค่ +1.6%QOQ ซึ่งต่ำตลาดคาดที่ +2.5%QOQ และชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน +3.4%QOQ โดยมีปัจจัยกดดันหลักๆ มาจากภาคการบริโภค (C) การส่งออกสุทธิ (NX) รวมถึงสินค้าคงคลัง ในทางตรงกันข้ามดัชนีเงินเฟ้อ CORE PCE กลับปรับตัว สูงขึ้น 3.7%QOQ ซึ่งมากกว่าตลาดคาดและไตรมาสก่อนที่ +3.4% และ 2.0% ตามลำดับ
ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวได้น้อยลง สวนทางเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น เป็น เหตุให้การดำเนินนโยบายการเงินดูยากลำบาก ขณะที่ FED WATCH TOOL คาด FED จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงยาวนานขึ้น อาจเริ่มปรับลดครั้งแรกในการประชุมรอบ เดือน ก.ย. 67 (เดิมคาด มิ.ย.) และมีโอกาสลดดอกเบี้ยเพียงแค่ 1 ครั้งในปีนี้ (DOT PLOT คาด 3 ครั้ง) ภาวะดังกล่าวกดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ วานนี้ผันผวนหนัก ร่วงลง มาราว -0.5% ถึง -1.0%
อย่างไรก็ดี ช่วงค่ำวันนี้ (26 เม.ย.67) รอติดตามการรายงานดัชนีเงินเฟ้อ PCE เดือน มี.ค. 67 โดย CONSENSUS คาดว่าจะขยายตัว +2.6%YOY เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนที่ +2.5%YOY ทั้งนี้ หากตัวเลขออกมาเป็นตามคาดหรือสูงกว่าคาด อาจเพิ่ม ระดับความกังวลเรื่องการยืดเวลาออกไปในการปรับลดดอกเบี้ยสหรัฐฯ ซึ่งมีโอกาส กดดันให้สินทรัพย์เสี่ยงผันผวนได้
สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวได้น้อยลง สวนทางเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ยิ่งเพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะ STAGFLATION เป็นเหตุให้การดำเนินนโยบายการเงิน ดูอึดอัด กดดันสินทรัพย์เสี่ยงผันผวนหนักในช่วงนี้
มาตราการควบคุม SHORT SELLช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่น ตลท. เตรียมใช้เกณฑ์มาตราการควบคุม SHORT SELL ที่หลากหลายช่วยเสริมสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน โดยมีรายละเอียดในเบื้องต้น พร้อมกับระยะเวลาในการ เริ่มใช้
ประเด็นดังกล่าวฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า จะช่วยจำกัดจำนวนบริษัทที่จะถูก SHORT SELL ให้ลดน้อยลงได้ และการทำ SHORT SELL ยังทำได้ยากขึ้น ช่วยสร้างความ เชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในระยะถัดไป อย่างไรก็ตามอาจมีความเสี่ยงที่ต้องแลกมา คือ ปริมาณมูลค่าซื้อขายบางส่วนมีโอกาสลดลง เนื่องจากปัจจุบันธุรกรรมซื้อขายจาก การ SHORT SELL มีสัดส่วนราว 10% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด
และฝ่ายวิจัยทำการค้นหาหุ้นที่ได้ SENTIMNET เชิงบวกจากประเด็นดังกล่าว หรือมี โอกาสถูก COVER SHORT ได้ดังนี้
1. หุ้นที่มีสถานะ SHORT SELL คงค้าง และมี MARKET CAP. ในช่วง 5 – 7.5 พันล้านบาท โดยหวังระยะถัดไปจะไม่ถูก SHORT ได้ คือ LPN, LANNA, KEX, III, SAMART ฯลฯ
2. หุ้นถูก SHORT SELL เยอะ และราคาลงมาเยอะเกิน 10%YTD อาจมีโอกาสรี บาวน์ขึ้นมาบ้าง คือ HANA, BTS, LH, EA, KCE, BANPU, COM7 ฯลฯ
FUND FLOW ต่างชาติเริ่มกลับมาสนใจ SET เน้นหุ้นใหญ่ เป้าหมายหลัก
ต่างชาติถล่มขายสุทธิหุ้นไทย และ SHORT สัญญาฟิวเจอร์สอย่างหนักในเดือน ม.ค. 67 เป็นมูลค่ากว่า 3.1 หมื่นล้านบาท และ 9.3 หมื่นสัญญา ตามลำดับ ซึ่งหลังจากนั้น จะเห็นได้ว่า MOMENTUM เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จนในเดือนล่าสุดต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ หุ้นไทย 3.2 พันล้านบาท และซื้อสุทธิสัญญาฟิวเจอร์สกว่า 2.0 หมื่นสัญญา
คาดหวังต่างชาติจะสลับมาซื้อสุทธิต่อ จากกำไร 1Q67 ของบริษัทจดทะเบียน ในกลุ่ม REAL SECTOR ที่ทยอยออกมา ส่วนใหญ่จะสูงกว่าที่ตลาดคาด อาทิSCGD สูงกว่า ตลาดคาด 14%, SCGP 17%, BH 4% เป็นต้น ซึ่งทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าว สร้างผลตอบแทนเป็นบวก และ OUTPERFORM SET INDEX ทั้งสิ้น ดังนั้นหลังจากนี้ นักลงทุนจึงควรติดตามอย่างใกล้ชิดว่า หุ้นแต่ละบริษัทจะประกาศงบเมื่อใด เพราะ หากกำไรออกมาดีกว่าตลาดคาด คาดจะสร้างผลตอบแทนเป็นบวกได้ไม่ยาก โดยใน เดือนนี้มีหุ้นที่จะรายงานงบ 1Q67 คือ HMPRO 3BBIF ADVANC ในวันที่ 30 เม.ย. 67 นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยฯ ทำการรวบรวมข้อมูล EARNING PREVIEW งวด 1Q67 จาก BLOOMBERG CONSENSUS 101 บริษัท (คิดเป็นสัดส่วน 60% ของ MARKET CAP.) มีกำไรสุทธิรวม 1.69 แสนล้านบาท เติบโต +51.7%QOQ และ +3.0%YOY จึง ทำให้กำไรรวมงวด 1Q67 มีโอกาสกลับไปแตะระดับ 2.5-3.0 แสนล้านบาทได้ไม่ยาก
สรุป FLOW ต่างชาติเริ่มกลับมาสนใจตลาดหุ้นได้มากขึ้น สังเกตจากมูลค่าซื้อสุทธิ หุ้นไทย และการทำสัญญา LONG FUTURES ในเดือน เม.ย.67 ดังนั้นกลยุทธ์การ ลงทุน ถือเป็นโอกาสสะสมหุ้นพื้นฐานดี กำไรงาม เป้าหมาย FLOW ต่างชาติ อาทิ KBANK (BK:KBANK), SCB, BBL, TISCO, PTT (BK:PTT), PTTEP, PTTGC, OR, IVL, SCC, CPN, CPALL, CRC เป็นต้น
การพบกันครึ่งทางระหว่างธนาคารไทยและภาครัฐ
วานนี้สมาคมธนาคารไทยประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR ราว 0.25% สำหรับ ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และSME เป็นเวลา 6 เดือน โดยเบื้องต้นจากการ สอบถามไปยังกลุ่มฯ ไม่ใช่การลด MRR ทั้งระบบ เป็นการลดให้เฉพาะกลุ่มเปราะบาง ตามนิยามของแต่ละธนาคาร กล่าวคือ กลุ่มเป้าหมายที่ธนาคารเล็งเห็นว่าควรให้ ความช่วยเหลือ ซึ่งทางกลุ่มฯ อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิด MORAL HAZARD ทั้งนี้ สินเชื่อที่อิงกับ MRR ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม SME และ สินเชื่อบ้าน โดยแนวทางการช่วยเหลือข้างต้น ถือว่าเสริมจาก ธปท. ที่พยายาม ผลักดันให้ ธ.พ. ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง (จัดชั้นลูกหนี้ตาม TFRS 9) ดังที่ทำมา ตลอดตั้งแต่ COVID-19
สำหรับ ธ.พ. ที่มีสัดส่วนสินเชื่ออิงกับ MRR สูง 3 อันดับแรกของกลุ่มฯ คือ KTB มี SME และ บ้าน รวมกันราว 30% ของพอร์ตสินเชื่อ รวมถึงพอร์ตสินเชื่อบุคคล (ไม่ รวมบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลของ KTC ราว 3.3 หมื่น้ลานบาท) ที่ส่วนใหญ่เป็น ลูกค้าราชการอิงกับ MRR อยู่ราว 22% ของพอร์ตสินเชื่อ ตามด้วย SCB มีสัดส่วน สินเชื่อบ้าน และ SME รวมกันราว 48% ของพอร์ตสินเชื่อ และ KBANK มีสัดส่วน สินเชื่อบ้านและ SME รวมกันประมาณ 46% ของพอร์ตสินเชื่อ หรือหากพิจารณาว่า กลุ่มเปราะบางคือกลุ่มลูกหนี้ที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว รวมรายใหญ่, SME และรายย่อย ตามมาตรการของ ธปท. (สิ้นสุดลงเมื่อสิ้นปี 2566) สัดส่วนเทียบ พอร์ตสินเชื่อจะน้อยกว่าตัวเลขข้างต้น เช่น SCB ประมาณ 11% ของพอร์ตสินเชื่อ, KBANK ราว 8% ของพอร์ตสินเชื่อ
ตามความเห็นของของฝ่ายวิจัย ผลกระทบต่อประมาณการกำไรไม่สูง สะท้อนจาก SENSITIVITY ANALYSIS กรณี WORST CASE บนสมมติฐานลด MRR ทั้งระบบ และรับรู้เต็มปี จะกระทบกำไรกลุ่มฯ ราว 3.6% ในขณะที่ระยะเวลาการลด MRR ตาม ข้างต้นอยู่ที่ 6 เดือน และเฉพาะกลุ่มเปราะบางตามมุมมองของแต่ละธนาคาร ทำให้ ประเมินผลกระทบต่อประมาณการจึงน้อยกว่า SENSITIVITY ANALYSIS พอสมควร
้งนี้ กำไรสุทธิกลุ่มฯ งวด 1Q67 ที่คิดเป็นสัดส่วน 27% ของประมาณการกำไรทั้งปี (รวมผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายกลางปีนี้ 1 ครั้ง) ด้วยผลจากประเด็น ข้างต้นดูจำกัด ประกอบกับคาดหวังแรงส่งจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ กระจายเข้าสู่ระบบมากขึ้นช่วง 2H67 ช่วยลดแรงกดดันจาก NPL เกิดใหม่ (NPL FORMATION) เอื้อต่อการบริหารจัดการ ECL จึงคงประมาณการกำไรกลุ่มฯ ตามเดิม โดย KBANK ที่สัดส่วนกำไร 1Q67 คิดเป็นสัดส่วน 31% ของประมาณการ กำไรทั้งปี และ TTB (กำไร 1Q67 คิดเป็นสัดส่วน 27% ของประมาณการทั้งปี) ซึ่งมี TAX SHIELD มองว่า DOWNSIDE ต่อประมาณการไม่สูง เมื่อเทียบกับกลุ่มฯ
แนวทางของสมาคมธนาคาร ถูกประกาศออกมาช่วงเที่ยงวานนี้ ทำให้แรงกดดันต่อ ราคาหุ้นทยอยถูกสะท้อนในราคาหุ้นไปบางส่วนแล้ว ขณะที่ระยะเวลาช่วยเหลือ 6 เดือนและเฉพาะกลุ่มเปราะบาง มองว่าเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างรัฐบาลและภาค ธนาคาร เพื่อช่วยให้ลูกหนี้ประคองตัวระหว่างเศรษฐกิจไทยรอมาตรการกระตุ้นจาก ภาครัฐ โดยตัวเลือกในกลุ่มฯ ยังคงเลือก TTB (FV@1.98) > KBANK (FV@B148) > BBL (FV@B175) > KTB (FV@B19)> TISCO(FV@B106), SCB(FV@B111) จาก HIGH DIVIDEND > KKP (FV@B49)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities