ธปท. เห็นว่าที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% เป็นระดับที่เกื้อหนุนให้ เศรษฐกิจไทยสามารถโตได้ตามศักยภาพ ขณะที่ตลาดการเงินก็ดำเนิน ไปได้อย่างปกติ สัญญาณดังกล่าวทำให้โอกาสที่จะปรับลดดอกเบี้ย นโยบายลดลง ทั้งนี้หากไม่มีการปรับลดอกเบี้ยการที่ SET INDEX จะ ปรับขึ้น คงต้องพึ่งแรงขับเคลื่อนในตัวเอง ซึ่งที่มีน้ำหนักที่สุดได้แก่ผล ประกอบการ โดยในงวด 1Q67 คาดว่าน่าจะเห็นการเติบโตราว 50% QOQ และน่าจะทรงตัวหรือบวกได้เล็กน้อย YOY สำหรับ VALUATION ที่เราทำเป้าหมาย SET INDEX ปี 2567 ไว้ที่ 1570 –1580 จุด ไม่ได้นำ ปัจจัยเรื่องการลดดอกเบี้ยในการคำนวน ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบ ส่วน ปัจจัยอื่นที่จะกระตุ้นก็ได้แก่ การเดินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ โดยน่าจะเห็นหลังการเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567
การที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามา ประกอบกับการที่SET INDEX ปรับ ขึ้นต่อเนื่องมา 3 วัน โอกาสที่จะเห็น SET INDEX ปรับฐาน ประเมินกรอบ 1352 –1367 จุด หุ้น TOP PICK เลือก IVL, JMART และ TU
ธนาคารกลางหลายแห่ง ยังส่งสัญญาณ HAWKISH
ธนาคารกลางหลายแห่ง ยังส่งสัญญาณ HAWKISH โดยเริ่มที่ธนาคารกลาง อินโดนีเซีย (BI) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 6.25% ซึ่งเป็น ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในการประชุมวานนี้ โดยการตัดสินใจปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยมีเป้าหมายที่จะพยุงค่าเงินรูเปียห์ หลังจากรูเปียห์ดิ่งลง 5%YTD และทำจุด ต่ำสุดนับตั้งแต่เกิด COVID-19 อีกทั้งยังมีสถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ ทวีความรุนแรงมากขึ้นในตะวันออกกลาง
ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น ก็มีปัญหาเรื่องค่าเงินอ่อนค่าเช่นกัน โดยล่าสุดรัฐมนตรีคลัง ญี่ปุ่น ส่งคำเตือนว่ามีโอกาสเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนอีกครั้ง หลังก่อนหน้านี้ได้เข้า แทรกแซงในเดือนต.ค.2565 โดยใช้วงเงินสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 6.35 ล้านล้านเยน (4.3 หมื่นล้านดอลลาร์) หรือราว 1.6 ล้านล้านบาท เพื่อพยุงค่าเงินเยนที่ทรุดตัวลง แตะระดับ 151.95 เทียบดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 32 ปีอย่างไรก็ตามนัก ลงทุนยังไม่มั่นใจว่าการแทรกแซงค่าเงินเยนจะเกิดขึ้นอีกครั้งหรือไม่ เนื่องด้วยจะมีการ ประชุม BOJ ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งหาก BOJ คง/ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็เป็นแรงช่วยให้ค่าเงิน เยนชะลอการอ่อนค่าได้ระดับหนึ่ง
สรุป ประเทศในโซนเอเชียทั้งญี่ปุ่น และ อินโดนีเซีย ธนาคารกลางยังส่งสัญญาณ HAWKISH เพื่อควบคุมค่าเงินของประเทศตนเองให้ไม่อ่อนค่าไปมากกว่านี้ จึงทำให้ FLOW ต่างชาติมีเคลื่อนย้ายจากหุ้นในฝั่งยุโรป/สหรัฐฯ มาอยู่ฝั่งเอเชียในระยะถัดไป
หากดอกเบี้ยไทยคง2.5% ต่อไป กระทบ SET ?
วานนี้ในการประชุมนักวิเคราะห์ (ANALYST MEETING) ครั้งที่ 1/2567 ธปท. มี มุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปัจจุบันที่ 2.5% เป็นระดับที่เหมาะสม เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจบ้านเราในระยะปานกลาง-ยาว ประเมิน GDP GROWTH ปี 2566 ขยายตัวต่ำกว่าคาดเพียงแค่ +1.9% เป็นเพราะการใช้จ่าย ภาครัฐฯ หดตัว หลังเบิกจ่ายล่าช้า (G) การส่งออกชะลอตัว (EX) ตามเศรษฐกิจ โลก บวกกับสินค้าคงคลังพุ่งสูง (INVENTORY) ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ไม่ได้กลับมา ฟื้นตัวด้วยการปรับลดดอกเบี้ย
ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2567-67 ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่องที่ +2.6% และ +3.0% ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากการเร่งใช้จ่ายภาครัฐฯ เฉพาะ ในช่วง 2H67 มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งโครงการ DIGITAL WALLET ค่าแรงขั้นต่ำ อีกทั้งรายรับภาคการท่องเที่ยวขยายตัว หนุนการบริโภคภาคเอกชน เติบโต รวมถึงการส่งออกทยอยฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนเงินเฟ้อไทยประเมินทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ 0.6% ในปี 2567 แต่จะทยอยเพิ่มขึ้น เข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในปลายปีนี้
นอกจากนี้ภาวะการเงินตึงตัวขึ้นในบางกลุ่ม (SME, ครัวเรือนรายได้น้อย) แต่ไม่เป็น ข้อจำกัดต่อเศรษฐกิจโดยรวม และกลไกสินเชื่อยังทำงานได้สอดคล้องกับการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ สำหรับเสถียรภาพระบบการเงิน คุณภาพสินเชื่อปรับลดลงในบางหมวด เช่น รถยนต์ อย่างไรก็ดี ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพจะไม่เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด
ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ธปท. ค่อนข้างมีมุมองบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย ซึ่งอาจจะ เห็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.5% ไว้อีกระยะหนึ่ง ถือเป็นปัจจัยหนุนให้เงินบาทชะลอ การอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม กนง. พร้อมที่จะทบทวนนโยบายดอกเบี้ย หากมีข้อมูลใหม่ เข้ามาเพิ่มเติม และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อมุมมองเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยฯ
ในมุมของ VALUATION ภายใต้สมมุติฐาน MARKET EARNING YIELD GAP 3.3% และ กนง. ยังคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% และ EPS67F ล่าสุดอยู่ที่ 91.4 บาท/หุ้น จะได้ กรอบ SET INDEX เป้าหมายปลายปีที่ระดับ 1570 - 1580 จุด ซึ่งยังมี UPSIDE สูง กว่าระดับปัจจุบัน
ด้วยประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด ทั้งบาทมีโอกาสชะลอการอ่อนค่า และ VALUATION ของ SET INDEX ที่ยังน่าสะสม ถือเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ FLOW ต่างชาติมีโอกาส ทยอยไหลเข้าในระยะถัดไป
สรุป ดัชนีปัจจุบันยังห่างจากกรอบดัชนีเป้าหมายที่ 1570 – 1580 จุด พอสมควร และ ค่าเงินบาทมีโอกาสชะลอการอ่อนค่าจาก กนง.ส่งสัญญาณ HAWKISH ถือเป็น โอกาสสะสมหุ้นพื้นฐานดี กำไรงาม เป้าหมาย FLOW ต่างชาติ อาทิ KBANK (BK:KBANK), SCB, BBL, TISCO, PTT (BK:PTT), PTTEP, PTTGC, OR, IVL, SCC, CPN, CPALL (BK:CPALL), CRC เป็นต้น
หวัง SET INDEX ทยอยขึ้นต่อ ลบร่องรอย SELLIN MAY ตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ในช่วงตอบสนองกับการรายงานงบ 1Q66 ทำให้เกิดความผันผวน กว่าปกติในรายหุ้น รวมถึงนักลงทุนให้น้ำหนักมองไปข้างหน้า อาทิ TSLA รายงานงบ 1Q67 ออกมาต่ำคาด 8% แต่หุ้นปรับตัวขึ้น 12% จากความคาดหวังการออกรถ EV MODEL ใหม่ในระยะถัดไป รวมถึงหลังตลาดปิด หุ้น META -15% จากความกังวลการ แบกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ AI ในระยะถัดไปมากขึ้น ส่วนในเอเชียเห็นแนวโน้มหุ้นจีน (อิง ตลาดหุ้นฮ่องกง) ขยับขึ้นมาทำจุดสูงสุดในปีนี้ และขึ้นจากจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว 16%
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงรายงานงบ 1Q67 เช่นกัน โดยเบื้องต้นคาดว่ามีโอกาส จะเห็นกำไรเพิ่มขึ้น +51.7%QOQ และ +3%YOY และหุ้นที่ประกาศงบออกมาแล้วส่วน ใหญ่ก็ดีกว่าตลาดคาด อาทิ SCGP, SCC เป็นต้น หนุนให้ SET INDEX มีโอกาสทยอย ฟื้นขึ้นในช่วงทยอยประกาศงบ 1Q67 ถึงช่วงกลางเดือน พ.ค. ส่วนแรงกดดันการขึ้น เครื่องหาย XD ของงบครึ่งหลังปี 2566 ทั้งหมดกดดัน SET 29.6 จุด แต่เดือน พ.ค. เหลือแรงกดดันเพียง 4.9 จุด และยังน้อยกว่าเดือน อื่นๆ อย่าง ก.พ., มี.ค., เม.ย. เป็น ต้น
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยฯ ยังคาดหวัง SELL IN MAY มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยในปีนี้ เพราะ สังเกตได้ว่าในอดีต SELL IN MAY มักไม่เกิด ถ้า 4 เดือนแรก SET INDEX ลงแรง รวมถึงเดือน พ.ค. ยังมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 และงบ 1Q67 ที่มีแน้วโน้ม เติบโตดีเข้ามาช่วย
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities