A surprise cut is not good for SET Index
• SET: คาด SET Index เปิดตลาดสัปดาห์นี้แกว่งตัวในกรอบแคบ จากการ เป็นช่วงหยุดยาว ประกอบกับการที่นักลงส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในโหมด Wait & See เพื่อรอดูผลลัพธ์การประชุมกนง.ในวันพรุ่งนี้ สําหรับปัจจัยใน รายงานตัวเลขตลาดแรงงาน ทําให้การลดดอกเบี้ยของไทยในสัปดาห์นี้ ระยะสั้นที่เกิดขึ้นในต่างประเทศล่าสุดได้แก่ สหรัฐฯ ที่ออกมาแข็งแกร่ง (หากเกิดขึ้น) จะยิ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อค่าเงินบาทได้ (รายละเอียดด้านล่าง) ส่วนปัจจัยภายในที่น่าติดตามได้แก่การประชุมครม.ในสัปดาห์นี้ที่อาจมีการ พิจารณามาตรการช่วยเหลือในภาคอสังหาฯ ซึ่งหากเกิดขึ้น น่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มนี้ได้บ้าง ในแง่ของการช่วยระบาย Inventory พร้อมกับการประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการต่างๆ (AP “ชอ” ราคาเป้าหมาย 14.4 บาท, SPALI “ชื่อ” ราคาเป้าหมาย 25.3 บาท) ส่วนปัจจัยภายในอื่นที่น่าติดตามในวันนี้ได้แก่ การเปิดเผย ข้อมูล Outstanding position ของธุรกรรม Short selling ในบ้านเรา ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยพอช่วยลดทอนแรงจูงใจต่อการขายชอร์ตลงได้บ้าง ในช่วงถัดไป
• Our view on MPC: เรายังคงคิดว่ากนง.มีเหตุผลมากมายเพียงพอที่จะ ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันพรุ่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น เหตุผลทางด้านเงินเฟ้อที่เตรียมกลับมาสูงขึ้นหลังหมดมาตรการตรึงราคา พลังงาน ความเสี่ยง Upside risk ของเงินเฟ้อในช่วงถัดไปที่อาจปะทุขึ้น หลังราคาโภคภัณฑ์ทยอยปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจไทย ณ เวลานี้ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเครื่องมือดอกเบี้ยโดยตรง อย่างไรก็ดี หากกนง.ตัดสินใจลดดอกเบี้ยในคราวนี้ จะถือเป็นการตัดสินใจที่ Surprise กลุ่มคนส่วนใหญ่ สะท้อนผ่านการ Price in ของตลาด Swap ณ วันนี้ที่ให้ ความน่าจะเป็นของการลดดอกเบี้ยอยู่ที่ 44%
• Surprise cut: ทั้งนี้ จากการศึกษาของเราในอดีตค้นพบว่า การลด ดอกเบี้ยแบบ Surprise cut ของไทยนับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมานั้น เหตุการณ์ดังกล่าวมักจะนํามาสู่ความอ่อนแอของ SET Index, Fund flow และค่าเงินบาท โดยในส่วนของดัชนี SET นั้น มักมีการปรับลงเฉลี่ยราว 1.3% ในช่วง 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ส่วนท่าทีนักลงทุนต่างชาติ มักมีการ ขายสุทธิออกมาโดยเฉลี่ย 5.6 พันล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าโดยเฉลี่ยราว 0.7% (รูปที่ 1-3)
• THB: ทั้งนี้ จากเงินบาทที่มักปรับตัวอ่อนค่าในทางสถิติ เมื่อมาประกอบกับ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทย-สหรัฐฯที่จะถ่างมากขึ้นไปอีก เพราะกว่า Fed จะลดดอกเบี้ยก็คงจะเกิดขึ้นในเดือนมิ.ย.เป็นอย่างเร็ว ทําให้เราค่อนข้างมั่นใจว่าหากกนง.มีการลดดอกเบี้ยจริงในคราวนี้ เงินบาท มีโอกาสที่จะไหลอ่อนค่าไปแถวระดับ 36.8-36.9 บาท/ดอลลาร์ได้ไม่ยาก
• Export & Tourism for hedging purpose: ด้วยเหตุนี้ สําหรับนัก ลงทุนที่ต้องการ Hedging พอร์ต เผื่อกรณีที่กนง.อาจมีการปรับลดดอกเบี้ย แบบ Surprise cut ในการประชุมวันที่ 10 เม.ย.นี้ หรือนักลงทุนที่อาจ ต้องการเก็งกําไรระยะสั้นต่อความเป็นไปได้การลดดอกเบี้ยดังกล่าว เราแนะนําให้เข้าสะสมหุ้นกลุ่มที่อิงกับบาทอ่อน ซึ่งในอดีตมักปรับตัว Outperform ตลาดในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างชัดเจน (รูปที่ 4) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มส่งออก (ETRON, FOOD)และกลุ่มท่องเที่ยว (TOURISM, TRANS) มองตัวหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ HANA, KCE, AAI, ITC, TU, ERW, AOT (BK:AOT)
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities