🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ลุ้นดอกเบี้ย ... รอ DIGITAL WALLET 

เผยแพร่ 09/04/2567 10:39
SETI
-

สัปดาห์นี้จะมีวันทำการเพียง 3 วัน ซึ่งธรรมชาติจะเห็นมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง อยู่แล้ว ขณะที่วันนี้จะเป็นช่วงเวลาของการ ลุ้น และ รอ ใน 2 เรื่องสำคัญ กล่าวคือ ลุ้นว่า การประชุม กนง. วันพรุ่งนี้ จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง หรือไม่ ทั้งนี้หากมองในมุมของความจำเป็นในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการ กระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เราเห็นว่าการปรับลดดอกเบี้ยเป็นเรื่องจำเป็น แต่ที่ทำให้ ลังเลว่าอาจเห็นการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 12 มิ.ย.67 แทน ก็เป็น เพราะเงินบาทที่อ่อนค่ามาก อีกทั้งในวันที่ 12 มิ.ย. ก็น่าจะเห็น FED ปรับลด ดอกเบี้ยลงมาเช่นกัน ส่วนอีกเรื่องที่รอ ได้แก่ความชัดเจนของ DITITAL WALLET ซึ่งประเมินจากสถานการณ์ล่าสุด ซึ่งรัฐบาลมีการวางกรอบว่าจะเติมเงินให้กับ ประชาชนใน 4Q67 อีกทั้งมีการให้ความเห็นชอบจัดทำงบประมาณปี 2568 แบบ ขาดดุลเพิ่มขึ้น ทำให้เราเห็นว่ามีความเป็นไปได้

เป็นบรรยากาศของการรอว่า ในวันพรุ่งนี้ (10 เม.ย.) จะมีข่าวดี เรื่อง ดอกเบี้ย และ DIGITAL WALLET เข้ามาหนุนตลาดหรือไม่

วันนี้คาด SET INDEX แกว่งใน กรอบ 1367 –1382 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BGRIM, CPALL (BK:CPALL) และ MAJOR

ความแตกต่างของทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ-ไทย

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร(NON FARM PAYROLL) เพิ่มขึ้น 303,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค.67 สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 205,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.8% ต่ำกว่าที่ตลาด คาดที่ระดับ 3.9% ข้อมูลการจ้างงานดังกล่าวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐปิดไตรมาสแรก ได้อย่างแข็งแกร่ง และมีความกังวลว่าจะเกิด RECESSION ลดลงโดยขณะนี้ตลาด การเงินคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิม 5.50% จนถึงเดือน มิ.ย.67 ด้วยความน่าจะเป็น 52% และทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 2 ครั้งในปีนี้ เหลือ 5.00% โดยลดลงจาก 3 ครั้ง หรือ 4.75% ที่คาดไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประเด็น ดังกล่าว จึงทำให้ BOND YIELD สหรัฐฯเร่งตัวขึ้นทุกช่วงอายุ และกดดัน RISKY ASSET อย่างตลาดหุ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในส่วนของไทย BLOOMBERG CENSENSUS คาดการณ์ผลการประชุม กนง.รอบ เม.ย.67 นี้จากนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด 24 คน ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า กนง.จะคง ดอกเบี้ยระดับเดิมที่ 2.50% มีเพียง 7 คนเท่านั้นที่เห็นต่างว่าควรลดดอกเบี้ยสู่ระดับ 2.25% หรือ คิดเป็นสัดส่วน 30% โดยวันนี้ฝ่ายวิจัยฯ จะวิเคราะห์ว่า ความแตกต่าง ของการลด/ไม่ลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบ เม.ย.67 มีอะไรบ้าง

• กนง.ลดดอกเบี้ยรอบ เม.ย.67 จะเป็นตัวช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ไม่มากก็น้อย แม้จะช่วยแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ได้ แต่ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหนี้ อย่าง หนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูงได้ โดยเศรษฐกิจไทยภาวะปัจจุบัน อยู่ในภาวะที่โต ต่ำกว่าศักยภาพ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะถดถอยได้ จากตัวเลข GDP GROWTH ที่โตต่ำสุดในอาเซียน และ อัตราเงินเฟ้อเดือนล่าสุดที่ยังหด ตัวต่อเนื่อง -0.47%YOY ขณะที่ในมุมของตลาดหุ้นไทยก็มีข้อดีเช่นกัน คือ เป็นการเพิ่ม UPSIDE ของ TARGET SET ราว 60-70 จุด และช่วยเพิ่ม ปริมาณการซื้อขายราว 3-4 พันล้านบาท/วัน

• กนง.คงดอกเบี้ยรอบ เม.ย.67 จะทำให้เงินทุนทางตรงและทางอ้อมของ ต่างชาติชะลอออกจากประเทศไทยได้ และค่าเงินบาทที่ไม่อ่อนค่าไปมากกว่า นี้ ตามส่วนต่างของดอกเบี้ยสหรัฐฯ-ไทยที่คงระดับเดิม

สรุป ดอกเบี้ยสหรัฐฯ มีโอกาสคงดอกเบี้ยนานขึ้น เนื่องด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจบ่งชี้ ว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่ง แตกต่างจากไทยที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอ่อนแอ และควรได้แรงกระตุ้นจากนโยบายทางการเงิน อย่างไรก็ตามตลาดคาดว่าการประชุม กนง.ในสัดาห์หน้าจะคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิม ซึ่งต้องติดตามผลลัพธ์ว่าจะเป็นเช่นไร คาดเป็นตัวกำหนดทิศทางตลาดฯในช่วงถัดไป

ส่วนวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET 1367-1382 จุด

เงินเฟ้อไทย มี.ค.67 หดตัว -0.47%

กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน ก.พ. -0.47%YOY ลดลง ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ซึ่งการหดตัวหลักๆ ยังคงเป็นราคาสินค้ากลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อหมูและผักสด รวมทั้งกลุ่มพลังงาน บวกกับฐานดัชนี ปีก่อนอนู่ในระดับสูง ส่งผลให้เฟ้อไทยใน 1Q67 หดตัว -0.79%AOA พร้อมกับได้ปรับ ประมาณการเงินเฟ้อปี 2567 อยู่ที่ 0.5%YOY (0.0% ถึง 1.0%) และคาด GDP GROWTH ไทยปีนี้โตเฉลี่ย 2.7% (2.2 ถึง 3.2%)

ส่วน CORE CPI ล่าสุด +0.37%YOY ต่ำสุดในรอบ 28 เดือน ส่งผลให้เฟ้อพื้นฐาน ไทยใน 1Q67 ขยายตัวเพียง 0.44%AOA ถือเป็นระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายในขณะนั้นยืนอยู่ราว 1.75% นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าเงินเฟ้อไทยเดือน เม.ย.67 มีโอกาสฟื้นขึ้นในช่วง -0.1% ถึง +0.1% ขณะที่เงินเฟ้อใน 2Q67 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน โลก และเงินบาทที่อ่อนค่ากว่า 1Q67 อีกทั้งการปรับตัวดีขึ้นของภาคท่องเที่ยว

ในมุมของฝ่ายวิจัยฯ มองว่าช่วง 2Q67 ผลกระทบจากเงินเฟ้อต่ำที่ส่งผ่านไปยัง เศรษฐกิจไทยลดน้อยลง ขณะเดียวกันยังมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 รวมถึงโอกาสการปรับลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป หนุนเศรษฐกิจฟื้นตัวเป็นขั้นบันได ประเด็นดังกล่าวน่าจะช่วยให้ SET สร้างฐาน และค่อยๆ ดูดีขึ้นในระยะถัดไป แนะนำเข้า สะสม หุ้นฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ MTC, TIDLOR, AOT (BK:AOT), MINT, ERW, CENTEL, JMART, BJC, CPALL, CRC, CBG, HMPRO, WHA, CK, STEC, TASCO, KBANK (BK:KBANK)

ตลาดฯเปิดเผยข้อมูล OUTSTANDING SHORT SELL หวัง เพิ่มความเชื่อมั่น และยังช่วยเพิ่มกลยุทธ์การลงทุนได้

วันศุกร์ที่ผ่านมา (5 เม.ย. 67) ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการเปิดเผยข้อมูล OUTSTANDING SHORT SELL POSITION หรือ สถานะคงค้างจากการ SHORT หุ้นนั้นๆ โดยฝ่ายวิจัยฯทำการรวบรวมและทำการศึกษา เชื่อว่าประเด็นนี้น่าจะช่วย สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนเพิ่มขึ้น พร้อมกับช่วยเพิ่มกลยุทธ์การลงทุนได้ หลากหลายขึ้นดังนี้

การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนลงทุน จากข้อมูล พบว่า มีหุ้นที่ถูกมีสถานะ SHORT SELL คงค้าง 278 บริษัท มีมูลค่ารวม 8.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนเพียง 0.5% ของ MAKET CAP ตลาดฯ เท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นการ SHORT SELL ผ่าน NVDR กว่า 7.5 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 87% ของมูลค่า SHORT SELL รวม)

ช่วยเพิ่มกลยุทธ์การลงทุนและเพิ่มมูลค่าซื้อขายได้(ตัวอย่าง ดูจากข้อมูล 20 อันดับ สัดส่วน OUTSTANDING SHORT SELL เยอะสุด ) ดังนี้

▪ ช่วยให้ทราบว่ามีหุ้นอะไรมีสถานะคงค้างในการ SHORT SELL เยอะ ถ้ามี ปัจจัยบวกเข้ามาหนุน หุ้นจำพวกนี้มีโอกาสรีบาวน์กลับเร็ว เพราะจะมีการ COVER SHORT ช่วยหนุนอีกแรง

▪ ในระยะถัดไปจะทราบเพิ่มเติมว่า หุ้นตัวนั้นๆ ถูก SHORT SELL เพิ่ม หรือ ลดลง ทำให้นักลงทุนหาจังหวะหรือกำหนดทิศทางในการสะสม หรือลงทุน เพิ่มในหุ้นตัวนั้นๆ ได้แม่นยำขึ้น

▪ ช่วยในการคัดกรองหุ้นพื้นฐานที่ราคาลงลึก ส่วนหนึ่งจากการถูก SHORT มาเยอะๆ จน VALUATION ถูกเริ่มน่าทยอยสะสม อาทิ LH, MTC, EA, KBANK, TIDLOR, COM7, BEM, BH เป็นหุ้นพื้นฐานแนะนำ OUTPERFORM หรือ มี UPSIDE สูง ที่ถูกกดลงจากการถูก SHORT SELL เยอะกว่าเพื่อน

สรุปตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยข้อมูล OUTSTANDING SHORT SELL หวังเพิ่ม ความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และเพิ่มมูลค่าซื้อขายในตลาด ทั้งจากสถานะคงค้าง SHORT SELL มีเพียงเพียง 0.5% ของ MARKET CAP เท่านั้น และยังช่วยเพิ่มกล ยุทธ์การลงทุน ในการกำหนดทิศทางเข้าสะสมหุ้นได้ดีมากขึ้นได้ แนะนำหุ้นพื้นฐานมี โอกาสถูก COVER SHORT สูง LH, MTC, EA, KBANK, TIDLOR, COM7, BEM, BH

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย