ปรับลดประมาณการ GDP GROWTH ปี 2567 บ้านเราลงจาก 3.2% มาอยู่ที่ 2.8% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมาเท่ากับที่หลายสำนักเศรษฐกิจใน บ้านเราคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตามหากประเมินภาพในเชิง เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในอาเซียน ต้องถือว่าเราเติบโตในอัตราที่ต่ำสุด และ ในอีกมุมหนึ่งก็มีอัตราเงินเฟ้อในระดับที่ต่ำสุดด้วย สถานะดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่า เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจต่างๆ ของบ้านเราทำงานได้ต่ำกว่าศักยภาพมาก ซึ่ง จำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้น ทั้งนี้เชื่อว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป้นรูปธรรม กำลังจะเกิดขึ้น หลังจากที่งบประมาณปี 2567 เริ่มเบิกใช้งานได้ และหากมอง ภาพต่อเนื่องไปในปี 2568 ก็ส่งสัญญาณว่าจะจัดทำงบขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก 1.5 แสนล้านบาท เป็น 8.63 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน DIGTITAL WALLET ถือได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ฤดูงบประมาณฯ ไหลหลาก
แม้จะมีความหวังเชิงบวกจากการเบิกจ่ายงบประมาณรออยู่ข้างหน้า แต่ระยะสั้น เรากำลังเข้าสู่ช่วงเทศกาลวันหยุด ซี่งก็จะทำให้มูลค่าการซื้อขายบาง คาด SET INDEX อยู่ในกรอบ 1372 -1385 หุ้น TOP PICK เลือก BJC, TU และ WHA
เศรษฐกิจไทยยังน่าห่วง หวังหลุดบ่วงจากแรงผลักภาครัฐ
วานนี้ WORLD BANK มีการปรับประมาณการ GDP GROWTH ของไทยปี 2567 ลดลงเหลือ +2.8%YOY (เดิมคาด 3.2%) โดยไม่รวมแรงกระตุ้นจากโครงการ DIGITAL WALLET และในปี 2568 ขยายตัว +3.0%YOY (เดิมคาด 3.1%) ซึ่ง เหตุผลการปรับลด เป็นเพราะการค้าโลกชะลอตัว ทำให้การส่งออกลดลง อีกทั้งการ ลงทุนภาครัฐลดลงจากการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจใน บ้านเราในปีนี้และปีหน้ามีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย แปซิฟิก ขณะเดียวกันเงินเฟ้อไทยที่ติดลบ ทำให้เป็นระดับต่ำสุดในอาเซียน
ภาวะดังกล่าว สะท้อนภาพเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยที่ยังขับเคลื่อนได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพ ซึ่งยังต้องการแรงกระตุ้นทั้งในส่วนของนโยบายการคลังที่เข้มข้น และ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อหลีกหนีจากภาวะชะลอตัว
ขณะที่ลาสุดเริ่มเห็นความหวังมากขึ้นจากแรงหนุนของภาครัฐฯ โดยล่าสุด กรมบัญชีกลางได้มีการออกแนวทางปฏิบัติ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 67 ภายใน ระยะเวลา 5 เดือน รวมถึงวันนี้ (2 เม.ย. 67) จะมีการชง ครม. พิจารณากรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายปี 2568 ใหม่ เพิ่มขึ้นเป็น 3.752 ล้านล้านบาท (เดิม 3.6 ล้านล้าน บาท) โดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท รวม ขาดดุลทั้งหมดเป็น 8.7 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าอาจเป็นการหาแหล่งเงินทุน เดินหน้า ดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท
สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่ำ หนุนให้ภาครัฐฯ เร่งดำเนิน นโยบายการคลังที่เข้มข้น โดยล่าสุดมีการออกแนวทางเบิกจ่ายงบฯ 67 ภายใน 5 เดือน รวมถึงอาจมีการตั้งงบขาดดุลงบปี 68 เพิ่มอีก 1.5 แสนล้าน เพื่อหาแหล่งเงินทำ โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อหุ้น กลุ่มวัสดุก่อนสร้างและรับเหมาฯ SCC, SCCC, TASCO, CK ,STEC ตามด้วยกลุ่ม ค้าปลีก BJC, HMPRO, CRC
เศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง กดดันค่าเงินบาทอ่อนค่าช่วงสั้น
สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.3จุด ในเดือนมี.ค.67(สูงสุดนับตั้งแต่ก.ย.65)จากระดับ 47.8จุด ในเดือนก.พ.67และสูงกว่าที่นัตลาดคาดที่ระดับ 48.5 จุด ประเด็นดังกล่าว ทำให้ราคา น้ำมันดิบทั้ง BRENT และ WTI วานนี้ดีดตัวขึ้น 0.48% และ 0.27% ตามลำดับ ขณะที่ ฝั่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นทะลุระดับ 4.3% ทำให้นัก ลงทุนตระหนักว่า FED อาจจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.50% นาน กว่าเดิม
ึ่งหากพิจารณาในมุมของ FED WATCH TOOL บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 56% ในการคาดว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย.67 ซึ่ง ลดลงจากระดับ 64% ในสัปดาห์ที่แล้ว
ในส่วนของความสัมพันธ์ของ BOND YIELD 10 ปีของไทย-สหรัฐฯ และค่าเงินบาท ฝ่ายวิจัยฯ ศึกษาข้อมูลในอดีต และพบว่าเมื่อนำ BOND YIELD 10 ปี สหรัฐฯ – ไทย จะมีความสัมพันธ์ทางตรงกับค่าเงินบาทเสมอ ดังรูปด้านล่าง ดังนั้นในสภาวะปัจจุบัน ที่ BOND YIELD 10 ปี สหรัฐฯ เร่งตัวขึ้น ขณะที่ BOND YIELD 10 ปี ไทยยังทรงตัว ระดับเดิม หนุนให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าทดสอบแนวต้าน 37 บาท/เหรียญฯ ได้ไม่ ยาก
อีกทั้งตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือน เดือน มี.ค. ตลาดคาด -0.37%YOY(ติดลบต่อเนื่อง จากเดือนก่อนที่ -0.77%YOY) ทำให้อาจเห็นการดำเนินนโยบายที่สวนทางกันในช่วง สั้นของสหรัฐฯ และไทย กล่าวคือ สหรัฐฯ –เศรษฐกิจฟื้นตัวดี FED อาจยังคงดอกเบี้ย นานขึ้น ส่วนไทย – เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ดี กดดัน BOT เร่งลดดอกเบี้ยในอนาคต ทำให้ เป็นแรงเสริมให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อไป ซึ่งตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่ามาแล้วกว่า 7.3%
สรุป เศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง หนุนให้การดำเนินนโยบายของ FED อาจยังคงดอกเบี้ย นานขึ้น ส่วนไทย BOT อาจเร่งลดดอกเบี้ยในอนาคต จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า กว่าคาด กลยุทธ์การลงทุนแบ่งเป็น 2 ธีมหลัก
• หุ้นได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบฟื้นตัว PTT (BK:PTT) PTTEP TOP SPRC
• หุ้นได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า TU, CPF, STA, NER, KCE, HANA, ICHI, SAPPE, CENTEL, ERW
เดือน เม.ย. มูลค่าซื้อขายเบาบางเป็นปกติ แต่ถ้าต่างชาติ SET ก็พอขยับขึ้นได
มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยในช่วง 2 วันมา ไม่ถึง 3 หมื่นล้านบาทต่อวัน ส่วนหนึ่งเกิดจาก ตลาดหุ้นเมืองนอกหยุดทำการเยอะ เนื่องจากเป็นวัน GOOD FRIDAY และวัน EASTER
ขณะที่เดือน เม.ย. ปกติเป็นเดือนที่มีวันหยุดทำการของตลาดหลักทรัพย์เยอะ เลยทำ ให้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มูลค่าซื้อขายในเดือนเม.ย. ต่ำสุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับ เดือนอื่นๆ ถึง 3 ใน 10 ปี ต่ำสุดเป็นอันดับ 2 ถึง 3 ใน 10 ปี และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ถึง 9 ใน 10 ปี
แม้มูลค่าซื้อขายจะเบาบาง แต่ถ้าต่างชาติมีการสลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่อง โดยต่างชาติ ซื้อหุ้นไทยมาแล้ว 4 ใน 5 วันทำการที่ผ่านมา อีกทั้งสังเกตได้ว่าในปี 2024 นี้ ต่างชาติ ซื้อหุ้นไทย 22 วันทำการ ตลาดหุ้นไทยขยับขึ้นถึง 20 วันทำการ และวันที่มูลค่าซื้อขาย น้อยๆ แต่ต่างชาติซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นไทยก็ขยับขึ้นทั้งสิ้น
สรุป แม้เดือนเม.ย. ปกติมูลค่าซื้อขายจะเบาบาง จากการที่มีวันหยุดเยอะ แต่เม.ย. ปีนี้ FUND FLOW ก็ยังมีโอกาสสลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่อง จากความคาดหวังเศรษฐกิจ ทยอยฟื้นตัวตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน การเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และ อาจเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายการเงินเพิ่มขึ้นมาอีกแรง ส่วนวันนี้ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1372 – 1387 จุด TOP PICK เลือกหุ้นมี ปัจจัยบวกเฉพาะตัว TU, BJC, WHA
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities