Economic Highlight
ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ รวมถึง รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐฯ และจีน นอกจากนี้ ควรจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด อย่างใกล้ชิด
FX Highlight
⦁ เงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากความกังวลแนวโน้มเฟดไม่รีบลดดอกเบี้ยและเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่า 3 ครั้ง กดดันให้เงินบาทมีจังหวะผันผวนอ่อนค่าลงทะลุแนวต้าน 36.50 บาทต่อดอลลาร์ ทว่าการปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ของราคาทองคำก็ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้บ้าง
⦁ เงินดอลลาร์จะยังคงผันผวนไปตามการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ซึ่งจะขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด
⦁ หากรายงานดัชนี PMI สหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด และยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ยังคงแข็งแกร่ง (จ้างงานเพิ่มขึ้น เกิน 2 แสนตำแหน่ง) ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเชื่อว่า เฟดมีโอกาสมากขึ้นที่จะลดดอกเบี้ยลงได้น้อยกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อได้
⦁ นอกจากนี้ หากบรรยากาศในตลาดการเงินพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ก็อาจหนุนให้ผู้เล่นในตลาดเลือกถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven)
⦁ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ควรรายงานข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซน อย่าง อัตราเงินเฟ้อ CPI และดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ก็อาจส่งผลต่อเงินยูโร (EUR) และเงินดอลลาร์ได้ ตามการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
⦁ นอกเหนือจากปัจจัยนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟดและECB เรามองว่า ควรจับตาทิศทางราคาทองคำและสกุลเงินฝั่งเอเชีย อย่าง เงินหยวนจีน (CNY) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินบาทในช่วงนี้พอสมควร
⦁ โดยในส่วนของเงินหยวน (CNY) เราคาดว่า มีโอกาสที่เงินหยวนอาจชะลอการอ่อนค่าและพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นบ้าง หลังรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของจีนล่าสุดออกมาดีกว่าคาดมาก
⦁ สำหรับ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจทยอยกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนหุ้น ทั้งนี้ ต้องจับตาว่า เงินบาทจะอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 36.50 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้ไกลหรือไม่ เพราะการอ่อนค่าลงต่อเนื่อง จะทำให้นักลงทุนต่างชาติอาจยังไม่รีบกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทย
⦁ ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทยังคงมีอยู่ แต่อาจชะลอลงบ้าง โดยต้องจับตาโซนแนวต้านสำคัญ 36.50 บาทต่อดอลลาร์ (หากอ่อนค่าต่อชัดเจน จะมีแนวต้านถัดไป 36.60 บาทต่อดอลลาร์ )
⦁ ส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ต่างชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่ายังมีอยู่ แต่ได้ชะลอลง ทำให้เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways หรือหากอ่อนค่าก็จะเป็นไปอย่างจำกัดได้
Gold Highlight
⦁ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำ All-time High หนุนโดยจังหวะการย่อตัวลงบ้างของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในช่วงก่อนรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ รวมถึงความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่กลับมาร้อนแรงมากขึ้น
⦁ เรามองว่า การปรับตัวขึ้นทำ All-time High ของราคาทองคำ นั้นเสี่ยงต่อการเผชิญแรงขายทำกำไร และเสี่ยงต่อการปรับฐานหนัก หากเผชิญปัจจัยกดดัน อาทิ ตลาดเชื่อว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่า 3 ครั้งในปีนี้
⦁ เรามองว่า ยังคงต้องระวังความผันผวนของเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เนื่องจากทั้งสองปัจจัยยังมีความสำคัญต่อทิศทางราคาทองคำ
⦁ ดังนั้น ควรรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญฝั่งสหรัฐฯ อย่าง การจ้างงาน รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยุโรป เช่น รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน ที่อาจกระทบต่อทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์
⦁ ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า ราคาทองคำยังคงเสี่ยงปรับฐานต่อ ตามสัญญาร Bearish Divergence บน RSI และ Bearish MACD ส่วนสัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 ก็สะท้อนถึงความเสี่ยงที่ราคาทองคำจะปรับตัวลดลงต่อเช่นเดียวกัน หรืออาจชี้ว่า ราคาทองคำอาจแกว่งตัว sideways ไปก่อน จนกว่าจะมีปัจจัยหนุนใหม่ๆ เพิ่มเติม