รัฐบาลส่งสัญญาณเดินหน้า DIGITAL WALLET ชัดเจนมากขึ้น โดยให้รอฟัง ผลสรุป (ข่าวดี) วันที่ 10 เม.ย.67 (วันเดียวกับประชุม กนง.) หลังจากนั้นก็จะนำเข้า สู่ ครม. ทั้งนี้แหล่งเงินที่ใช้ เราประเมินว่าน่าจะเป็นส่วนผสมของ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ งบประมาณปี 2568, เงินกู้เพื่อ DIGITAL WALLET และ การโอนงบประมาณปี 2567 ที่ค้างเบิก โดยการเติมเงินเข้า DIGITAL WALLET จะเกิดขึ้นในงวด 4Q67 การที่มีเม็ดเงินดังกล่าวไหลเข้าสู่ระบบน่าจะทำให้เห็นการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของ GDP แต่ที่ต้องรักษาไว้ให้ได้ก็คือ MOMENTUM การฟื้นตัวในระยะถัดไป IMPACT ที่จะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้น เชื่อว่าจะตกอยู่กับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ เกี่ยวเนื่องกับการอุปโภคบริโภค อย่าง ค้าปลีก อาหาร ท่องเที่ยว ส่วนภาพรวม ของ SET INDEX ยังขยับได้ยาก เนื่องจากยังอยู่ในกับดักของสภาพคล่อง ซึ่งเรา มองเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ขาดสมดุลระหว่าง MARKET CAP. ที่ใหญ่ กับ มูลค่าการซื้อขายที่ไม่มากพอ
SENTIMENT เชิงบวกจากตลาดหุ้นต่างประเทศเชื่อว่าจะมีผลต่อ SET INDEX ก็ ไม่มาก เหตุเพราะมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง วันนี้คาดว่า SET INDEX อยู่ใน กรอบ 1374 –1388 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BJC, CBG และTASCO
DIGITAL WALLET มุ่งหน้าพาเศรษฐกิจไทยไปไกลกว่าเดิม
ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ผ่าน DIGITAL WALLET ด้วยกรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท นายกฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเดินหน้าดำเนินการในส่วนต่างๆ ดังนี้
• กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ เสนอความเป็นไปได้ของแหล่งเงินที่ จะนำมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต นอกเหนือจากการออก พ.ร.บ.กู้เงิน
• กระทรวงพาณิชย์สรุปหลักเกณฑ์ร้านค้า
• กระทรวง DE และบอร์ดรัฐบาลดิจิทัล สรุปการพัฒนาระบบ และการจัดทำใน ลักษณะเปิด (OPEN LOOP) เพื่อให้สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจเข้า ร่วมโครงการ
• สำนักงานตำรวจแห่งชาติวางกรอบวินิจฉัยร้องทุกข์กล่าวโทษ และการเรียก เงินคืน
ทั้งนี้ นายกฯ ได้กำหนดให้หน่วยงานข้างต้นชี้แจงรายละเอียดความชัดเจนทั้งหมด พร้อมกับรายงานในที่ประชุมบอร์ดใหญ่วันที่ 10 เม.ย. 67 อีกครั้ง ก่อนจะนำเข้าสู่ ครม. ภายในเดือน เม.ย. 67 พร้อมยืนยัน TIMELINE โครงการฯ โดยจะมีการ ลงทะเบียนร้านค้า และประชาชนใน 3Q67และเงินจะถึงประชาชนใน 4Q67
กรอบเวลาของโครงการฯ ที่ยังคงเดินหน้าและชัดเจนมากขึ้น โดยรัฐบาลยืนยันว่า ประชาชนจะได้รับเงิน 10,000 บาท ภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน (คาดการณ์ว่าจะเป็น ช่วง 4Q67) ถือเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถือ 58%ของ GDP (ข้อมูลปี 2566) และเชื่อว่าจะเป็นแรงหนุนให้ C ขยายตัวได้ต่อเนื่อง มองเป็น SENTIMENT บวกต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก อาทิ BJC CBG CRC CPALL (BK:CPALL) HMPRO
สรุป กรอบเวลาของโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ผ่าน DIGITAL WALLET ที่ยังคงเดินหน้าและชัดเจนมากขึ้น ถือเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการบริโภค ภายในประเทศ มองเป็น SENTIMENT บวกต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก อาทิ BJC CBG CRC CPALL
VOLUME เบา แต่มีแรงพยุงจากต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 2 วัน
วานนี้SET INDEX +3.6 จุด หรือ 0.26% เป็น 1380.83 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายที่เบา บาง 3.1 หมื่นล้านบาท (ต่ำสุดเป็นอันดับ 3 นับตั้งแต่ต้นปีนี้) มาจากนักลงทุนต่างชาติ 1.5 หมื่นล้านบาท (49% ของมูลค่าซื้อขายรวม), นักลงทุนรายย่อย 1.1 หมื่นล้านบาท (35% ของมูลค่าซื้อขายรวม), สถาบันฯ ในประเทศ 2.7 พันล้านบาท (8% ของมูลค่าซื้อ ขายรวม), พอร์ตโบรกเกอร์ 2.6 หมื่นล้านบาท (8% ของมูลค่าซื้อขายรวม)
แม้มูลค่าซื้อขายจะเบา แต่ยังมีแรงพยุงจากเม็ดเงินต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิทุก สินทรัพย์การลงทุนใน 2 วันที่ผ่านมา คือ ซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 2.1พันล้านบาท, ตลาด ฟิวเจอร์ 20,236 สัญญา และตลาดตราสารหนี้ 7.2 พันล้านบาท
ภายใต้มูลค่าซื้อขายเบาบาง ช่วงท้ายตลาดวันนีอาจผันผวนขึ้นจากการ ROLLOVER สัญญาในตลาด TFEX แต่มีแรงพยุงจากต่างชาติเข้ามาบ้าง โดยหุ้นที่ขยับขึ้นได้ดี ในช่วงนี้ ต้องเน้นลงทุนหุ้นโซนล่างและหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ดังนี้
• หุ้นพื้นฐานฐานย่อตัวลงมาลึก SCC, HMPRO, JMART
• หุ้นได้ประโยชน์จากการขึ้นค่าแรง CBG, OSP
• หุ้นได้แรงหนุนเรื่องกระเป๋าตังค์ดิจิตอล BJC, CPALL
• หุ้นรับตัวเลขส่งออกดี TU, ITC, STA
• หุ้นรับงบประมาณภาครัฐผ่านต้นช่วง 2Q67 อย่าง TASCO, SCC, CK,STEC
กกพ. มีมติตรึงค่า FT เท่างวดก่อน ส่งผลต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า อย่างไรบ้าง
กกพ. มีมติเห็นชอบให้ตรึงค่า FT งวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2567 คงเดิมที่ 39.72 สตางค์/ หน่วย เท่ากับงวด ม.ค.-เม.ย. 2567 ซึ่งเมื่อรวมกับค่าไฟฐาน 3.7833 บาท/หน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟงวดใหม่คงที่อยู่ในระดับเดิมที่ 4.1805 บาท/หน่วย การตรึงค่า FT ในครั้งนี้ ถือว่าสอดคล้องกับแนวทางที่ กกพ. เคยได้นำเสนอไปในช่วง ก่อนหน้า โดยเป็นการเรียกเก็บอยู่ในกรอบกรณีที่ต่ำสุด แบ่งเป็น
1. ค่า FT ที่สะท้อนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในเดือน พ.ค. – ส.ค.2567 ที่ 19.21 สตางค์/หน่วย
2. เงินจ่ายคืนหนี้ให้แก่ กฟผ. แบ่งเป็น 7 งวด งวดละ 1.40 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 20.51 สตางค์/หน่วย
ซึ่งจะยังไม่รวมภาระเงินคงค้างค่าก๊าซฯ ที่เกิดขึ้นจากการใช้นโยบายตรึงการเรียกเก็บ ราคาก๊าซฯเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 คงที่ตามมติ กพช. โดยภาระดังกล่าวยังคงค้างที่ ปตท. (BK:PTT) (เฉพาะในส่วนของการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายเข้าระบบ) 1.21 หมื่นล้านบาท และ กฟผ. 3.80 พันล้านบาท
ประเด็นดังกล่าวถือเป็นมุมมองเชิงบวกต่อผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า SPP ที่มีสัดส่วน ขายไฟฟ้าให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง อาทิ BGRIM (สัดส่วนรายได้จาก การขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 26% ของรายได้รวม), GPSC (สัดส่วนรายได้ จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 30% ของรายได้รวม) , GULF(สัดส่วน รายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 10%ของรายได้รวม) เนื่องจาค่า FT งวดใหม่ยังสามารถตรึงไว้ได้ในระดับสูง เพื่อจะนำเงินบางส่วนมาทยอยคืนหนี้ให้แก่ กฟผ. ในขณะที่ประมาณการต้นทุนก๊าซธรรมชาติทุกแหล่ง (รวมค่าผ่านท่อ) รอบ พ.ค.- ส.ค. 2567 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาอยู่ราว 322.1 บาท/ล้านบีทียู จากเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567 ที่อยู่ราว 356.0 บาท/ล้านบีทียู ส่งผลให้ภาพรวมอัตรากำไรขั้นต้น ของกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ในงวด 2Q67 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น QOQ
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า เท่าตลาด โดยทิศทางกำไรกลุ่มฯในช่วงสั้น คาดจะเริ่มทยอยฟื้นตัวขึ้น QOQ ตามลำดับ ในช่วง 1H67 หนุนจากความต้องการใช้ ไฟฟ้าโดยรวมที่ปรับตัวสูงขึ้น และแนวโน้มต้นทุนก๊าซฯที่คาดลดลง อีกทั้ง ภาพใหญ่ รายปี 2567 คาดกำไรปกติทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง YOY จากต้นทุนก๊าซฯเฉลี่ยทั้งปีที่ คาดจะปรับตัวลดลง จึงคงคำแนะนำหาจังหวะทยอยสะสมลงทุนระยะยาว สำหรับ BGRIM (FV@34B), GULF (FV@63B), และ GPSC (FV@55B)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities