มองเห็นสัญญาณบวกผ่านเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ ที่เริ่มกลับมาเดินหน้า เริ่ม จากงบประมาณปี 2567 ซึ่งวานนี้ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาตามคาด และ เริ่มกระบวนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ คาดหมายว่าจะสามารถเบิกใช้งบประมาณได้ ช่วงเดือน เม.ย.67 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนภาครัฐ บวกต่อหุ้นวัสุดก่อสร้าง และรับเหมาฯ ถัดมา เป็นการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งมีสัญาณบวกจากตัวเลขการ ขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่แตะ 6.6 แสนล้านบาทในปี 2566 ที่กำลังจะ กลายเป็น FDI ในอนาคต รวมถึงตัวเลขนักลงทุนที่แสดงความสนใจหลังจากที่ รัฐบาลได้ทำ ROADSHOWใน 14 ประเทศ ช่วงที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะทำให้ตัวเลขการ ของรับ BOI เพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือการกระตุ้นการบริโภคภาค ครัวเรือน ซึ่งหนุนด้วยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และ DIGITAL WALLET ที่กลับมา เดินหน้า องค์ประกอบดังกล่าวน่าจะส่งผลบวกต่อ EARNING บจ. ในระยะต่อไป
แรงหนุนจากเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ น่าจะดีต่อหุ้น DOMESTIC PLAY แต่ อย่างไรก็ตามในส่วนของ SET INDEX การขยับตัวขึ้นยังต้องพึ่ง FUND FLOW วันนี้คาดกรอบ 1370 –1384 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BJC, CBG และJMART
ตัวเลขส่งออก เดือน ก.พ.67 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ชอบหุ้น NER STA ITC TU
วานนี้กระทรวงพาณิชย์ ประกาศตัวเลขส่งออก เดือน ก.พ. 67 +3.6%YOY ขยายตัว ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 สอดคล้องกับการส่งออกในหลายๆ ประเทศในแถบเอเชีย นำโดย เวียดนามส่งออก ม.ค.67 เติบโต +42%, ไต้หวัน +18.1%, เกาหลีใต้ +18.0%, สิงคโปร์ 15.7% เป็นต้น ขณะที่ตัวเลขนำเข้าเดือน ก.พ. 67 +3.2%YOY หนุนให้ ดุลการค้าขาดดุลลดลงอยู่ที่ -554 ล้านเหรียญฯ (ดีกว่าคาด -573 ล้านเหรียญ) ซึ่ง ระยะถัดไป ลุ้นดุลบัญชีเดินสะพัด ก.พ.67 กลับมาเป็นบวก ตามการฟื้นตัวของจำนวน นักท่องเที่ยวตั้งแต่ต้นปี
หากพิจารณาสินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่เกี่ยวข้องกับรายชื่อบริษัทจดทะเบียน จะ เห็นได้ว่าสินค้าที่โตเด่น คือ ยางพารา +31.7%YOY บวกต่อ NER STA ,อาหารสัตว์ เลี้ยง +21.5%YOY บวกต่อ ITC ASIAN AAI CPF ,ทูน่ากระป๋อง +15%YOY บวก ต่อ TU เป็นต้น
ขณะที่แนวโน้มภาคการส่งออกไทยในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า การส่งออก ไทยยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าตาม ภาวะเงินเฟ้อโลกที่เริ่ม ชะลอตัว ขณะที่ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางยังไม่ส่งผลกระทบทางตรง ต่อไทยมากนัก ส่งผลแต่เพียงในทางอ้อม คือ อัตราค่าระวางเรือจะเพิ่มสูงขึ้น โดย ภาพรวมกระทรวงพาณิชย์ คาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2567 จะโตราว 1% –2%YOY
สรุป ตัวเลขส่งออกไทย เดือน ก.พ.67 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 สอดคล้องกับ การส่งออกในหลายๆ ประเทศในเอเชีย ขณะที่สินค้าส่งออกเด่น คือ ยางพารา +31.7%YOY บวกต่อ NER STA ,อาหารสัตว์เลี้ยง +21.5%YOY บวกต่อ ITC ASIAN AAI CPF ,ทูน่ากระป๋อง +15%YOY บวกต่อ TU เป็นต้น
แรงขับเคลื่อนเริ่มมา หวังพาเศรษฐกิจไทยไปต่อ
ภาพเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวต่ำในช่วงปีที่ผ่านมา +1.9%YOY สะท้อนต้องการแรง กระตุ้นทั้งในส่วนของนโยบายการคลังที่เข้มข้น และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาก ขึ้น เพื่อหลีกหนีจากภาวะชะลอตัว สำเศรษฐกิจภายในประเทศส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า GDP GROWTH บ้านเราปี 2567 จะอยู่ที่บริเวณ 2.7 –2.8%YOY
อย่างไรก็ดี บทบาทของนโยบายการคลังที่ทยอยเดินหน้า เชื่อว่าจะเริ่มเห็นความ ชัดเจนมากขึ้นในช่วง 2Q67 โดยมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากหลายภาคส่วน
• การใช้จ่ายภาครัฐ (G) ผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท โดยผลการพิจารณา ล่าสุด สส. - สว. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. งบฯ ไปเมื่อวันที่ 22 และ 26 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา ส่วนขั้นตอนหลังจาก นี้ สภาฯ จะนำร่างพ.ร.บ. ดังกล่าว จัดส่งให้กับ ครม. เพื่อเตรียมนำขึ้น ทูลเกล้าฯ (คาดเป็นวันที่ 3 เม.ย.67) หลังจากโปรดเกล้าฯ ลงมา ก็จะเป็นการ ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงบลงทุน น่าจะเห็นเม็ดเงินไหลเข้าระบบที่รวดเร็ว กว่างวดอื่นๆ เนื่องจากมีช่วงระยะเวลาการเบิกจ่ายเพียง 6 เดือน (สิ้น ปีงบประมาณ 30 ก.ย.2567) เฉพาะอย่างยิ่ง งบจ่ายลงทุน มองเป็นบวกต่อ หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง CK STEC TTCL, วัสดุก่อสร้าง SCC SCCC TASCO รวมถึงเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มเหล็ก BSBM, TMT, TSTH, INOX
• ภาคการการลงทุน (I) โดยหลังจากรัฐบาลเดือนสายต่างประเทศในช่วงที่ผ่าน มา พบปะกับนักลงทุนแล้วกว่า 60 บริษัท ใน 14 ประเทศ คาดเดินหน้าดึงการ ลงทุนใน 4 อุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า, อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์, อุตสาหกรรมดิจิทัล และสำนักงาน ภูมิภาคและโลจิสติกส์หวังให้มีเม็ดเงินไหลเข้า 5.58 แสนล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าจะ ทำให้การลงทุนขยายตัวอย่างมีนัยฯ หนุนให้การขอรับการส่งเสริมการ ลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 8.7 แสนล้านบาท และส่งผลให้ FDP มีแนวโน้ม เติบโตขึ้นตามลำดับ มองเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มนิคม อาทิ WHA AMATA PIN ROJNA
• ภาคการบริโภค (C) โดยกระตุ้นผ่านนโยบายต่างๆ เริ่มจากโครงการเติมเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งในวันนี้รอติดตามรายงานความคืบหน้า รวมถึงข้อเสนอการปรับปรุงแนวทางการดำเนินโครงการฯ นอกจากนี้ คณะกรรมการไตรภาคียังมีมติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท นำร่อง 10 จังหวัด ท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ 13 เม.ย. 67 ถือเป็นการเพิ่มกำลังซื้อ ให้กับประมาชาชน มองเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก อาทิ BJC CBG CRC CPALL (BK:CPALL)
สรุป นโยบายการคลังที่ทยอยเดินหน้า เชื่อว่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้นในช่วง 2Q67 โดยมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่าย ภาครัฐ (G) ภาคการการลงทุน (I) รวมถึงภาคการบริโภค ©
แรงกดดัน FUND FLOW ไหลออกน้อยลง
ในช่วง 1Q67 ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นไทยมากสุดในภูมิภาค -1.9 พันล้านเหรียญ ผิดกับประเทศอื่นๆที่ถูกซื้อสุทธิทั้งสิ้น แถมยังเป็นการซื้อสุทธิทุกเดือนอีกต่างหาก อาทิ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ 1.13 หมื่นล้านเหรียญ ตามมาด้วยไต้หวัน 6.0 พันล้าน เหรียญ, อินโดนีเซีย 1.8 พันล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 168 ล้านเหรียญ
ส่วนหนึ่งเกิดจาก SET INDEX ถูกปรับลดน้ำหนักจากดัชนี MSCI และ FTSE รวมถึง ถูกปรับลดประมาณการกำไรปี 2567 ลงเป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาค โดยข้อมูลจาก BLOOMBERG CONSENSUS EPS67F ต้นปีจาก 107.4 บาท/หุ้น ลดลงเป็น 94.7 บาท/หุ้น หรือถูกปรับลดถึง -11.8% ขณะที่ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกปรับ EPS67F เพิ่ม เล็กน้อย 0.6%, ไต้หวัน -0.1%, ฟิลิปปินส์ -0.1% และอินโดนีเซีย -12%
แต่ในช่วง 2Q67 แรงกดดันจากการปรับลดประมาณการกำไรลดลง รวมถึง EPS GROWTH67F ยังดูโดดเด่นเติบโต 17% พร้อมกับนโยบายการเงินและการคลังที่ ประสานแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าจะช่วยให้ FUND FLOW ไหลเข้าหุ้นไทยมากขึ้น ในช่วง 2Q67 ได้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities