BOND YIELD ในสหรัฐดีดขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่FED WATCHTOOL แสดงโอกาส ที่จะปรับลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย.67 ต่ำกว่า 50% INDICATOR ทั้ง 2 ตัว ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสที่ FED อาจคง ดอกเบี้ยที่เพดาน 5.5% ยาวนานขึ้น โดยเริ่มมองกันว่าอาจเห็น FIRST RATE CUT ก.ค.67 สัญาณดังกล่าว ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าไปที่บริเวณใกล้ 36 บาท/ USD ทำให้ความหวังว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในบ้านเราใน การประชุม กนง. 10 เม.ย.67 เบาบางลง สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตลาด หุ้นไทย ก็น่าจะทำให้ยังไม่มีแรงหนุนจาก FUND FLOW นักลงทุนต่างชาติ กลับ เข้ามาซึ่งเท่ากับว่าทำให้การปรับขึ้นไปของ SET INDEX ยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ SET INDEX เป้าหมายปลายปียังคงอยู่ที่ 1570-1580 จุด เนื่องจาก เรากำหนดสมมุติฐานอย่าง CONSERVATIVE ให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ เปลี่ยนแปลง
ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานเช้านี้ ไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามากระตุ้น ขณะที่มูลค่าการ ซื้อขายเบาบาง น่าจะทำให้SET INDEX ผันผวนอยู่ในกรอบการ 1382 – 1396 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BJC, PTTและTASCO
แนวโน้มดอกเบี้ยโลกจะไปทิศทางไหน ?
การประชุม FED ในวันที่ 21 มี.ค. (ช่วงตี 1 ตามเวลาประเทศไทย) FED WATCH TOOL คาดว่าจะเห็น FED ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.5% ต่อเนื่อง ด้วยความน่าจะเป็น เกือบ 100% สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ ระยะถัดไป FED มีโอกาสคงดอกเบี้ยสูง นานขึ้น โดยอาจเลื่อนการลดดอกเบี้ยครั้งแรกออกไปเป็นเดือน ก.ค. 67 (เดิมคาด มิ.ย. 67) หลังปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังดูแข็งแกร่ง พร้อมกับ BOND YIELD 10 ปี ขึ้นมาอยู่ที่ 4.32% (+30 BPS. MTD)
ขณะที่ BLOOMBERG CONSENSUS ประเมิน GDP GROWTH สหรัฐฯ ในปี 2567 จะยังขยายตัวได้ทุกไตรมาส ทำให้ไม่เข้าสู่ภาวะ TECHNICAL RECESSION ในด้าน เงินเฟ้อคาดตลอดทั้งปีนี้ +3.2%YOY ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ 2% ส่วนหนึ่งเป็น เพราะแรงผลักจากราคาสินค้า COMMODITY ที่ปรับตัวสูงขึ้น YOY บวกกับความ คาดหวังเศรษฐกิจจีนที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว
ส่วนในวันนี้ 19 มี.ค. ช่วงเวลาประมาณ 10.00 น.จะมีการประชุม BOJ ตลาดคาดขึ้น ดอกเบี้ย จากปัจจุบัน -0.1% เป็น 0% ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีที่ญี่ปุ่นยุติ นโยบายดอกเบี้ยติดลบ รวมทั้งผ่อนคลาย YIELD CURVE CONTROL โดยมีแรง หนุนหลักคือ การเจรจาขึ้น ค่าจ้างประจำปี 5.28% (ปรับขึ้นมากสุดรอบ 30 ปี) ประสบ ความสำเร็จเมื่อศุกร์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากมติการประชุม BOJ เช้านี้เป็นไปตาม คาดการณ์ เชื่อว่าจะช่วยหนุนให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่า และเงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง ตามลำดับ
สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มแข็งแกร่ง เป็นเหตุให้ FED มีโอกาสคง ดอกเบี้ยสูงนานขึ้น โดยอาจเลื่อนการลดดอกเบี้ยครั้งแรกออกไปเป็นเดือน 7 (เดิม คาดเดือน 6) ขณะที่เช้านี้รอลุ้น BOJ ปิดฉากนโยบายดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งหากมติการ ประชุม BOJ ป็นไปตามคาดการณ์ เชื่อว่าจะช่วยหนุนให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่า และเงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้างตามลำดับ
BOND YIELD ไทยลงตามสหรัฐฯ กดดันเม็ดเงินไหลออกในช่วง ที่ผ่านมา และอาจทำให้ กนง.คงดอกเบี้ยนานขึ้น
จากเนื้อหาหัวข้อก่อนหน้านี้ ที่บอกว่า BOND YIELD สหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรงในช่วงที่ ผ่านมา ประเด็นดังกล่าว กดดัน BOND YIELD ไทยให้ปรับขึ้นแรงเช่นกัน โดยล่าสุด BOND YIELD 10Y ของไทย กลับมาดีดตัวเหนือ POLICY RATE อีกครั้ง อยู่ที่ระดับ 2.54% ซึ่งประเด็นดังกล่าว กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าแรง จนล่าสุดอยู่ระดับเกือบ 36 บาท/เหรียญฯ
ซึ่งเหตุผลหลักที่กดดันให้ BOND YIELD ไทยปรับตัวขึ้นแรง คือ เม็ดเงินที่ไหลออกใน ช่วงเวลาดังกล่าว โดยตั้งแต่ต้นเดือนต่างชาติขายสุทธิตราสารหนี้ไทยกว่า 1.5 หมื่น ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายหนักๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยขายสุทธิวันละ 3-6 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตลาดหุ้นไทยในมุมของ VALUATION ภายใต้สมมุติฐาน MARKET EARNING YIELD GAP 3.3% และ กนง. ยังคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% โดยใช้EPS67F อยู่ที่ 91.4 บาท/หุ้น จะได้กรอบ SET INDEX เป้าหมายปลายปีที่ระดับ 1573 จุด ซึ่งยังมี UPSIDE สูงกว่า 13% จากระดับปัจจุบัน ดังนั้นหาก กนง.ยังคง อัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบ เม.ย.67 ไว้ที่ระดับ 2.50% จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ตลาดฯในเชิง VALUATION แต่อาจจะกระทบในเชิง SENTIMENT ช่วงสั้นเท่านั้น
สรุป BOND YIELD ไทยลงตามสหรัฐฯ กดดันเม็ดเงินไหลออกในช่วงที่ผ่านมา และอาจ ทำให้ กนง.คงดอกเบี้ยนานขึ้น ประเด็นดังกล่าว กดดันให้ SET INDEX ผันผวนช่วงสั้น อย่างไรก็ตามในเชิง VALUATION ไม่กระทบ เนื่องจากฝ่ายวิจัยฯใช้สมมุติฐานอิง ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% อยู่แล้ว ซึ่งมี UPSIDE จากระดับดัชนีปัจจุบันราว 13%
ส่วนหุ้นเด่นวันนี้ แนะนำหุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อย่าง หุ้นต้อนรับสงกรานต์ BJC, หุ้น อิงภาคการลงทุนที่อัดแน่นกว่าปกติ TASCO, หุ้นได้ประโยชน์ราคาน้ำมันขึ้นต่อ PTT (BK:PTT) เป็น 3 TOP PICK ในวันนี้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities