📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ราคาทองคำปรับฐานต่อเนื่อง ตามการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์

เผยแพร่ 18/03/2567 08:10
Economic Highlight
ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ ผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด, BOE และ BOJ นอกจากนี้ ตลาดจะรอจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ดัชนี PMI จากประเทศเศรษฐกิจหลัก และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน 
 
FX Highlight
⦁ เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 35.80 บาทต่อดอลลาร์ที่เราประเมินไว้ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดสะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้ออาจชะลอตัวลงช้า
⦁ ผู้เล่นในตลาดเชื่อว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 3 ครั้ง ในปีนี้ สอดคล้องกับคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Dot Plot) ในการประชุมเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทำให้การปรับเปลี่ยน Dot Plot ใหม่ของเฟดในการประชุม FOMC เดือนมีนาคมนี้ จะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินได้พอสมควร
⦁ เราคาดว่า หากเฟดไม่ได้ปรับเปลี่ยน Dot Plot ใหม่ให้ต่างจากเดิม หรือ สะท้อนว่า เฟดจะยิ่งไม่รีบลดดอกเบี้ย/ลดดอกเบี้ยน้อยลงจากคาดการณ์ก่อนหน้า เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ก็อาจทรงตัวหรือย่อตัวลงบ้าง 
⦁ ในทางกลับกัน หาก Dot Plot ใหม่สะท้อนว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่า 3 ครั้งในปีนี้ หรือ ปีหน้าเฟดอาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่า 4 ครั้ง ก็จะยิ่งหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น พร้อมกับการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ซึ่งจะกดดันทั้งราคาทองคำและเงินบาท
⦁ นอกเหนือจากการประชุมเฟด เรามองว่า ควรระวังความผันผวนของตลาดค่าเงินจากสกุลเงินหลักทั้ง เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ซึ่งจะขึ้นกับผลการประชุม BOE และ BOJ
⦁ โดยในส่วนของ BOE นั้น เราคาดว่า BOE อาจยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามเดิม ทว่า หากมีการส่งสัญญาณพร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจลงมากขึ้น ก็อาจกดดันให้เงินปอนด์ผันผวนอ่อนค่าลงได้
⦁ ส่วนผลการประชุม BOJ นั้น ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า BOJ จะเริ่มส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น หลังผลการเจรจาต่อรองค่าจ้างสะท้อนแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างที่สูงกว่าในอดีตพอสมควร ทำให้ BOJ อาจบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ได้อย่างยั่งยืน ทำให้หาก BOJ ไม่มีการส่งสัญญาณดังกล่าวตามที่คาดหวัง เงินเยนญี่ปุ่นอาจผันผวนอ่อนค่าได้พอสมควร 
⦁ การอ่อนค่าลงของทั้งเงินปอนด์และเงินเยนอาจช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ และยิ่งกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าได้ไม่ยาก
⦁ นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำและเงินหยวนจีน (CNY) ที่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินบาทในช่วงนี้พอสมควร
⦁ สำหรับ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจเดินหน้าขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติมได้ โดยเฉพาะหากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ส่วนเงินบาทก็อ่อนค่าทะลุแนวต้าน 36 บาทต่อดอลลาร์
⦁ ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทยังคงมีอยู่ ทำให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าทดสอบแนวต้าน 36 บาทต่อดอลลาร์ และแนวต้านถัดไป 36.20 บาทต่อดอลลาร์ได้ 
⦁ ส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ต่างชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่ายังมีอยู่ แต่อาจชะลอลงบ้าง (เริ่มเห็นสัญญาณ RSI Bearish Divergence) ทำให้เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways หรือผันผวนอ่อนค่าได้บ้าง ทว่า หากเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น ก็อาจติดโซนแนวรับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไป 35.50 บาทต่อดอลลาร์) จนกว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าใหม่ๆ
 
 
Gold Highlight
⦁ ราคาทองคำปรับฐานต่อเนื่อง ตามการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังผู้เล่นในตลาดกลับมากังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดอีกครั้ง จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาสูงกว่าคาด
⦁ การปรับตัวลดลงของราคาทองคำนั้นสอดคล้องกับมุมมองของเราที่ประเมินว่า ราคาทองคำเริ่มขาดปัจจัยหนุน ขณะเดียวกัน การปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายเฟด ก็อาจกดดันราคาทองคำได้พอสมควร
⦁ ดังนั้น ควรรอลุ้น Dot Plot ใหม่ของเฟด รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางหลักอื่นๆ ที่อาจกระทบต่อทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์
⦁ ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า ราคาทองคำยังคงเสี่ยงปรับฐานต่อ หรืออย่างน้อยก็แกว่งตัว sideways ส่วนสัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 ยังคงสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ราคาทองคำจะปรับตัวลดลงต่อ ทว่า การปรับตัวลงอาจเริ่มชะลอ หลังราคาทองคำได้ย่อลงใกล้แนวรับระยะสั้นแถว 2,150-2,160 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (แนวรับถัดไป 2,120 ดอลลาร์ต่อออนซ์) และมีโซนแนวต้านแถว 2,180 ดอลลาร์ต่อออนซ์ 
 
 
 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย