ประเด็นขับเคลื่อนวันนี้ ไม่ชัด ปัจจัยพื้นฐาน ที่จะมีน้ำหนักในการขับเคลื่อน SET INDEX วันนี้ ถือว่าไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นการรอติดตาม ทั้งการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ อังกฤษ ญี่ปุ่น ส่วนประเด็นที่น่าสนใจเป็นเรื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ถูกมองว่าน่าจะได้ ประโยชน์จากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน เด่นชัดที่สุดได้แก่ราคา ยางพารา ซึ่งล่าสุด ราคายาง RSS3 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 90 บาท/ก.ก. (ตลาดกลาง นครศรีธรรมราช) ทั้งนี้เป็นผลมาจาก DEMAND ในจีนที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่ STOCK ยางอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ ซึ่งน่าจะทำให้เห็นแรงเก็งกำไรในหุ้นที่ เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น NER หรือ STA ส่วนตัวเลขกำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 4Q66 ที่ออกมาต่ำเพียง 1.76 แสนล้านบาท นำไปสู่การปรับลดประมาณการ EPS ในปี 2567 ล่าสุดลงมาอยู่ที่ 91.4 บาทต่อหุ้น ขณะที่ฐานปี 2566 อยู่ที่ 78.1 บาท/หุ้น กดดันเป้าหมาย SET INDEX ลงมาที่บริเวณ 1570 –1580 จุด
ประเมินว่า SET INDEX น่าจะอยู่ในช่วงของการผันผวนในกรอบแคบๆ วันนี้ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวช่วง 1377 – 1392 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BJC, IVLและ JMART
หาหุ้นรับกระแสราคา COMONITY ดีดตัว
วานนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI พุ่งทะลุ 79 เหรียญฯ/บาร์เรล ทำให้ราคานับตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. บวกขึ้นมาแล้วราว 1.7%MTD หลักๆ เป็นผลพวงมาจาก DEMAND มีแนวโน้ม ดีขึ้น โดยล่าสุด EIA ได้เผยสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ 1.5 ล้าน บาร์เรล ซึ่งลดลงมากกว่าตลาดคาดที่ 9 แสนบาร์เรล ขณะที่เศรษฐกิจจีนเริ่มส่ง สัญญาณค่อยๆ ฟื้นตัว นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากความเสี่ยงเชิงภูมิ รัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ จนกดดันให้ SUPPLY ชะลอตัวลง ประเด็นดังกล่าวคาดเป็นบวก ต่อหุ้น PTT (BK:PTT), PTTEP, PTTGC, TOP, SPRC, IRPC ฯลฯ
อีกแง่มุมหนึ่งในด้านราคายางพาราโลกมีทิศทางขยับตัวขึ้นแรงราว 25.4%MTD และ 50%YTD ขณะที่บ้านเราวานนี้ ราคายางพาราที่ซื้อขายผ่านสำนักงานตลาดกลาง ยางพารา ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) วิ่งทะลุ 90 บาทไปแล้ว ซึ่งเป็นราคาสูง ที่สุดในรอบ 85 เดือน หรือราว 7 ปี 1 เดือน นอกจากนี้ รัฐบาลยังคาดว่าราคา ยางพาราจะคงอยู่ในทิศทางแนวโน้มขาขึ้นต่อไป พร้อมกับมีแนวนโยบายส่งเสริมให้ ประเทศไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ถือเป็นบวกต่อหุ้น STA, STGT, TRUBB, NER
สรุป ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นบวกต่อหุ้นที่เกี่ยวข้อง ไม่ ว่าจะเป็น หุ้นอิงราคาน้ำมัน อาทิ PTT, PTTEP, PTTGC, TOP, SPRC, IRPC รวมถึง หุ้นอิงราคายาง อาทิ STA, STGT, TRUBB, NER
กำไร4Q66 ต่ำกว่าคาด ปรับลดคาดการณ์กำไรปี 2567 ในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนทยอยรายงานกำไรงวด 4Q66 รวมเป็นกำไร อยู่ที่ 1.76 แสนล้านบาท (ลดลง -40.6%QOQ, +5.0%YOY) ซึ่งหากพิจารณาข้อมูล จาก BLOOMBERG CONSENSUS จะเห็นได้ว่ากำไร 4Q66 ที่ออกมานั้นต่ำกว่าที่ คาดถึง 30%
ึ่งเหตุผลหลักที่กำไร 4Q66 ดูน้อยลงอย่างมีนัยฯ เนื่องด้วยมีหลายบริษัทที่มีผล ประกอบการที่น่าผิดหวัง ทั้ง TU ขาดทุน 1.7 หมื่นล้านบาท, EGCO ขาดทุน 1.4 หมื่น ล้านบาท, IVL ขาดทุน 1.2 หมื่นล้านบาท, SPRC ขาดทุน 4.5 พันล้านบาท เป็นต้น ดังนั้น จึงทำให้ EPS66 ล่าสุดอยู่ที่ 78.1 บาท/หุ้น(ลดลง 4.2%YOY) ขณะที่ประมาณ การ EPS67F ล่าสุดอยู่ที่ 91.4 บาท/หุ้น (เติบโต 17.1%YOY)
ขณะที่หากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่ากลุ่มหุ้นที่มีกำไรเติบโตโดดเด่น กว่า SET คือ PETRO, MEDIA, FOOD, CONS, AGRI, TRANS, TOURISM, PERSON, AUTO, COMM คาดจะเป็นตัวพยุง SET INDEX ให้ขยับขึ้น และราคาดัชนี สามารถ OUTPERFORM SET ได้นับจากน
และในมุมของ VALUATION ภายใต้สมมุติฐาน MARKET EARNING YIELD GAP 3.3% และ กนง. ยังคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% และ EPS67F ล่าสุดอยู่ที่ 91.4 บาท/ หุ้น จะได้กรอบ SET INDEX เป้าหมายปลายปีที่ระดับ 1573 จุด ซึ่งยังมี UPSIDE สูง กว่า 10% จากระดับปัจจุบัน
สรุป กำไรบริษัทจดทะเบียน 4Q66 ที่ออกมาต่ำคาด ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมา SET INDEX ผันผวนกว่าปกติในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามประมาณการกำไรปี 2567 คาดมีโอกาสฟื้นตัวแรง 17%YOY หนุนให้ SET INDEX น่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวต่อได้ โดย ฝ่ายวิจัยฯ ชื่นชอบหุ้นกลุ่มที่กำไรเติบโตเด่นกว่าตลาดฯ อาทิ PTTGC IVL MAJOR PLANB TU MTC CK AOT (BK:AOT) BEM CENTEL ERW BJC เป็นต้น
ยังคาดหวังกระแสเงินทยอยไหลเข้าหุ้นไทยเพิ่มเติม
แม้วานนี้จะมีความกังวลเรื่องการผิดนัดชำระตราสารหนี้ของบริษัทจดทะเบียนเข้ามา รบกวนบ้าง แต่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.6 พันล้านบาท และในช่วงสัปดาห์ กว่าๆ ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าต่างชาติสลับเข้ามาซื้อมากขึ้น และเข้ามาซื้อวันไหนวันนั้นหุ้น ก็มักปรับตัวขึ้นได้ดี
ส่วนระยะถัดไปคาดว่ากระแสเงินน่าจะมีทิศทางไหลเข้ามาสมทบตลาดหุ้นไทยเพิ่มเติม จากความกังวลการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายในญี่ปุ่นน้อยลง หลังตัวเลข เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นเด่นชัดมากขึ้น หวัง FUND FLOW กระเซ็นจากตลาดญี่ปุ้นเข้า ตลาดหุ้นเอเชียอื่นๆ รวมถึงไทยเพิ่มเติม เพราะตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่กินสัดส่วน ตลาดหุ้นทั้งหมดในเอเชียเกือบ 40% และหากดูข้อมูลจาก RRG ประกอบ พบว่า MOMENTUM ของ FUND FLOW เริ่มเอนเอียงจากตลาดหุ้นญี่ปุ่น มาที่ ตลาดหุ้น จีน, เวียดนาม และไทย เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังเห็นกระแสการเก็งกำไรตามนักลงทุนชื่อดัง หลังบริษัทจดทะเบียนทยอย ปิดสมุด พร้อมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับเปลี่ยนกฏเปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นใหญ่ จาก 10 อันดับแรก เป็นมากกว่า 0.5% ของสัดส่วนการถือครอง อาทิ หุ้น IVL, MALEE, TKN, BAFS, JMART เป็นต้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities