ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐย่อตัวลง -0.4% ถึง -0.8% หลังตัวเลข PPI เดือน ม.ค ออกมา +0.9%YoY สูงกว่าตลาดคาด 0.6%YoY ซึ่งเป็นตัวเลขที่ Fed ใช้ประกอบในการตัดสินใจปรับลดหรือคงดอกเบี้ย ส่งผลให้ Fed Watch Tool คาด Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยช่วงเดือน มิ.ย. ลดลงจาก 100% เหลือเพียง 53% รวมถึงยังมีประเด็นดัชนี FTSE ปรับลดน้ำหนักหุ้นใหญ่ไทยลง คือ CPF, HMPRO, SCGP, IVL ลงจาก Large Cap เหลือ Mid Cap มีผลในราคาปี 15 มี.ค. นี้ ทั้ง 2 ปัจจัยล้วนกดดันให้ Fund Flow ยังมีโอกาสชะลอการไหลเข้า SET Index ในช่วงนี้
จุดเปลี่ยนสำคัญของทิศทาง Fund Flow และตลาดหุ้นอีกอย่าง คือ การรายงาน ตัวเลข GDP2023 ในเช้านี้ โดยฝั่งรัฐบาลคาดว่า อยู่ที่ 1.8% ณ วันที่ 23 ม.ค. 67 ซึ่งวันนั้น SET ทำจุดต่ำสุดของปีที่ 1352 จุดพอดีขณะที่ Bloomberg คาด GDP20232.1% ซึ่งในอดีตเวลาที่ GDP ออกมาดีกว่าคาด SET Index มีโอกาส ฟื้นในระยะถัดไปเสมอ แต่ถ้าต่ำคาดก็มีโอกาสย่อตัวลง โดยฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน ถ้า GDP2023 ไม่ต่ำกว่า 1.8% SET Index ก็มีโอกาสยืนเหนือ 1352 จุดได้
กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ แนะนำหลบความผันผวนของตลาดในช่วงสั้นกับหุ้นผัน ผวนต่ำ ที่มีงบกำไร 4Q66 ดี อย่าง ADVANC, CPALL (BK:CPALL), MAJOR
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET แกว่งผันผวน จากการรอความชัดเจนของ ตัวเลขเศรษฐกิจทั้งไทย และ สหรัฐฯ
SET index วันศุกร์ที่ผ่านมา แกว่งผันผวนอย่างมาก โดยตลาดเปิดกระโดดถึง 7.7 จุดสู่ระดับ 1394.99 จุด ณ ราคาเปิด หลังจากนั้นดัชนีทยอยปรับตัวลงเรื่อยๆ กว่า - 8.7 จุด ทำให้สุดท้ายดัชนีปิดลบ 1 จุด ที่ระดับ 1386.27 จุด ซึ่งสาเหตุหลักๆ ตัวเลข เศรษฐกิจที่จะทยอยออกมาหลังตลาดปิด อาทิ ดัชนี PPI สหรัฐฯ ม.ค.67 ที่เป็น ตัวกำหนดทิศทางดอกเบี้ย Fed เช่นกัน ซึ่งจะประกาศ 20.30 น. ณ วันศุกร์ที่ผ่านมา และ ตัวเลข GDP ไทยไตรมาส 4 และทั้งปี 2566ว่าจะออกมาเช่นไร และเศรษฐกิจไทยจะ เกิดภาวะ Technical Recession หรือไม่ ซึ่งจะประกาศ 9.30 น. ในวันนี้ คาดจะเป็น ตัวกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน และการคลังให้มีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น
สรุป ความผันผวนของ SET Index ในวันศุกร์ที่ผ่านมา จากการรอความชัดเจนของ ตัวเลขเศรษฐกิจทั้งไทย และ สหรัฐฯ ซึ่งเช้านี้จะรู้ผลลัพธ์ดังกล่าว และเป็นตัวกำหนด ทิศทางของดัชนีในวันนี้ โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ในกรอบ 1380 -1395 จุด
รอลุ้น GDP Growth ไทยเช้านี้
เช้านี้เวลา 9.30 น. รอติดตามรายงานตัวเลข GDP Growth ของไทยในปี 2566 และ 4Q66 โดย Consensus คาดการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีก่อนหน้า +2.1%YoY ส่วนไตรมาส 4 ประเมินว่าจะอยู่ที่ +2.5%YoY และ -0.2%QoQ ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2566 โต +1.8% โดย 4Q66 จะอยู่ที่ +1.4%YoY หรือหาเทียบรายไตรมาสน่าจะอยู่ที่ระดับ - 1.3%QoQ ทั้งนี้ในกรณีที่เศรษฐกิจบ้านเรามีการหดตัว QoQ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงใน การเข้าสู่ภาวะ Technical Recssion (GDP ติดลบต่อกัน 2 ไตรมาส) สะท้อนความ จำเป็นในการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเรา
จากสถิติในอดีตนับตั้งแต่ปี 2559-66 การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยหลังวันที่ ประกาศตัวเลข GDP Gowth ของไทย มักจะตอบสนองเชิงบวกในกรณีตัวเลขฯ ออกมาสูงกว่าคาด (+ ต่อ SET) ทั้ง QoQ และ YoY ซึ่งหากภาพรวมเศรษฐกิจไทยทั้ง ปี 2566 เติบโตไม่ต่ำกว่า 1.8% (คาดการณ์ของ สศค.) เชื่อว่าทำให้ SET Index ฟื้น ตัวจาก Bottom และไม่น่าทำ Low ใหม่ในรอบปีที่ 1,352.48 จุด โดยเป็นวันที่แหล่งข่าว หลายสำนักมีการเผยแพร่เอกสารคาดการณ์ GDP อย่างไม่เป็นทางการ (23 ม.ค. 67) แต่ในทางกลับกันหากตัวเลขฯ ออกมาต่ำกว่าคาด (- ต่อ SET) อาจกดดันให้ SET Index ผันผวนได้
สรุป เช้านี้เวลา 9.30 น. รอติดตามรายงานตัวเลข GDP Growth ของไทยในปี 2566 และ 4Q66 ทั้งนี้หากเศรษฐกิจบ้านเรามีการหดตัว QoQ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการ เข้าสู่ภาวะ Technical Recssion (GDP ติดลบต่อกัน 2 ไตรมาส) สะท้อนความจำเป็น ในการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเรา และในกรณีตัวเลข GDP ออกมาสูงกว่าตลาด คาด น่าจะเป็นบวกต่อ SET Index
Fund Flow ต่างชาติยังอยู่ในภาวะชะลอตัวในเดือนนี้
เดือน ก.พ.67 ที่ผ่านมาFlow ต่างชาติมีการโยกย้ายเม็ดเงินที่ผันผวนอย่างมาก เฉก เช่นเดียวกับ SET Index ที่เคลื่อนไหวผันผวนเช่นกัน โดย Fund Flow ต่างชาติไหล ออกจากหุ้นไทยหลังมีการรายงานตัวเลข CPI สหรัฐที่สูงกว่าคาด รวมถึง MSCI ได้ ลดน้ำหนักหุ้นไทยขนาดใหญ่ลง ทำให้จากที่เคยซื้อสุทธิ 7.9 พันล้านบาทในเดือนนี้ ปัจจุบันพลิกกลับมาขายสุทธิ -193 ล้านบาท
ซึ่งหากพิจารณาปัจจัยหลักที่ทำให้ SET index แกว่งผันผวนอยู่ หลังตัวเลข PPI สหรัฐเดือน ม.ค ออกมา +0.9%YoY สูงกว่าตลาดคาด 0.6%YoY ซึ่งเป็นตัวเลขที่ Fed ใช้ประกอบในการตัดสินใจปรับลดหรือคงดอกเบี้ย ส่งผลให้ Fed Watch Tool คาด Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยช่วงเดือน มิ.ย. ลดลงจาก 100% เหลือเพียง 53%
รวมถึงยังมีประเด็นดัชนี FTSE Russell ประกาศปรับลดน้ำหนักหุ้นใหญ่ของไทยลง จากกลุ่ม Large Cap ลงมาสู่ Mid cap โดยมีรายชื่อหุ้นดังนี้ CPF HMPRO IVL และ SCGP ขณะที่หุ้นไทยกลุ่ม SMALL CAP ก็ถูกปรับลงมาสู่ MICRO CAP เช่นกัน คือ KEX RABBIT RAM SAMART WORK ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ณ ราคาปิด 15 มี.ค. 67 โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าประเด็นดังกล่าว ส่งผลกระทบ Fund Flow ต่างชาติชะลอไหล ออกก่อนถึงวันมีผลบังคับใช้แต่คาดไม่รุนแรงเท่า MSCI ปรับพอร์ต เพราะดัชนี FTSE มีความนิยมน้อยกว่า MSCI และมีระยะเวลาปรับพอร์ตนานกว่า ถึง 1 เดือน (MSCI 2 สัปดาห์)
สรุป Fund flow ต่างชาติสลับซื้อสลับขายสุทธิหุ้นไทยตั้งแต่ต้นเดือนนี้ ซึ่งระยะถัดไป คาดมีโอกาสอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อไป จากการที่หุ้นไทยถูกปรับลดน้ำหนักในดัชนี FTSE Russell ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ณ ราคาปิด 15 มี.ค. 67
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities