ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเห็นการหดตัว QoQ ในงวด 4Q66 น่าจะถูกสะท้อนมายังผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน โดยหากติดตามตัวเลข กำไรสุทธิที่ทยอยประกาศออกมาแล้วจนถึงปัจจุบันประมาณ 40% Market Cap พบว่าราว 70% มีตัวเลขกำไรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งถือเป็นสัญาณเชิงลบ และ น่าจะนำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไรในปี 2567 ในระยะถัดไป และเป็นที่น่า สังเกตุก็คือ เมื่อบริษัทประกาศกำไรออกมาต่ำกว่าคาด มักจะต้องเผชิญแรงขาย ที่รุนแรง ในช่วงจากนี้ไปจะเข้าสู่การประกาศผลประกอบการที่หนาแน่น ภายใต้ บรรยากาศดังกล่าวอาจเป็นตัวที่สร้างแรงกดดันต่อ SET Index ได้ ส่วนประเด็น เรื่องเงินเฟ้อ และ ทิศทางดอกเบี้ย ก็จะกลับมามีน้ำหนักอีกครั้ง หลังจากที่เงินเฟ้อ สหรัฐฯ เดือน ม.ค.67 ออกมาสูงกว่าที่คาด และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องตามใกล้ชิด
SET Index ยังอยู่ภาวใต้แรงกดดันจากตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด และการคง ดอกเบี้ยระดับสูง รวมกำไรงวด 4Q66 วันนี้คาออยู่ในกรอบ 1377 –1390 จุดหุ้น Top Pick เลือก BDMS, CPALLและ MAJOR
Trend ราคาน้ำมันขยับขึ้น ยิ่งเพิ่มแรงกระตุ้นเงินเฟ้อ
ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีราว 6.8% ล่าสุดขยับขึ้นมายืน เหนือ 76 เหรียญฯ/บาเรล ขณะที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับ ของปีก่อนหน้า (YoY) มีแนวโน้มหดตัวน้อยลง ซึ่งกำลังเป็นแรงผลักที่กระตุ้นให้เงิน เฟ้อชะลอตัวได้ช้าลง
นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยในเดือน ม.ค.-ก.พ.67 (กราฟเส้นสีน้ำเงิน) แม้จะ อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 ปีก่อนหน้า (กราฟเส้นสีเทา-ส้ม) อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมัน เฉลี่ยทั้งเดือน ก.พ. สูงกว่า 76.9 เหรียญฯ/บาเรล และในเดือน มี.ค. อาจมีความเสี่ยง มากขึ้นที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยจะสูงกว่า 73.4 เหรียญฯ/บาเรล จึงมีโอกาสที่จะส่งผ่านไป ยังเงินเฟ้อในหมวด Energy ให้ขยับขึ้นได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐาสตร์ที่ยืดเยื้อและทวีความรุนแรง ยังคงปัจจัยที่ต้องติดตาม อย่างใกล้ชิด เพราะมักเข้ามากดดันฝั่ง Supply และผลักให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ได้ โดยสถานการณ์ล่าสุดยังคงเห็นความตึงเครียดบนคาบสุมทร์เกาหลีอย่าง ต่อเนื่อง หลังเกาหลีเหนืยิงขีปนาวุธหลายลูกตกนอกชายฝั่งตะวันออก ซึ่งนับเป็นการ ยิงครั้งที่ 5 นับแต่แต่ต้นปี 2567 ส่วนในฝั่งตะวันออกกลาง มีเหตุระเบิดรุนแรงที่ท่อส่ง ก๊าซในอิหร่าน คาดเป็นการก่อวินาศกรรม อีกทั้งกลุ่มฮูตีได้ประกาศชนะคุมทะเลแดง หลังไม่มีเรือขนส่งสินค้าแล่นผ่านบริเวณดังกล่าวนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
สรุป ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น YoY น่าจะส่งผ่านไปยังเงินเฟ้อในหมวด Energy ให้ ขยับขึ้นในระยะข้างหน้าได้ โดยมีปัจจัยกระตุ้นหลักจากความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่ ยืดเยื้อ ซึ่งอาจกระทบไปถึงการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้ช้าลง
GDP และ earning งวด 4Q66 ที่ไม่สดใส จะเป็นแรงกดดันต่อ set index ระยะถัดไป
BLOOMBERG CONSENSUS คาดการณ์ GDP GROWTH ไทยปี 2566 อย่างไม่ เป็นทางการ โตเพียง 2.1%YOY ซึ่ง GDP GROWTH(YOY) ไทยไตรมาส 1-3 อยู่ ระดับ 2.6% 1.8% และ 1.5% ตามลำดับ ทำให้ GDP ใน 4Q66 คาดขยายตัว 2.5%YOY พร้อมกับเป็นไตรมาสอาจติดลบราว -0.1%QOQ กดดันให้เศรษฐกิจ บ้านเราเสี่ยงต่อภาวะ TECHNICAL RECESSION (ถ้าติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน) เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อไทยที่ติดลบ 3 เดือนติดต่อกัน (ต.ค.-ธ.ค. 66) พร้อมกับ นักท่องเที่ยวที่ยังกลับเข้ามาได้ไม่เต็มที่ บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมีนัย ฯ
ขณะที่ฝั่งกำไรบริษัทจดทะเบียน ข้อมูลล่าสุดจาก Bloomberg Consensus มี ประกาศงบงวด 4Q66 ออกมาแล้ว 90 บริษัท มีกำไรรวม 9.7 หมื่นล้านบาท(40% Market Cap) ต่ำกว่าประมาณการราว 43% ซึ่งยิ่ง Earning Surprise ในทางลบมาก เท่าไหร่ ยิ่งสร้างแรงกดดันต่อ set index มากเท่านั้น ยกตัวอย่าง kce ที่กำไรออกมา ต่ำคาดถึง 14% กดดันราคาหุ้นวานนี้ ปรับลดลง 10% ซึ่งการที่ Earning งวด 4Q66 Surprise ในทางลบ ส่งผลต่อประมาณการ EPS67F ให้ลดลงตามด้วย โดยล่าสุด EPS67F อยู่ที่ 97.80 บาท/หุ้น
ดังนั้น ช่วงครึ่งหลังของเดือน ก.พ.67 ถือเป็นจุดสำคัญที่ชี้วัด SET index เนื่องจากมี จำนวนบริษัทจดทะเบียนที่จะประกาศงบมากที่สุด ซึ่งหากกำไรออกมาต่ำคาด เฉกเช่น ในปัจจุบัน จะถือเป็นแรงกดดันต่อ SET Index อีกระลอกหนึ่ง
สรุป การที่ GDP และ Earning ในงวด 4Q66 มี Negative surprise ทำให้ประมาณ การในปี 2567 มี Downside ไปด้วย ซึ่งต้องติดตามการประกาศงบในช่วงครึ่งหลัง ของ ก.พ.67 ที่มีบริษัทจดทะเบียนจำนวนมากจะประกาศ ดังนั้น คาดจะเป็นตัวชึ้นำ SET Index ในระยะถัดไป โดยวันนี้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ STE Index ในกรอบ 1377 -1390 จุด
ผลต่าง Bond Yield ไทยสหรัฐกว้างขึ้น กดดันบาทอ่อน Fund Flow อาจชะลอได้
ในปีนี้ ส่วนต่างระหว่าง Bond Yield 10 ปี ไทยกับสหรัฐฉีกห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ และ ห่างออกจากกันเร็วมากที่สุดในเอเชีย จากเคยต่างกันแคบสุดที่ 122 bps. ตอนนี้เป็น 171 bps. แสดงว่าทิ้งห่างกันเพิ่มขึ้นมา 49 bps. รองลงมา คือ จีน, อินเดีย, อินโดฯ แสดงว่า นักลงทุนมองสหรัฐยังไม่จำเป็นในการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายในเร็วๆ นี้ แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินในไทยมีความจำเป็นมากขึ้น หลังตัวเลข เศรษฐกิจยังชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแอ ขณะที่ความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน นโยบายการเงินในมุมมองของนักลงทุน รองลงมา คือ ประเทศจีน เป็นต้น
ความเห็นของนักลงทุนในความจำเป็นของการดำเนินนโยบายทางการเงินไทยกับ สหรัฐที่ฉีกออกจากกัน จะส่งผลให้ค่าเงินบาท ยังมีโอกาสอยู่ในโซนอ่อนค่าระยะหนึ่ง ได้ สะท้อนได้จากวานนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่า 1.15% เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดใน ภูมิภาค
ทั้งส่วนต่าง Bond Yield สหรัฐที่ฉีกออกจากไทยเร็วสุดในภูมิภาค จะกดดันให้ค่าเงิน บาทอ่อนค่าแล้ว ยังกดดันให้ Fund Flow ชะลอการไหลเข้าหุ้นไทยหนักสุดภูมิภาค ด้วย ทั้งในเดือน ม.ค.67และ ก.พ.67 (mtd) ส่งผลให้ Fund Flow ชะลอการไหลเข้าหุ้นไทยมากสุดในภูมิภาค
กลยุทธ์ยังคงแนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า เข้าทาเสริมเพื่อ ลดความผันผวน อาทิ หุ้นส่งออก HANA SVI DELTA KCE TU ITC AAI CPF GFPT STA NER STGT VNG SCC, หุ้นอิงการท่องเที่ยว AOT (BK:AOT) AAV BA MINT CENTEL ERW และหุ้นโรงพยาบาลมักผันผวนต่ำกว่าตลาด BH, BDMS, PR9, BCH ดัง
เป็นห่วงกำไร4Q66ของ บริษัทจดทะเบียน
ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเห็นการหดตัว QoQ ในงวด 4Q66 น่าจะถูกสะท้อนมายังผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน โดยหากติดตามตัวเลข กำไรสุทธิที่ทยอยประกาศออกมาแล้วจนถึงปัจจุบันประมาณ 40% Market Cap พบว่าราว 70% มีตัวเลขกำไรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งถือเป็นสัญาณเชิงลบ และ น่าจะนำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไรในปี 2567 ในระยะถัดไป และเป็นที่น่า สังเกตุก็คือ เมื่อบริษัทประกาศกำไรออกมาต่ำกว่าคาด มักจะต้องเผชิญแรงขาย ที่รุนแรง ในช่วงจากนี้ไปจะเข้าสู่การประกาศผลประกอบการที่หนาแน่น ภายใต้ บรรยากาศดังกล่าวอาจเป็นตัวที่สร้างแรงกดดันต่อ SET Index ได้ ส่วนประเด็น เรื่องเงินเฟ้อ และ ทิศทางดอกเบี้ย ก็จะกลับมามีน้ำหนักอีกครั้ง หลังจากที่เงินเฟ้อ สหรัฐฯ เดือน ม.ค.67 ออกมาสูงกว่าที่คาด และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องตามใกล้ชิด
SET Index ยังอยู่ภาวใต้แรงกดดันจากตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด และการคง ดอกเบี้ยระดับสูง รวมกำไรงวด 4Q66 วันนี้คาออยู่ในกรอบ 1377 –1390 จุดหุ้น Top Pick เลือก BDMS, CPALLและ MAJOR
Trend ราคาน้ำมันขยับขึ้น ยิ่งเพิ่มแรงกระตุ้นเงินเฟ้อ
ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีราว 6.8% ล่าสุดขยับขึ้นมายืน เหนือ 76 เหรียญฯ/บาเรล ขณะที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับ ของปีก่อนหน้า (YoY) มีแนวโน้มหดตัวน้อยลง ซึ่งกำลังเป็นแรงผลักที่กระตุ้นให้เงิน เฟ้อชะลอตัวได้ช้าลง
นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยในเดือน ม.ค.-ก.พ.67 (กราฟเส้นสีน้ำเงิน) แม้จะ อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 ปีก่อนหน้า (กราฟเส้นสีเทา-ส้ม) อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมัน เฉลี่ยทั้งเดือน ก.พ. สูงกว่า 76.9 เหรียญฯ/บาเรล และในเดือน มี.ค. อาจมีความเสี่ยง มากขึ้นที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยจะสูงกว่า 73.4 เหรียญฯ/บาเรล จึงมีโอกาสที่จะส่งผ่านไป ยังเงินเฟ้อในหมวด Energy ให้ขยับขึ้นได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐาสตร์ที่ยืดเยื้อและทวีความรุนแรง ยังคงปัจจัยที่ต้องติดตาม อย่างใกล้ชิด เพราะมักเข้ามากดดันฝั่ง Supply และผลักให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ได้ โดยสถานการณ์ล่าสุดยังคงเห็นความตึงเครียดบนคาบสุมทร์เกาหลีอย่าง ต่อเนื่อง หลังเกาหลีเหนืยิงขีปนาวุธหลายลูกตกนอกชายฝั่งตะวันออก ซึ่งนับเป็นการ ยิงครั้งที่ 5 นับแต่แต่ต้นปี 2567 ส่วนในฝั่งตะวันออกกลาง มีเหตุระเบิดรุนแรงที่ท่อส่ง ก๊าซในอิหร่าน คาดเป็นการก่อวินาศกรรม อีกทั้งกลุ่มฮูตีได้ประกาศชนะคุมทะเลแดง หลังไม่มีเรือขนส่งสินค้าแล่นผ่านบริเวณดังกล่าวนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
สรุป ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น YoY น่าจะส่งผ่านไปยังเงินเฟ้อในหมวด Energy ให้ ขยับขึ้นในระยะข้างหน้าได้ โดยมีปัจจัยกระตุ้นหลักจากความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่ ยืดเยื้อ ซึ่งอาจกระทบไปถึงการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้ช้าลง
GDP และ earning งวด 4Q66 ที่ไม่สดใส จะเป็นแรงกดดันต่อ set index ระยะถัดไป
BLOOMBERG CONSENSUS คาดการณ์ GDP GROWTH ไทยปี 2566 อย่างไม่ เป็นทางการ โตเพียง 2.1%YOY ซึ่ง GDP GROWTH(YOY) ไทยไตรมาส 1-3 อยู่ ระดับ 2.6% 1.8% และ 1.5% ตามลำดับ ทำให้ GDP ใน 4Q66 คาดขยายตัว 2.5%YOY พร้อมกับเป็นไตรมาสอาจติดลบราว -0.1%QOQ กดดันให้เศรษฐกิจ บ้านเราเสี่ยงต่อภาวะ TECHNICAL RECESSION (ถ้าติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน) เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อไทยที่ติดลบ 3 เดือนติดต่อกัน (ต.ค.-ธ.ค. 66) พร้อมกับ นักท่องเที่ยวที่ยังกลับเข้ามาได้ไม่เต็มที่ บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมีนัย ฯ
ขณะที่ฝั่งกำไรบริษัทจดทะเบียน ข้อมูลล่าสุดจาก Bloomberg Consensus มี ประกาศงบงวด 4Q66 ออกมาแล้ว 90 บริษัท มีกำไรรวม 9.7 หมื่นล้านบาท(40% Market Cap) ต่ำกว่าประมาณการราว 43% ซึ่งยิ่ง Earning Surprise ในทางลบมาก เท่าไหร่ ยิ่งสร้างแรงกดดันต่อ set index มากเท่านั้น ยกตัวอย่าง kce ที่กำไรออกมา ต่ำคาดถึง 14% กดดันราคาหุ้นวานนี้ ปรับลดลง 10% ซึ่งการที่ Earning งวด 4Q66 Surprise ในทางลบ ส่งผลต่อประมาณการ EPS67F ให้ลดลงตามด้วย โดยล่าสุด EPS67F อยู่ที่ 97.80 บาท/หุ้น
ดังนั้น ช่วงครึ่งหลังของเดือน ก.พ.67 ถือเป็นจุดสำคัญที่ชี้วัด SET index เนื่องจากมี จำนวนบริษัทจดทะเบียนที่จะประกาศงบมากที่สุด ซึ่งหากกำไรออกมาต่ำคาด เฉกเช่น ในปัจจุบัน จะถือเป็นแรงกดดันต่อ SET Index อีกระลอกหนึ่ง
สรุป การที่ GDP และ Earning ในงวด 4Q66 มี Negative surprise ทำให้ประมาณ การในปี 2567 มี Downside ไปด้วย ซึ่งต้องติดตามการประกาศงบในช่วงครึ่งหลัง ของ ก.พ.67 ที่มีบริษัทจดทะเบียนจำนวนมากจะประกาศ ดังนั้น คาดจะเป็นตัวชึ้นำ SET Index ในระยะถัดไป โดยวันนี้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ STE Index ในกรอบ 1377 -1390 จุด
ผลต่าง Bond Yield ไทยสหรัฐกว้างขึ้น กดดันบาทอ่อน Fund Flow อาจชะลอได้
ในปีนี้ ส่วนต่างระหว่าง Bond Yield 10 ปี ไทยกับสหรัฐฉีกห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ และ ห่างออกจากกันเร็วมากที่สุดในเอเชีย จากเคยต่างกันแคบสุดที่ 122 bps. ตอนนี้เป็น 171 bps. แสดงว่าทิ้งห่างกันเพิ่มขึ้นมา 49 bps. รองลงมา คือ จีน, อินเดีย, อินโดฯ แสดงว่า นักลงทุนมองสหรัฐยังไม่จำเป็นในการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายในเร็วๆ นี้ แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินในไทยมีความจำเป็นมากขึ้น หลังตัวเลข เศรษฐกิจยังชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแอ ขณะที่ความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน นโยบายการเงินในมุมมองของนักลงทุน รองลงมา คือ ประเทศจีน เป็นต้น
ความเห็นของนักลงทุนในความจำเป็นของการดำเนินนโยบายทางการเงินไทยกับ สหรัฐที่ฉีกออกจากกัน จะส่งผลให้ค่าเงินบาท ยังมีโอกาสอยู่ในโซนอ่อนค่าระยะหนึ่ง ได้ สะท้อนได้จากวานนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่า 1.15% เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดใน ภูมิภาค
ทั้งส่วนต่าง Bond Yield สหรัฐที่ฉีกออกจากไทยเร็วสุดในภูมิภาค จะกดดันให้ค่าเงิน บาทอ่อนค่าแล้ว ยังกดดันให้ Fund Flow ชะลอการไหลเข้าหุ้นไทยหนักสุดภูมิภาค ด้วย ทั้งในเดือน ม.ค.67และ ก.พ.67 (mtd)
กลยุทธ์ยังคงแนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า เข้าทาเสริมเพื่อ ลดความผันผวน อาทิ หุ้นส่งออก HANA SVI DELTA KCE TU ITC AAI CPF GFPT STA NER STGT VNG SCC, หุ้นอิงการท่องเที่ยว AOT AAV BA MINT CENTEL ERW และหุ้นโรงพยาบาลมักผันผวนต่ำกว่าตลาด BH, BDMS, PR9, BCH
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities