Economic Highlight
ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานยอดค้าปลีกสหรัฐฯ พร้อมจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดและรายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจโดยบรรดาเฟดสาขาต่างๆ (Fed Beige Book) นอกจากนี้ ตลาดจะรอจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน และการแถลง BOT Policy Briefing โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.
FX Highlight
- ความกังวลแนวโน้มธนาคารแห่งประเทศไทยอาจลดดอกเบี้ยในปีนี้ รวมถึงการทยอยปรับลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ย “เร็วและลึก” ในปีนี้ ได้กดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- เราประเมินว่า แรงกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าอาจเริ่มชะลอลงบ้าง จนกว่าผู้เล่นในตลาดจะเลิกเชื่อว่า เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยได้เร็วและลึกในปีนี้ (เช่น เลิกคาดหวังการลดดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม)
- นอกจากนี้ ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทยังได้แรงหนุนจากการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ตามสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกมาที่ทวีความร้อนแรงขึ้น
- ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ เช่น ยอดค้าปลีก รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดและรายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจโดยบรรดาเฟดสาขาต่าง (Fed Beige Book)
- นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะบรรดาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้
- และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจและรายงายผลประกอบการจากฝั่งสหรัฐฯ เรามองว่า ควรระวังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับเงินหยวนจีน (CNY) และบรรดาสกุลเงินเอเชียได้
- ในส่วนของปัจจัยภายใน เรามองว่า แม้จะไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของไทย แต่ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา การแถลง BOT Policy Briefing ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทย
- ส่วนฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจทยอยขายสุทธิสินทรัพย์ไทยต่อได้ จนกว่าบรรยากาศในตลาดการเงินจะกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน มุมมองของผู้เล่นต่างชาติต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทย ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อฟันด์โฟลว์ได้
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทยังคงมีอยู่ แต่เริ่มชะลอลง โดยเงินบาทยังมีโซนแนวต้านแถว 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์
- ส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ที่ชี้ว่า เงินบาทอาจผันผวนแข็งค่าขึ้นได้ หรืออาจแกว่งตัว sideway ในกรอบ โดยมีแนวรับแรกแถว 34.80 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีโซน 34.50 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับถัดไป
Gold Highlight
- ราคาทองคำเคลื่อนไหวผันผวน ไปตามการปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายเฟด และสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
- สัปดาห์นี้ ทิศทางราคาทองคำจะยังขึ้นกับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ขณะเดียวกัน สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางจะเป็นอีกปัจจัยที่อาจส่งผลต่อราคาทองคำได้พอสมควร
- หากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางทวีความรุนแรงมากขึ้นและเสี่ยงยืดเยื้อ ก็อาจหนุนความต้องถือทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ส่งผลให้ ราคาทองคำอาจปรับตัวขึ้นทดสอบโซนแนวต้านได้
- ทั้งนี้ มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด (ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ) จะเป็นอีกปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาทองคำได้พอสมควร
- โดยหากผู้เล่นในตลาดเลิกเชื่อว่า เฟดจะลดดอกเบี้ย “เร็วและลึก” ก็อาจกดดันให้ราคาทองคำย่อตัวลง หรือ แกว่งตัว sideway รอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า ราคาทองคำเริ่มมีโอกาสปรับตัวขึ้น หรือ อาจแกว่งตัว sideway ต่อไป ขณะที่สัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 ชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบโซนแนวต้านแถว 2,070-2,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้