รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

จับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ สหรัฐฯ และจีน รวมถึงการแถลง Policy Briefing ของธปท.

เผยแพร่ 15/01/2567 08:28
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา การปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และของไทย ได้ส่งผลให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง
  • รอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน พร้อมจับตา ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และการแถลง Policy Briefing ของธนาคารแห่งประเทศไทย 
  • เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงออกมาดีกว่าคาด และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ย จนกว่าจะคุมเงินเฟ้อได้สำเร็จ จนทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของเฟด ในส่วนของค่าเงินบาท แม้ว่าการอ่อนค่าอาจเริ่มชะลอลง หลังราคาทองคำรีบาวด์ขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ทวีความร้อนแรงขึ้น ทว่า เงินบาทอาจผันผวนไปตามการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทย ซึ่งต้องติดตามการแถลง Policy Briefing ของธปท. ในวันจันทร์นี้ และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว ควรรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) และสกุลเงินเอเชีย ได้พอสมควร
  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    34.50-35.25
    บาท/ดอลลาร์
  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังกล่าวยังคงสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของเฟด ที่ “เร็วและลึก” ทั้งนี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะกลับมาให้ความสนใจ รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจจากบรรดาเฟดสาขาต่างๆ (Fed Beige Book) ซึ่งจะช่วยสะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ดี นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ Voter ในการประชุม FOMC อาทิ Christopher Waller, Michael Barr, Michelle Bowman, John Williams, Raphael Bostic และ Mary Daly และนอกเหนือจากปัจจัยข้างต้น เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ทั้งขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินภูมิภาค โดยอาจมีประเด็นสำคัญอยู่ที่ การตั้งสำรองหนี้เสีย รวมถึงสภาพคล่องของสถาบันการเงินขนาดเล็ก-กลาง    
    • ฝั่งยุโรปบรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของอังกฤษ และทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ CPI และยอดค้าปลีก (Retail Sales) นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของทั้ง ECB และ BOE ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดเริ่มประเมินว่า ECB และ BOE อาจทยอยลดดอกเบี้ยลงได้เร็วกว่าเฟด ซึ่งมุมมองดังกล่าวก็เป็นปัจจัยที่กดดันทั้งเงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP)   
    • ฝั่งเอเชียผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน อาทิ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 รวมถึง ยอดค้าปลีก (Retail Sales), ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ในเดือนธันวาคม โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนสะท้อนภาพการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ก็อาจช่วยหนุนให้ผู้เล่นในตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงสินทรัพย์จีนมากขึ้น ทำให้เงินหยวนจีน (CNY) ทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ซึ่งภาพดังกล่าวก็อาจช่วยหนุนการแข็งค่าของสกุลเงินเอเชียเช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดจะรอจับตา รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคม โดยหากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมผลของราคาพลังงานและอาหารสด (Core-Core CPI) ยังคงอยู่แถว 3.7% ก็อาจเป็นปัจจัยที่สนับสนุนแนวโน้มการทยอยปรับใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในปีนี้  
    • ฝั่งไทยไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่การแถลง BOT Policy Briefing ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ราว 10.00 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม นี้ โดยเราคาดว่า ธปท. จะพยายามสื่อสารกับผู้เล่นในตลาดและประชาชนว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ระดับ 2.50% ถือว่า เป็นระดับที่ “เหมาะสม” ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าว นอกจากนี้ ธปท. อาจมีการเน้นย้ำว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยนั้นอยู่ในระดับต่ำ จากปัจจัยด้านอุปทานและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐเป็นหลัก ทำให้ ธปท. ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อนึ่ง เราจะจับตาอย่างใกล้ชิด ว่า ธปท. จะเน้นการสื่อสารว่า พร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามความเหมาะสม หรือไม่ เพราะหาก ธปท. เน้นการสื่อสารดังกล่าว ก็อาจประเมินได้ว่า ธปท. เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมากขึ้น ทำให้เราอาจเพิ่มโอกาสที่ ธปท. จะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ทั้งนี้ เรายังคงมุมมองเดิมว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ที่ระดับ 2.50% จนกว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะแย่ลงชัดเจน  

ความคิดเห็นล่าสุด

ddddddddd
กระทรวงกลาโหม
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย