Economic Highlight
ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก พร้อมรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งสหรัฐฯ โดยเฉพาะ อัตราเงินเฟ้อ PCE และข้อมูลยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงน ส่วนในฝั่งไทย ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.
FX Highlight
- สัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานกว่าคาด และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงออกมา “ดูดี” กว่าประเทศอื่นๆ ยังคงหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
- อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า การปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์อาจเริ่มจำกัดลง และมีโอกาสที่เงินดอลลาร์อาจพลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้บ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด
- ทั้งนี้ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอาจยังคงช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์แกว่งตัว sideway หรือไม่ได้อ่อนค่าลงชัดเจนได้
- นอกจากนี้ ควรจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากฝั่งยุโรป เช่นกัน เพราะหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยุโรป (อังกฤษ และยูโรโซน) ออกมาแย่กว่าคาด ก็อาจกดดันสกุลเงินปอนด์อังกฤษและเงินยูโรได้
- ทั้งนี้ ในช่วงสุดสัปดาห์ ตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ของจีน ซึ่งหากออกมาดีกว่าคาด ก็อาจช่วยหนุนให้เงินหยวนของจีนและสกุลเงินฝั่งเอเชียแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หรือ อย่างน้อยช่วยชะลอการอ่อนค่าในระยะสั้น
- ส่วนปัจจัยในประเทศ เรามองว่า ควรจับตาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะฟันด์โฟลว์ตลาดบอนด์
- อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมน้ำมันดิบ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง (โฟลว์ซื้อทองคำและน้ำมันดิบ)
- ในเชิงเทคนิคัล การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาอาจเริ่มชะลอลงและติดโซนแนวต้านแถว 36.20-36.30 บาทต่อดอลลาร์ และมีโซน 36.50 บาทต่อดอลลาร์เป็นแนวต้านถัดไป นอกจากนี้ แม้ว่า สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway หรือ sideway up (ทยอยอ่อนค่าลง) แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดสัญญาณ Bearish Divergence บน RSI และ MACD Forest สะท้อนว่าเงินบาทก็สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง
- นอกจากนี้ ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าเริ่มชะลอลงบ้าง อย่างไรก็ดี หากเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นได้ ก็อาจยังติดโซนแนวรับแรกแถว 35.80-35.90 บาทต่อดอลลาร์ และมีแนวรับ 35.50-35.60 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับสำคัญถัดไป
Gold Highlight
- ราคาทองคำเคลื่อนไหว sideway ในกรอบ โดยผันผวนไปตามทิศทางของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ
- สัปดาห์นี้ รอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งสหรัฐฯ และจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก
- ในช่วงนี้ ปัจจัยสำคัญอาจมีไม่มากนัก ทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มแกว่งตัว sideway ไปก่อน ทว่า ราคาทองคำอาจทยอยปรับตัวขึ้นได้บ้าง หากผู้เล่นในตลาดเริ่มประเมินว่า เฟดอาจเริ่มลดดอกเบี้ยลงได้เร็วกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ซึ่งต้องเห็นการย่อตัวลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ยังคงชี้ว่า ราคาทองคำมีแนวโน้ม แกว่งตัว sideway สอดคล้องกับสัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1
- เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้
Economics Highlight