ทองคำอาจยังปรับตัวขึ้นไม่ได้ จนกว่าตลาดจะชื่อว่าเฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ย

เผยแพร่ 21/08/2566 08:41
USD/THB
-
DX
-
GC
-
THB/USD
-

Economic Highlight

ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะถ้อยแถลงประธานเฟดในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของเฟดที่ Jackson Hole นอกจากนี้ ควรจับตาสถานการณ์การเมืองไทย อย่างใกล้ชิด

**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.

FX Highlight

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังผู้เล่นในตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดการเงินผันผวน
  • เงินดอลลาร์อาจยังไม่กลับมาอ่อนค่าลงชัดเจน ตราบใดที่ตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) 
  • นอกจากนี้ หากตลาดยังคงเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ หรือคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น (จาก CME FedWatch Tool ล่าสุด ตลาดให้โอกาส 36% เฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อ และให้โอกาส 65% ที่เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม 2024) อาจหนุนให้ทั้งบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นต่อได้ 
  • ในส่วนค่าเงินบาท แม้การจัดตั้งรัฐบาลผสมจะมีความชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติก็เริ่มชะลอการขายสินทรัพย์ไทยโดยเฉพาะหุ้นไทย แต่สถานการณ์การเมืองของไทยยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ทำให้ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติยังมีความผันผวนสูง ส่งผลต่อเนื่องให้เงินบาทแกว่งตัวในกรอบกว้างได้
  • โดยเรามองว่า ต้องจับตาการโหวตเลือกนายกฯ ในวันที่ 22 สิงหาคม นี้อย่างใกล้ชิด หากการเลือกนายกฯ และการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นอย่างราบรื่น ก็อาจหนุนให้นักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยมากขึ้น
  • แต่หากสถานการณ์การเมืองไทยกลับวุ่นวายมากขึ้น เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงต่อ ตามแรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ
  • อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ ซึ่งต้องรอลุ้นว่า ราคาทองคำจะสามารถรีบาวด์ขึ้นได้หรือไม่ หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องใกล้โซนแนวรับสำคัญ
  • ส่วนโฟลว์ธุรกรรมในช่วงนี้ เรายังคงเห็นแรงขายเงินดอลลาร์ของบรรดาผู้ส่งออกในจังหวะเงินบาทอ่อนค่าลง (Sell on Rally) ส่วนผู้เล่นต่างชาติที่มีมุมมองเชิงบวกต่อค่าเงินบาท ต่างก็รอทยอยเพิ่มสถานะ Long ทำให้เรามองว่า เงินบาทอาจติดอยู่ในโซนแนวต้าน 35.50 บาทต่อดอลลาร์ และมีโซน 35.75 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวต้านถัดไป
  • หากเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น เรามองว่า การแข็งค่าก็มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยผู้นำเข้าบางส่วนต่างรอจังหวะทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์ ทำให้เงินบาทอาจยังแกว่งตัวเหนือโซนแนวต้าน 35.20 บาทต่อดอลลาร์ได้ และมีโซน 35.00 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับสำคัญถัดไป
  • ในเชิงเทคนิคัล หลังจากที่เงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อนหน้า สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ต่างชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway หรือ sideway down (ทยอยแข็งค่า) ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวก็สอดคล้องกับการเกิด Evening star pattern ขึ้น
  • นอกจากนี้ ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มแผ่วลง และมีโอกาสที่เงินบาทจะผันผวน sideway หรือ sideway down (ทยอยแข็งค่า) 

Gold Highlight

  • ราคาทองคำยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สวนทางกับที่เราประเมินไว้ โดยปัจจัยกดดันราคาทองคำยังคงเป็นการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ 
  • สัปดาห์นี้ จับตารายงานดัชนี PMI ของบรรดาเศรษฐกิจหลักและไฮไลท์สำคัญ อย่าง ถ้อยแถลงของประธานเฟดจากงานสัมมนาวิชาการ Jackson Hole Symposium รวมถึงรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด
  • เราประเมินว่า ราคาทองคำอาจยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ชัดเจน จนกว่าตลาดจะกลับมาเชื่อว่าเฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วอีกครั้ง หรือตลาดคลายกังวลแนวโน้มการออกพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ซึ่งอาจต้องเห็นการทยอยปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ 
  • ราคาทองคำพร้อมรีบาวด์ขึ้น ในกรณีที่เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยปรับตัวลง โดยมีโซนแนวต้านแถว 1,940 ดอลลาร์ต่อออนซ์
  • อนึ่ง การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ อาจเป็นไปอย่างจำกัด แม้ว่า ตลาดจะคลายกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เนื่องจากมุมมองดังกล่าวก็อาจยังช่วยหนุนให้ตลาดอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งก็อาจกดดันการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำได้ 
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ยังคงชี้ว่า ราคาทองคำอาจแกว่งตัวในกรอบ หรือมีโอกาสย่อตัวลงบ้าง แต่เริ่มมีสัญญาณที่ราคาทองคำอาจทยอยรีบาวด์ขึ้นได้ นอกจากนี้ หากพิจารณา Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 จะเริ่มเห็นสัญญาณว่า โมเมนตัมการปรับตัวลดลงอาจเริ่มแผ่วลง เพิ่มโอกาสที่ราคาทองคำอาจรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง หรือก็อาจแกว่งตัว sideway ต่อ
  • เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย