Fatigue - Taking all profits
• SET: ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลงจากการเปิดเผย FOMC Minutes เมื่อคืนนี้ ทั้งๆที่ไม่ได้มีข้อมูลอะไรใหม่เพิ่มเติมจากการประชุม Fed ครั้งที่ผ่านมา เพียงแต่ว่าในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนยังคง Under-price ต่อปัจจัยการ น ดอกเบี้ยในการประชุม FOMC วันที่ 25-26 ก.ค.นี้อยู่ ส่งผลให้เมื่อคืนนี้ Bond yield สหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรง มองเป็นปัจจัยกดดันที่อาจส่งผล ต่อมายังการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้บ้าน เราได้ จนส่งผลให้เงินบาทกลับมาปรับดัวอ่อนค่าอีกครั้ง นี้
• Strategy: หากดูระดับ Fed Funds futures ล่าสุด นักลงทุนยังคงให้ น้าหนักการขึ้นดอกเบี้ย Fed เพียง 89% เท่านั้น บ่งชี้ถึงโอกาสที่จะมีการ เติมหน้า Price in ต่อเนื่องจนผลักดัน Bond yield ให้สูงขึ้นได้อีก เมื่อมา ประกอบกับโมเมนตัมของ EPS ตลาดที่ท่าจุดต่ําสุดใหม่ต่อเนื่อง และปัจจัย การเมืองในประเทศที่ยังไม่น่าจะมีข่าวดีในช่วง 1 สัปดาห์ข้างหน้านี้ ทําให้ ในเชิงกลยุทธ์ เราแนะนําานัก ให้ลงทุนที่ได้มีการ Take profit หุ้นส่วน หนึ่งมาก่อนหน้านี้ บริเวณ SET 1520 จุด ใช้จังหวะช่วงนี้ในการ Take profit หุ้นในส่วนที่เหลือ เพื่อถือเงินสดและรอดูสถานการณ์ แวดล้อม หรือจนกว่าดัชนีจะปรับลงมามี Margin of safety มากกว่า
• CPI & rates: อีกหนึ่งประเด็นที่เรากังวลก็คือ แนวโมเมนตัมของ เศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มอ่อนแอ สะท้อนผ่านรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของ ไทยเมื่อวานนี้ ที่แม้ตัว Headline จะออกมาสูงกว่าคาดเล็กน้อย แต่ด้ว Core กลับออกมาอ่อนแอและต่ํากว่าตลาดคาด บ่งชี้ว่าภาคอุปสงค์เริ่มมี ความเปราะบางมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ หากธปท.ยังคงตัดสินใจที่จะปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมกนง.วันที่ 2 ส.ค.นี้ มองจะ ยิ่งเป็นการนํ้าเค็มอุปสงค์ภายในประเทศเข้าไปอีก และจะส่งผลต่อ ตลาดหุ้นให้เผชิญกับปรากฏการณ์ De-rating อีกครั้ง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อมาประกอบกับระดับการ Price in ของนักลงทุนในตลาด พันธบัตรที่ ณ วันนี้ยังคงให้น้ําหนักการขึ้นดอกเบี้ยรอบถัดไปของกนง.อยู่
• BANK: ประเมินแนวโน้มกําไรกลุ่มธนาคารใน 2Q66 ค่อนข้างทรงตัว QoQ แต่เติบโตได้ดี YoY โดยเฉพาะในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ โดยมี ปัจจัยบวกหลักมาจาก NIM ที่ปรับตัวดีขึ้นตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพียง 64% ขณะที่ปัจจัยกดดันมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่น โดยเฉพาะกําไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนที่อาจลดลงตามภาวะตลาดเงิน และตลาดทุน ด้านสัดส่วน NPL ของกลุ่มฯ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เล็กน้อย โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการปล่อยสินเชื่อของแต่ละ ธนาคารที่เป็นเชิงรุกมากขึ้น บวกกับอาจเห็นการไหลของลูกหนี้บางส่วนที่ หมดมาตรการช่วยเหลือมาเป็น NPL อย่างไรก็ตามคาดค่าใช่จ่ายสารองหนี้ ของกลุ่มฯ ลดลง QoQ เนื่องจากใน 1Q66 ธนาคารต่างตั้งสํารองส่วนเกิน อีกทั้งยังมีบางธนาคารที่ได้ตั้งสํารองลูกหนี้รายใหญ่
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities