🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ยังไม่มีแรงเหวี่ยงขึ้น ... ย่ำฐานต่อไป 

เผยแพร่ 23/06/2566 09:33
SETI
-

ปัจจัยภายนอกมีน้ำหนักในทางลบ เริ่มจากราคาน้ำมัน Brent ที่ปรับลด 3.86% ตามด้วย BOE ปรับเพิ่มขึ้นดอกเบี้ย 0.5% มากกว่าคาด ขณะที่ยังคาดว่า Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมเดือน ก.ค.66 อีกประเด็นหนึ่งคื่อ ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์หลังจากที่รัสเซียประกาศว่า ขีปนาวุธข้ามทวีปติดหัว รบนิวเคียร์ 10 หัวรบ เข้าประจำการพร้อมรบ ส่วนในบ้านเราประเด็นที่อยู่ใน ความสนใจหลักยังเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งรอลุ้นการโหวตเลือกประธานสภาผู้แทน ราษฎร์ และ นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าหากผ่านขั้นตอนดังกล่าวไปด้วยดี ก็น่าจะทำให้ ตลาดหุ้นพลิกตัวกลับขึ้นมาได้ สำหรับทิศทางของ Fund Flow ยังดูไม่ดีโดย ล่าสุดพบว่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปทะลุระดับ 35 บาท/ USD สะท้อนภาพความ เชื่อมั่นที่ยังไม่กลับมา และน่าจะเป็นแรงกดดัน SET Index ต่อ

โดยภาพรวมตลาดยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน ขณะที่ เงินบาทอ่อนค่าไม่ดีต่อ Fund Flow คาด SET Index มีแนวรับบริเวณ 1490- 1500 จุด แนวต้าน 1520 จุด Top Pick เลือก MAJOR, PLANB และ SCB

เม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยออกครั้ง หนุน Flow ต่างชาติ ยังชะลอเข้าไทย

ธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) เซอร์ไพร์สตลาด มีมติ 7-2 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% (สูงกว่าตลาดคาดที่ 0.25%) สู่ระดับ 5.00% โดยเป็นการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยครั้งที่ 13 ติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 หลังเงินเฟ้อเดือน พ.ค.66 ยังอยู่ในระดับสูงที่ +8.7%YoY (สูงกว่าคาด) ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ระดับ +7.1%YoY สูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2535 ซึ่งคณะกรรมการ BOE จะยังคงติดตาม สัญญาณอย่างใกล้ชิดถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่องในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงสภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว การเติบโตของค่าจ้าง ซึ่งหากมีหลักฐานบ่งชี้ถึง แรงกดดันที่ยืดเยื้อมากขึ้น ทำให้ยังคงต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไป ขณะที่ หนี้ภาครัฐที่เกิน 100% ของ GDP ทำให้ไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังแบบขาด ดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตามตลาดยังคงมองว่าอังกฤษ จะไม่เกิด Recession โดย Bloomberg คาดโอกาสเกิด Recession อังกฤษอยู่ที่ 53%(ลดลง จากช่วงต้นเดือนที่อยู่ระดับ 58%)

ขณะที่ทางฝั่งสหรัฐฯ Fed ย้ำว่าจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จนกว่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้นเกี่ยวกับการชะลอตัวของเงินเฟ้อพื้นฐาน โดยอาจ ปรับขึ้นอีก 2 ครั้ง (ครั้งละ 0.25%)ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อยู่ใน กรอบ 5.50-5.75% อีกทั้ง ประธาน Fed ยังกล่าวว่า การประกาศคงอัตราดอกเบี้ย ของเฟดในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเพียงการพักการ ดำเนินการด้านอัตราดอกเบี้ยเพียงชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ตามตัวเลขผู้ขอ สวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 264,000 ราย เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า และสูง กว่าตลาดคาดที่ 260,000 ราย ซึ่งถือว่าอยู่ระดับสูงมา 3 สัปดาห์ติด และคาดว่าจะ สะท้อนไปยังตัวเลขภาคแรงงานที่จะชะลอตัวลงในไม่ช้า ทั้ง Nonfarm Payroll และ Unemployment Rate ทำให้ตลาดยังเชื่อว่า Fed จะขึ้นอีกเพียงแค่ 1 ครั้งในปีนี้ โดย Fed Watch Tool บ่งชี้ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เท่านั้น และมองอัตรา ดอกเบี้ยปลายปีที่ระดับ 5.50% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ระดับสูงและขาขึ้น ทำให้นัก ลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจและอุปสงค์ต่อราคาน้ำมัน โดย วานนี้น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลง 4% อยู่ระดับ 74 เหรียญฯ/บาร์เรล

ด้วยประเด็นดังกล่าวทำให้เม็ดเงินยังคงไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยในสหรัฐฯทั้งส่วน ของ Bond Yield และ Dollar Index ซึ่งหาก Dollar Index อยู่ในทิศทางแข็งค่า คาดทำ ให้ค่าเงินบาทเราอ่อนค่าลง และเป็นปัจจัยที่ทำให้ Flow ต่างชาติไหลออกจากประเทศ ไทย กลยุทธ์เน้นหุ้นได้ประโยชน์จากบาทค่าเงินบาทอ่อนค่า ทั้งกลุ่มส่งออก (HANA KCE TU CPF GFPT NER), กลุ่มท่องเที่ยว (AOT (BK:AOT) AAV BA MINT CENTEL ERW SHR)

สรุป ปัจจัยแวดล้อมต่างประเทศทั้งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BOE Fed และ ความ กังวล Recession ในสหรัฐฯ ทำให้เม็ดเงินยังคงไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง Bond Yield และ Dollar Index ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงตามหลักการ ดังนั้นกล ยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า คาดสร้างผลตอบแทนได้ ดีกว่า SET Index ในยามผันผวน

ภาคส่งออกไทยเริ่มมีความหวังใน 2H66

วานนี้สภาอุตสาหกรรมฯ (ส.อ.ท.) รายงานยอดส่งออกรถยนต์เดือน พ.ค. อยู่ที่ 8.64 หมื่นคัน หรือ +12.25%YoY โดยประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ดี อาทิ ญี่ปุ่น +25%, อินโดนีเซียขยายตัว 65%, สหรัฐฯ +22% ฯลฯ

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในอดีต จะเห็นได้ว่ายอดส่งออกรถยนต์มักเป็น Leading Indicator ต่อภาพรวมการส่งออกไทยในอีก 1 เดือนถัดไป โดยในเดือน เม.ย. มีการ ขยายตัวสูงถึง 43.5%YoY ขณะที่การนำเข้าสินค้าของประเทศจีน ซึ่งมี Correlation กับการส่งออกไทยสูงถึง 0.67 โดยในเดือน พ.ค. เริ่มหดตัวน้อยลงมาอยู่ที่ -4.5 %YoY ปัจจจัยเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณชี้นำต่อยอดส่งออกไทยเดือน พ.ค. (คาด รายงานในช่วงวันที่ 23-28 พ.ค.) จะไม่หดตัวรุนแรงอย่างที่ Bloomberg Consensus คาดไว้ที่-8.0%YoY

นอกจากนี้ภาพเงินบาทที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าในปัจจุบันทะลุ 35 บาท/ดอลลาร์ เชื่อว่า จะเป็นแรงหนุนให้ภาคส่งออกไทยเริ่มมีความหวังกลับมาฟื้นตัวมากขึ้นใน 2H66 โดย หุ้นกลุ่มส่งออกที่เกี่ยวข้องที่คาดว่าได้อานิสงค์เชิงบวก อาทิ SCGP, IVL, TU, CPF, HANA, KCE, SAT เป็นต้น

สรุป ยอดส่งออกรถยนต์ที่ขยายตัวได้ดีตั้งแต่เดือน เม.ย. บวกกับการนำเข้าสินค้า ของประเทศจีนเดือน พ.ค. หดตัวน้อยลงมา อาจเป็นสัญญาณชี้นำต่อภาพรวมการ ส่งออกไทยจะไม่หดตัวแรงในเดือน พ.ค. อีกทั้งเงินบาทที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าในปัจจุบัน เชื่อว่าจะเป็นแรงหนุนให้ภาคส่งออกไทยเริ่มมีความหวังกลับมาฟื้นตัวมากขึ้นในช่วง ครึ่งปีหลังของปีนี้

SET ผันผวน และปิดต่ำสุดในรอบ 2 ปี 5 เดือน หาหุ้นน่าจับตา สะสมเพิ่มในระยะถัดไป

แรงกดดันรายล้อม จาก Fund Flow ต่างชาติที่ไหลออก, การเมืองไม่นิ่ง, สภาพคล่อง ที่ต่ำ, ความกังวลงบเทียมในบางบริษัท ส่งผลให้ SET Index วานนี้ ลดลง 13.64 จุด มาอย่าที่ 1508.48 จุด ซึ่งเป็นราคาปิดที่ต่ำสุดในรอบ 2 ปี 5 เดือน

ความกังวลจากปัจจัยที่กล่าวมายังวนเวียนรบกวนตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงนี้ อย่างไร ก็ตามหากมองให้ลึกลงไปเป็นรายตัวจะพบว่ามีทั้งหุ้นที่ลงแรงกว่าปกติมาก และหุ้นที่ ยังแข็งแกร่งกว่าตลาดอยู่ ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการจำแนกหุ้นเชิงเทคนิคใน SET100 ออกเป็น 2 กลุ่ม ที่น่าจับตา มีดังนี้

1. หุ้นที่แข็งแกร่งกว่าตลาดในเชิงเทิคนิค (RSI >50, MACD >0) ส่วนใหญ่เป็น หุ้นที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้น และ Outperform กว่าตลาดในช่วงที่ผ่านมา ชื่นชอบ IVL, MINT, AOT, SCB

2. หุ้นที่ลงมาเร็วในช่วงที่ผ่านมาจนเข้าเขต Oversold (RSI

หุ้นทั้ง 2 กลุ่ม ถือเป็นหุ้นที่น่าจับตา แนะนำนักลงทุนทำการบ้านหรือหาข้อมูลเพิ่มใน ช่วงเวลาที่ตลาดผันผวนเช่นนี้ ส่วนมุมการลงทุนแนะนำแบ่งไม้ในการทยอยสะสม ออกมาเป็นไม้ย่อยๆ มากกว่าปกติ

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย