ยังไม่มีความคืบหน้า 

เผยแพร่ 26/05/2566 10:01
SETI
-

ตลาดหุ้นยังอยู่ในภาวะการรอความชัดเจนของปัจจัยแวดล้อมสำคัญ 2 เรี่องซึ่ง ประเมินจนถึงปัจจุบันยังไม่เห็นความคืบหน้า เริ่มจาก การเจรจาขายเพดานหนี้ สาธารณะของสหรัฐ ซึ่งดูเหมือนจะยังไม่มีข้อยุติในสัปดาห์นี้ ขณะที่จะถึงกำหนด เส้นตายที่ รมว.คลังได้แจ้งไว้ 1 มิ.ย.66 (พฤหัสบดีหน้า) ภาวะดังกล่าวทำให้ระดับ ความเชื่อมั่นลดลง ถัดมาเป็นการเมืองในบ้านเรา ที่เห็นระดับความไม่ไว้วางใจกัน ระหว่างว่าที่พรรคร่วมรัฐบาล สะท้อนผ่านวาทะในการต่อรองเรื่องตำแหน่งทาง การเมือง ซึ่งเรามองว่าจะยังไม่เห็นความชัดเจนจนกว่าจะเปิดสมัยประชุมสภาฯ ช่วงเดือน ก.ค.66 ส่วนประเด็นที่ชัดเจนแล้วก็คือเศรษฐกิจของเยอรมันที่ GDP ติด ลบ QoQ ต่อกัน 2 ไตรมาส ทำให้เข้าสู่ภาวะ Technical Recession ส่วนในบ้าน เราสัปดาห์หน้า รอติดตามว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น 2% หรือไม่

คาด SET Index น่าจะผันผวนต่อภายใต้ปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่ยังไม่เห็นความ คืบหน้า กรอบการเคลื่อนไหว 1520 - 1545 จุด หุ้น Top Pick วันนี้เลือก COM7, CPALL (BK:CPALL) และ KBANK (BK:KBANK)

RECSSION กำลังใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ?

สำนักงานสถิติเยอรมนีเผย GDP ใน 1Q66 หดตัว 0.3%QoQ ต่อเนื่องจาก 4Q65 ที่หด ตัว 0.5%QoQ ส่งผลให้เศรษฐกิจเยอรมนีเข้าสู่ภาวะ Technical Recession เป็นที่ เรียบร้อยแล้ว (GDP ติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน) จากแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อจนทำ ให้การบริโภคภาคครัวเรือน -1.2%QoQ รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐ -4.9%QoQ

ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศมีการขยายตัวได้เพียง เล็กน้อยในช่วง 1Q66 อาทิ ญี่ปุ่น (+0.4QoQ), อังกฤษ (+0.1QoQ), ยุโรป (+0.1QoQ) ฯลฯ ซึ่งต้องเฝ้าระวังการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังจากนี้ โดยผลกระทบอาจขยาย เป็นวงกว้างจนเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว

นอกจากนี้ในฝั่งสหรัฐฯ ตลาดยังมีความกังวลว่า Fed จะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง โดย Fed Watch Tool คาดว่าจะมีพดานอยู่ที่ 5.50% ในช่วง 2Q66 (ปัจจุบัน 5.25%) เพื่อสกัดเงินเฟ้อให้เข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% (ปัจจุบัน +4.9%YoY) ทั้งนี้หาก Fed ยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด อาจเป็นปัจจัยเร่งให้เกิด Recession ได้

ขณะที่ประเด็นเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐยังต้องติดตาม หลังพรรคเดโมแครตและรีพับ ลิกันยังคงไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของอีกฝ่าย แม้คาดว่าจะเหลือเวลาอีกเพียงแค่ 1 สัปดาห์ ก่อนที่เงินสำรองจะหมดคลัง ทั้งนี้ หากการต่อรองดังกล่างยังไร้ความชัดเจน เช่นนี้อาจทำให้ Fitch Ratings ปรับลดอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ลงมา จากระดับสูงสุดที่ AAA

สรุป เยอรมนีได้เข้าสู่ภาวะ Technical Recession เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้ง GDP หลายประเทศใน 1Q66 ขยายตัวได้เลยเล็กน้อย นอกจากนี้การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ รวมถึงเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้ความ เสี่ยงเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยใกล้เข้ามาเรื่อยๆ และกดดันตลาดหุ้นในช่วง ถัดไปได้

กนง.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเป็น 2% กดดันให้ SET ซื้อขายบน PE ที่ต่ำลง

การคาดการณ์เฉลี่ยของนักเศรษฐศาสตร์ 26 รายในผลสำรวจครั้งล่าสุดของ Bloomberg ระบุว่า ธปท.มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ 2.00% ในการ ประชุมวันที่ 31 พ.ค.66 ซึ่งมีปัจจัยหนุนอีกแรง คือ Yield Curve ตราสารหนี้ไทยที่ยกขึ้น ทั้งเส้น โดย ตราสารหนี้ระยะสั้นปรับขึ้น > ตราสารหนี้ระยะยาว หรือที่เรียกว่า Bearish flattening โดยมีรายละเอียด ดังนี้

• ตราสารหนี้อายุ 3 เดือน ปรับขึ้นจาก 1.61% สู่ 1.80% (+19 Bps.)

• ตราสารหนี้อายุ 6 เดือน ปรับขึ้นจาก 1.70% สู่ 1.89% (+19 Bps.)

• ตราสารหนี้อายุ1 ปี ปรับขึ้นจาก 1.80% สู่ 1.97% (+17 Bps.)

• ตราสารหนี้อายุ 2 ปี ปรับขึ้นจาก 1.90% สู่ 2.06% (+16 Bps.)

• ตราสารหนี้อายุ 5 ปี ปรับขึ้นจาก 2.16% สู่ 2.23% (+7 Bps.)

ซึ่งปัจจัยหนุนที่น่าจะทำให้ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ คือ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ กำลังขยายตัวได้ดีในช่วง 1Q66 บวกกับการท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวเด่น อีกทั้งระงับให้ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบ 1-3%ตามเป้าหมาย

ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าการขึ้นดอกเบี้ยตามกลไกเป็นตัวจำกัด Upside ของตลาดหุ้นไทย ให้ซื้อขายบน PE ที่ต่ำลง กดดันตลาดหุ้นช่วงสั้นๆ แต่ในเชิงเปรียบเทียบดอกเบี้ยนโยบาย ไทยยังต่ำกว่าหลายๆประเทศ พร้อมกับกำไรบริษัทจดทะเบียนปีนี้มีแนวโน้มเติบโตเด่น 12% แต่หากพิจารณาในมุมของ Market Earning Yield Gap จะลดลง โดยระดับดัชนี ปัจจุบันอยู่ที่ 1535.42 จุด มีระดับ Market Earning Yield Gap 3.99% ซึ่งหากขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เป็น 2.0% จะกดดันระดับ Market Earning Yield Gap ลดลงอยู่ที่ 3.74%

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯได้ทำแบบจำลองเงินเฟ้อไทย พบว่า เงินเฟ้อมีโอกาสต่ำกว่ากรอบ เป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์และธปท.ที่ 2.2% - 3% รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง พลิกกลับมาเป็นบวกใน 2Q66 ได้ (เดือน พ.ค. คาดเงินเฟ้อเหลือ 1.44%YoY และดอกเบี้ย ที่แท้จริงพลิกกลับมาบวก 0.56%)

สรุป สัปดาห์หน้า กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งสู่ระดับ 2.00% หลัง กังวลอัตราเงินเฟ้อจะกลับไปสูง ซึ่งตามกลไกเป็นตัวจำกัด Upside ของตลาดหุ้นไทย ให้ซื้อขายที่ระดับ PE ต่ำลง รวมถึงทำให้ระดับ Market Earning Yield Gap ลดลง กดดันตลาดหุ้นช่วงสั้น-กลาง โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ระดับ 1520-1545 จุด

หาหุ้นปันผล รับมือปัจจัยภายนอก-ภายในกระอักกระอ่วน

ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 1 สัปดาห์ หุ้นยังขยับขึ้นได้ดี +1.83% ใกล้เคียงกับสถิติในอดีตที่ +1.87% หลังเลือกตั้งในปี 2566 นี้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงกว่าปีอื่นๆ มาก โดย หลังเลือกตั้งในปีนี้สัปดาห์แรกลดลง -3% (อดีตเฉลี่ยบวกถึง 3.8%) ปัจจุบันผ่านมาเกือบ 2 สัปดาห์ (15 – 25 พ.ค. 66) แม้ฟื้นขึ้นมาบ้าง แต่ยังปรับตัวลดลงอยู่ -1.7% และ Fund Flow ต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทยทุกวันสะสมถึง -1.9 หมื่นล้านบาท

ทั้งความไม่นอนในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองยังมีความหลายปัจจัยเสี่ยงหรือความ ไม่แน่นอนที่ถาโถมเข้ามาอยู่ บวกกับปัจจัยภายนอกเองก็มีหลายเรื่องให้กังวลใจ โดย หนึ่งในกลยุทธ์ในการลงทุนที่ตอบโจทย์ในช่วงนี้ คือ “หุ้นปันผลเด่น” สะท้อนจาก ใน 1 เดือนที่ผ่านมาดัชนี SETHD +0.68% Outperform ได้ดีกว่าดัชนีอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่จะติด ลบ

โดย SETHD ณ 25 พ.ค. 66 มี Dividend Yield อยู่ที่ 4.83% ขณะที่ SET อยู่ที่ 3.06%

ฝ่ายวิจัยฯ ทำการคัดกรองหุ้นพื้นฐานที่ย่อตัวลงมา และจ่ายปันผลเด่น โดยผ่านเงื่อนไข ดังนี้

1. เป็นหุ้นที่คาดหวังปันผลได้สูงกว่า 5% ต่อปี (สูงกว่า SETHD)

2. ราคาย่อตัวลงในปีนี้ โดย Return ytd

3. เป็นหุ้นพื้นฐาน ที่ Upside เปิดกว้าง > 10%

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย