🌎 มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับนักลงทุนกว่า 150K คนจาก 35 ประเทศ ที่เลือกหุ้นที่ชนะตลาดที่คัดสรรด้วยเทคโนโลยี AIปลดล็อกเลย

หุ้นน้ำมันหนุนตลาด แต่ก็หนุนเงินเฟ้อด้วย 

เผยแพร่ 04/04/2566 09:39
อัพเดท 09/07/2566 17:32
SETI
-
DELTA
-

ภาพของ SET Index วานนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มน้ำมัน กับ แรงกดดันจากหุ้น DELTA ซึ่งก็จบลงด้วยแรงกดจาก DELTA เป็นฝ่ายชนะ โดยนับ เฉพาะน้ำหนักที่ราคาหุ้น DELTA กดลงกระทบไปที่ SET Index ถึง 17 จุด ทั้งนี้ หากประเมินจากรูปแบบราคาและ OI ที่คงค้างในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คาดว่ายัง มีความเสี่ยงที่ DELTA จะปรับลดลงได้อีก ส่วนประเด็นสำคัญในวันนี้เป็นการ ตีความผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น ในมุมของคราคาหุ้นที่ได้ประโยชน์ อย่าง PTTEP ยังน่าจะเห็น Momentum เหวี่ยงขึ้นได้อยู่ แต่ในมุมของเศรษฐกิจ อาจนำมาซึ่งความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อาจกลับมาเร่งตัวขึ้นไปได้ อีกด้านหนึ่ง เป็นการประกาศตัวเลข PMI ของสหรัฐ และยุโรป ซึ่งยังอยู่ในภาวะที่ยังไม่แข็งแรง ภาพดังกล่าวทำให้ความกลัวเรื่อง Recession กลับมา และอาจไปถึง Stagflation

แรงกดดันจากราคาหุ้น DELTA ยังน่าจะมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะทำให้ SET Index ไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ แม้มีแรงหนุนจากกลุ่มน้ำมัน คาด SET Index น่าจะแกว่ง ตัวในกรอบ 1585 – 1610 จุด หุ้น Top Pick เลือก CK, IVL และ PTTEP

ความเสี่ยง STAGFLATION ต้องระวัง อาจเข้ามากดดันตลาดหุ้น

ผลลัพท์จากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งตั้งแต่ช่วงปี 2565 ส่งผ่านต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น บวกกับเงินเฟ้ออาจมีแนวโน้มเร่งตัวตามราคา พลังงาน หลัง OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบอีก 1.16 ล้านบาร์เรล/วัน ล้วน เป็นปัจจัยที่เพิ่มความสี่ยง ต่อการที่จะเกิด Recession และอาจจะไปถึงภาวะ Stagflation (เศรษฐกิจชะลอตัว+เงินเฟ้อสูง)

สำหรับตัวเลขล่าสุดที่สัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัว สะท้อนจากดัชนี PMI Manufacturing เดือน มี.ค. ทั้งในสหรัฐและยุโรปที่อยู่ในต่ำกว่าระดับ 50 จุด บ่งชี้ถึงภาคธรุกิจกำลังอยู่ใน โซนหดตัว

• ดัชนี PMI Manufacturing สหรัฐ อยู่ที่ 46.3 ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 47.5 และ ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปีหลังมีการชะลอตัวในการจ้างงาน ยอดสั่งใหม่และราคา สินค้า

• ดัชนี PMI manufacturing ยุโรป อยู่ที่ 47.3 มากกว่าที่ตลาดคาดไว้ 47.1 แต่ ยังอยู่ในโซนหดตัว โดยอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน

ือเป็นความเสี่ยงต้องระวังว่าเศรษฐกิจอาจเกิด Recession ได้ และยังตอกย้ำด้วยข้อมูล Inverted Yield Curve ของส่วนต่างระหว่าง Bond Yield 10 และ 2 ปีสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2000-2020 หากติดลบมักเป็นสัญญาณชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ Recession (ตาม Highlight สีแดง) ได้ถึง 3 ครั้ง (จากวิกฤต Dot Com, Sub Prime และ COVID-19) โดย จุดที่น่าสนใจมากกว่า คือ ยามที่ส่วนต่างระหว่าง Bond Yield 10 และ 2 ปีพลิกจากแดน ลบกลับมายืนในแดนบวกในช่วง 0-1% มักเป็นสัญญาณเตือนของ Recession เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนถัดไป ปัจจุบันระดับInverted Yield Curve ค่อยๆฟื้นกลับจากจุดต่ำสุด - 1.07% มาที่ -0.5% แล้ว มองไม่ใช่สัญญาณที่ดีนัก เพราะหากสุดท้ายกลับมายืนเหนือ 0 ได้ จะเป็นสัญญาณเตือน U.S. Recession ใกล้เข้ามาทุกขณะ

ในส่วนราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วโลกชะลอ ตัวได้ช้ากว่าคาดหรือกลับมาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามถ้ากลับมาดูที่บ้านเรา ราคาน้ำมันดิบ เดือน มี.ค. -20.9%YoY น่าจะเป็นแรงหนุนให้เงินเฟ้อไทยลดลงได้ขณะที่ระยะถัดไปแม้ ราคาจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็คาดว่าจะไม่ทำให้เงินเฟ้อไทยเร่งตัวขึ้นแรงมากนัก เนื่องจาก ราคาน้ำมันในช่วงปีที่ผ่านมามีฐานที่ค่อนข้างสูง เป็นเพราะแรงกดดันจากการทำสงครา รัสเซีย-ยูเครน

สรุป อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงในหลายประเทศเริ่มฉุดรั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด Recession มากขึ้น บวกกับเงินเฟ้ออาจแนวโน้มเร่งตัว ตามราคาพลังงาน เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการที่อาจเข้าสู่ภาวะ Stagflation ใน ระยะถัดไป ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้จะเข้ามากดดันต้อภาพรวมของตลาดหุ้นเช่นกัน

ตลาดน้ำมันได้แรงหนุน ทั้งจากการรักษาเสถียรภาพของ OPEC บวกกับ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและจีน

ราคาน้ำมันดิบอ้างอิง WTI, Brent และ Dubai ล่าสุดอยู่ที่ 80.4, 84.9 และ 78.5 เหรียญ ฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ เป็นการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ หลังจากมีความกังวลด้าน supply เกิดขึ้น เริ่มจากปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียยูเครน ที่เริ่มกลับมารุนแรงขึ้นอีกครั้ง รวมถึงปัญหาการเมืองในตะวันออกกลางหลังอิรัก ระงับการส่งออกน้ำมันราว 4.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 0.5% ของ อุปทานน้ำมันในตลาดโลก จากเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานผ่านทางตุรกี หลังจากศาล ตัดสินว่าการส่งออกน้ำมันจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอิรักก่อน อีกทั้ง ล่าสุดยังได้รับปัจจัยหนุนจากการประกาศปรับลดกำลังการผลิตจากที่ประชุมกลุ่ม OPEC+ เพิ่มอีก 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน พ.ค. ไปจนถึงสิ้นปี 2566 ซึ่งเมื่อรวม กับมติก่อนหน้าที่ปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มอยู่แล้วที่ 2.5 ล้านบาร์เรล/วัน ส่งผลให้ ปริมาณการปรับลดน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC+ จะอยู่ที่ 3.66 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น สัดส่วน 3.7% ของความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลก โดยให้เหตุผลของการปรับลดเพื่อเป็น การรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน นอกจากนี้ในด้าน demand เองก็พบว่า เริ่มมี สัญญาณบวกทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมของโลกจากทั้งจีนเองที่พยายามหามาตรการมา กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงสถานการณ์วิกฤติภาคธนาคารเริ่มคลี่คลายลง หลังจากธนาคาร First Citizens BancShares เข้าซื้อกิจการธนาคาร SVB จึงคาดว่าน่าจะ ช่วยกระตุ้นความต้องการใช้ปิโตรเลียมให้ค่อยๆทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยเปิด upside ของราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยได้ประเมิน sensitivity analysis เบื้องต้นถึงผลกระทบต่อประมาณ การกำไร และมูลค่าพื้นฐานปี 2566 หากสมมติฐานราคาน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบในปี 2566 ปรับเพิ่มขึ้นทุก 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล และลดลงทุก 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จาก base case (ซึ่งเป็นสมมติฐานของฝ่ายวิจัย) ที่ 90 เหรียญฯต่อบาร์เรล แต่ยังคงสมมติฐานราคา น้ำมันดิบอ้างอิงดูไบระยะยาวตั้งแต่ปี 2567 ที่ 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล

ค้นหาหุ้นสภาพคล่องสูงที่กองทุนยัง UNDERWEIGHT อยู่

ฝ่ายวิจัยฯ ทำการรวมรวมข้อมูลทั้งหมดหุ้นที่กองทุนถือเยอะสุด 5 อันดับแรกของแต่ละ กองทุน (จากกลุ่มตัวอย่างกองทุนหุ้นไทยในสัดส่วน 75% ของ NAV รวม ณ สิ้นเดือน ก.พ. 66) พบว่า ช่วงที่มีการรายงานงบ 4Q65 กองทุนทยอยปรับลดพอร์ตการลงทุนลง พอสมควร โดยถือเงินสดสูงถึง 18.3% และมีหุ้นที่ถือมากสุด 11 อันดับแรก คือ AOT (BK:AOT), GULF, ADVANC, CPALL (BK:CPALL), PTT (BK:PTT), BBL, DELTA, PTTEP, MAKRO, BDMS, CPN

และหากนำข้อมูลหุ้นที่กองทุนถือเยอะ มาเทียบกับสัดส่วน Market Cap ในหุ้น 11 ตัวนั้น จะทำให้ประเมินในเบื้องต้นได้ว่า มีหุ้นที่กองทุน Overweight ส่วนใหญ่เห็นหุ้น ReOpening, หุ้น Anti Commodity และหุ้นได้แรงหนุนดอกเบี้ยขาขึ้น อย่าง AOT, GULF, BBL ส่วนหุ้น Neutral คือ ADVANC CPALL และหุ้นที่กองทุน Underweight ส่วนใหญ่ จะเป็นหุ้นอิงกับราคา Commodity, หุ้นผันผวนต่ำอย่าง PTT,PTTEP, MAKRO,BDMS, CPN และยังมีการถือหุ้น DELTA บางส่วน

ภาพรวมแสดงให้เห็นว่า กองทุนถือเงินสดค่อนข้างมาก และยัง Underweight หุ้นอิง ราคา Commodity พอสมควร ภายใต้ราคาน้ำมันยังมีโอกาสยืนระดับสูง ทั้งจากการ รักษาเสถียรภาพของ OPEC และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและจีน หนุนให้กองทุนมี โอกาสลดเงินสด ลดน้ำหนักหุ้นที่ Overweight หรือลดน้ำหนักหุ้น DELTA แล้วมา เพิ่มหุ้นอิงราคาน้ำมันที่ Underweight เพิ่มขึ้นได้

ส่วน Top pick วันนี้แนะนำหุ้น PTTEP (กองทุน Underweight) IVL (ราคา Laggard เข้าช่วง High Season) CK (ราคา Laggard ได้แรงหนุนจากธีมเลือกตั้ง)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย