ภาพใหญ่ของตลาดหุ้นไทย เห็นว่าน้ำหนักของแรงกดดันค่อยๆ ลดลงตามลำดับ เริ่มจาก แรงขายของต่างชาติที่บางลง และมีการเปิด long ใน Future กลับมา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเงินบาทที่เริ่มหยุดการอ่อนค่า ลำดับถัดมา Downside ของ ประมาณการกำไรปี 2566 เริ่มเห็นชัดเจนขึ้นหลังมีการปรับลดประมาณการกำไร ลงมาระดับหนึ่งแล้ว และที่สำคัญคือประเด็นเรื่องการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจาก การขายหุ้น ล่าสุดรัฐบาลมีการส่งร่าง พระราชกฤษฎีกา กลับไปให้ กระทรวงการคลังทบทวนใหม่ ซึ่งถือเป็นผลดีต่อภาพรวมของตลาดหุ้นในระยะยาว แรงกดดันจากปัจจัยต่างๆ ที่ลดลงน่าจะทำให้Downside ของ SET Index จำกัด และมีโอกาสดีดตัวกลับขึ้นมาได้ ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามคงเป็นสถานการณ์ด้าน การค้าระหว่างประเทศซึ่งตัวเลขปรากฎการขาดดุลการค้าระดับสูง ม.ค.66
ประเมินว่าแรงกดดันที่เคยทำให้ SET Index ปรับลดลงน่าจะเบาบางลง คาด Downside จำกัด และอาจเห็นการดีดตัวกลับได้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวช่วง 1610 – 1630 จุด หุ้น Top Pick เลือก CBG, NER และ HMPRO
ค่าเงินเดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่า หลังมรสุมดอกเบี้ยเบาลง
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเผยตัวเลขเงินเฟ้อยุโรปเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 8.5%YoY ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ระดับ 8.6%YoY แต่ยังสูงกว่าตลาดคาดที่ 8.2%YoY และหากเทียบกับรายเดือนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเป็น +0.8%MoM (เดือน ม.ค. อยู่ที่ -0.2%MoM) ส่วน Core CPI เดือน ก.พ. อยู่ที่ 5.6% YoY มากกว่าตลาดคาด และแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้หากพิจารณาจากองค์ประกอบของเงินเฟ้อ ส่วนใหญ่เร่งตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ยกเว้นในหมวดพลังงานที่เห็นการชะลอลง จากเหลือ 13.7%YoY และ -1.1%MoM
ปัจจัยด้านเงินเฟ้อของยุโรปที่มีแนวโน้มลดลงได้ช้ากว่าคาด เป็นแรงกดดันต่อการดำเนิน นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของ ECB เพื่อให้เงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% ทำให้ ตลาด Price in การขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 50 bps. ทั้งในการประชุมเดือนนี้(วันที่ 16 มี.ค.) และการประชุมรอบเดือน พ.ค.
สวนทางกับการดำเนินโยบายการเงินของ Fed ที่มีท่าทีผ่อนคลายมากขึ้น ถึงแม้ ตลาดแรงงานจะยังดูแข็งแกร่ง โดยมีสัญญาณล่าสุดคือ ตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงาน เพิ่มขึ้น 190,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 195,000 ตำแหน่ง และลดลงจากสัปดาห์ ก่อนหน้า 192,000 ตำแหน่ง สำหรับการประชุมวันที่ 22 มี.ค. นี้ มีโอกาสที่ Fed จะขึ้น ดอกเบี้ยอีกพียง 25 bps. (Fed Watch Tool ให้น้ำหนักราว 68.6%) ประกอบกับประธาน Fed สาขาแอตแลนต้า (ราฟาเอล บอสติก) และ หนึ่งในคณะกรรมการ Fed (คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์) สนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25 bps. เนื่องจากมองว่าผลของการขึ้นดอกเบี้ย ที่มากกว่าคาดการณ์อาจทำให้เศรษฐกิจเสียหายหนัก
ทั้งนี้จากประเด็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ECB (+50 bps.) ที่อาจมีอัตราเร่งตัวมากกว่า Fed (+25 bps.) ในการประชุมรอบเดือน มี.ค. นี้ ทำให้ค่าเงินดอลล่าห์มีแนวโน้มชะลอการ แข็งค่าลง ซึ่งจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อบ้านเราโดยตรงที่ค่าเงินบาทจะชะลอการอ่อน ค่าเช่นกัน
สรุป อัตราเงินเฟ้อยุโรปที่สูงกว่าคาดและมีแนวโน้มชะลอตัวได้ช้าลง เป็นผลให้การ ปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ECB (+50 bps.) อาจมีอัตราเร่งตัวที่มากกว่า Fed (+25 bps.) ในการประชุมรอบเดือน มี.ค. นี้ซึ่งน่าจะกดดันให้Dollar อ่อนค่า ส่งผลต่อการแข็งค่า ของเงินบาท ซึ่งจะทำให้บ้านเรามีเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น หนุน Flow ไหลเข้า สินทรัพย์เสี่ยง
ส่วนสัปดาห์หน้ามีประเด็นที่น่าติดตาม ได้แก่ การประกาศตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ. (วันที่ 7 มี.ค.) โดยตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ +4.16%YoY ปรับตัวลดลงมาจาก เดือน ม.ค. ที่ระดับ +5.02%YoY ส่วน Core CPI ก็มีแนวโน้มชะลอลงจาก 3.04%YoY มาอยู่ที่ 1.9%YoY ทั้งนี้หากเงินเฟ้อปรับตัวลดลงมากตามคาด ก็น่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นบ้านเราเช่นกัน
คัดหุ้นเด่นรับเลื่อนเก็บภาษีขายหุ้น ช่วยหนุนสภาพคล่อง และต่างชาติ กลับมาซื้อมากขึ้น
ความกังวลการเก็บภาษีฝั่งขายหุ้นเป็นส่วนหนึ่งที่กดดัน มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของ SET Index ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-ก.พ.) เหลือเพียง6.5 หมื่นล้านบาท/วัน และ ลดลงแรง -27%YoY เมื่อเทียบกับมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของ SET Index ในช่วง เดียวกันของปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 8.9 หมื่นล้านบาท
อีกทั้งยังเห็น Fund Flow ต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทยกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท(Ytd) โดยเฉพาะช่วงใกล้วันเก็บภาษีหุ้นเข้ามา อย่าง เดือน ก.พ. 66 นี้ต่างชาติขายหุ้นไทย 4.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าแรงในเดือนที่ผ่านมากว่า 6% อยู่ที่ระดับ 34.50- 35.00 บาท/เหรียญฯ
และหากเทียบมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันปีนี้กับปีที่แล้ว ออกแต่ละรายนักลงทุน พบว่า ต่างชาติเป็นนักลงทุนที่มีมูลค่าซื้อขายต่อวันมากสุด (สัดส่วนเกือบ 50%) ซึ่งมีมูลค่าลดลง จาก 3.59 หมื่นล้านบาท/วัน ในปี 2022 มาอยู่ที่ 3.26 หมื่นล้านบาท/วัน (ลดลง 9.4% หรือ 3.39 พันล้านบาท/วัน)
หากมีการเลื่อนเก็บภาษีหุ้นออกไปตามข่าว จะช่วยหนุนสภาพคล่องตลาดกลับมาคึกคัก มากขึ้น รวมถึง Fund Flow ต่างชาติที่เป็นผู้ซื้อขายสูงสุดอันดับ 1 กลับมาซื้อหุ้นไทยมาก ขึ้นเช่นกัน ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการคัดกรองหุ้นเด่นรับกระแสเลื่อนเก็บภาษีขายหุ้น ที่มี โอกาส Outperform ตลาด 2 ชุด คือ
1. หุ้นที่มีสภาพคล่องสูง (Turnover ตั้งแต่ต้นปี > 10%) และราคาย่อตัวลงมา จนน่าสะสม (Return ytd
2. หุ้นที่ต่างชาติซื้อสะสม (ytd) และราคาหุ้นปีนี้ยังปรับตัวขึ้นน้อย อย่าง CK, KCE, HMPRO, ADVANC, CBG, RS, KBANK (BK:KBANK), SINGER, BH, CHG, SPALI, TISCO แนะนำ ADVANC, HMPRO, KBANK, CBG, KCE
สรุปประเด็นเลื่อนภาษีขายหุ้นออกไป น่าจะช่วยทำให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคักอีก ครั้ง และน่าจะได้แรงหนุนจากนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาหลังจากเดือน ก.พ. ขาย สุทธิออกไปกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท อีกทั้ง SET ในบริเวณใกล้ๆ 1610 จุด ยังเป็นโซน น่าสะสม แนะนำหุ้นเด่นรับเลื่อนเก็บภาษีขายหุ้นทั้ง 2 ชุด คาดมีโอกาส Outperform ตลาดได้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities