ถือได้ว่า SET Index อยู่ในภาวะที่ขาดแรงขับเคลื่อนทั้งในทาง ปัจจัยพื้นฐาน และ Fund Flow โดยในส่วนของปัจจัยพื้นฐานพบว่า ผลประกอบการงวด 4Q65 ซึ่ง ประกาศออกมาแล้ว 92% ของ Market Cap พบว่ามีกำไรสุทธิเพียง 1.43 แสน ล้านบาท ลดลง 35% QoQ และ 45% YoY และที่สำคัญต่ำกว่า Bloomberg Consensus ถึง 40% ภาพของกำไรที่ต่ำดังกล่าวทำให้ค่า PER ของตลาดหุ้นไทย ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 19 เท่า ในส่วนของ Fund Flow พบว่า นักลงทุนต่างชาติ ยังขายสุทธิต่อเนื่อง ขณะที่แรงซื้อจากสถาบันในประเทศก็เบาบาง ภาวะดังกล่าว ทำให้ภาพรวม Turnover ของตลาดหุ้นไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งสถานการณ์ ดังกล่าวทำให้การปรับตัวขึ้นของ SET Index เกิดขึ้นได้ยาก ส่วนปัจจัยใน ต่างประเทศ ยังต้องติดตามความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ใกล้ชิดขึ้น
ประเมินว่า SET Index อยู่ในภาวะที่ขาดแรงขับเคลี่อน ใม่ว่าจะเป็นภาพของ ปัจจัยพื้นฐาน และ Fund Flow คาดว่าน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1621 – 1635 จุด หุ้น Top Pick เลือก CBG, SAWAD และ STEC
นักลงทุนคาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ 0.25% กดดัน
ตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ.66 Bond Yield ระยะสั้นขยับขึ้นเร็ว หนุนให้ YIELD CURVE พันธบัตรรัฐบาลของไทย ยังคงมีความชันลดลงอย่างต่อเนื่อง อาทิ ช่วงอายุ 1ปี ปรับตัวขึ้น 15.2 bps มาอยู่ที่ 1.73% (สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 1.5%) ขณะที่ระยะยาว 10 ปี 20 ปี ปรับตัวขึ้น 2.5 bps 1.6 bps เท่านั้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยตัวสั้นยังคงถูกค้ำยัน ด้วย ตลาดคาดคาดการณ์การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง วันที่ 29 มี.ค.66 มีโอกาสปรับขึ้นอีก 25 bps มาอยู่ที่ 1.75% โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ามีโอกาสที่ อัตราดอกเบี้ยปลายปีจะอยู่ระหว่าง 1.75%-2.00% ซึ่งตามกลไกจะเป็นตัวกดดันตลาด หุ้นฯให้ซื้อขายบน P/E ที่ลดน้อยลง ซึ่งทำให้ Target SET Index ณ ปลายปีลดลงเช่นกัน
ซึ่งสาเหตุหลักคงมาจาก นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ลดการถือครองตราสารหนี้ไทย โดย ก.พ.66 มียอดขายสุทธิกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท(ขณะที่ม.ค.66 ซื้อสุทธิ 2.4 หมื่นล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขายตราสารหนี้ระยะสั้นกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนราว 80%) ด้วยเหตุนี้จึงเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าแรงตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ.66 ราว 5.8% อยู่ระดับ 35.1 บาท/เหรียญฯ
สรุป ทั้งบาทที่อ่อนขึ้นมาเร็ว Bond Yield 1 ปีเร่งขึ้นสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย ถือเป็น ความเสี่ยงที่อาจเห็น กนง.มีโอกาสปรับขึ้นในรอบมี.ค.66 อีก 0.25% ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ราว 1-2 ครั้ง จะทำให้ตลาดหุ้นถูกดดันให้ซื้อขายบน P/E ที่ลดน้อยลง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยกดดันตลาดหุ้นระยะถัดไป
เศรษฐกิจไทยยังหวังพึ่งการบริโภคเอกชน + ท่องเที่ยวเป็นหลัก
วานนี้ สศค. เผยภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค. 2566 ได้รับแรงหนุนจากการ บริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น นำโดยหมวดสินค้าคงทนสะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์ จดทะเบียนใหม่ +10.1%YoY รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ พลิดมาขยายตัว +0.7YoY ขณะที่ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 51.7 จุด ซึ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 8 และสูงสุดในรอบ 26 เดือน ส่วนเสถียรภาพของประเทศดูดีขึ้น จากทั้งการ เพิ่มขึ้นของทุนสำรองฯ รวมถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง
ขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วง 4Q65 ที่มีการขยายตัวเพียง +1.4%YoY ทำให้ดัชนี GDP อยู่ที่ ระดับ 98.6 จุด ปรับตัวลดลงจาก 3Q65 ที่ระดับ 100.1 จุด ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ ฟื้นตัวจากช่วงก่อนเกิด COVID-19 (ต่ำกว่าสมมุติฐานที่ 100 จุด ณ สิ้นปี 2019) อีก ทั้งหลายส่วนประกอบเศรษฐกิจไทยในด้านการผลิตยังขยายตัวไม่เต็มที่ อาทิ กิจ กรรมการบริหารและการสนับสนุน (Sector SERVICE) 75.1 จุด, ที่พักแรมและบริการด้าน อาหาร (Sector TOURISM) 79 จุด, ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ (Sector MEDIA) 86 จุด, การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า (Sector TRANS) 87.8 จุด เป็นต้น ซึ่งภาคการ ผลิตในอุตสาหกรรมเหล่านี้ยังมีโอกาสฟื้นตัวได้อีกมาก
อย่างไรก็ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และต้อง ติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ จาก Demand ที่ชะลอตัวลง ทำให้เริ่มเห็นการปรับลดคาดการณ์GDP ลงมา โดยเริ่มจาก สภาพัฒน์ฯ ที่ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ลงจากกรอบ 3 – 4% เหลือ 2.7 – 3.7%
สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค. ได้รับแรงหนุนจากแรงหนุนจากการบริโภค ภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งเสถียรภาพของประเทศยังคงดูดี จากทั้งการเพิ่มขึ้น ของทุนสำรองฯ รวมถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจไทย ในปีนี้น่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ในอีกหลายอุตสาหกรรมที่อย่างไม่ฟื้นตัวจาดโควิด-19 อาทิ MINE, SERVICE, TOURISM, MEDIA, TRANS เป็นต้น ขณะเดียวกันความเสี่ยง เชิงภูมิรัฐศาสตร์ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
หาหุ้นกำไรฟื้น หลัง SET เดือน ก.พ. 66 ลงมากกว่าปกติ
เดือน ก.พ. 66 นี้ SET Index เผชิญกับแรงกดดันภายนอกทั้งประเด็นความเสี่ยงภูมิ รัฐศาสตร์, เงินเฟ้อสหรัฐที่ยืนระดับสูง และที่สำคัญคือการรายงานงบ 4Q65 ของบริษัทจด ทะเบียนไทยที่รายงานออกมา 538 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน Market Cap. 92% ลดลง 35%QoQ และ 45%YoY และหากดูเป็นราย Sector พบว่า กลุ่มที่ขาดทุน คือ PETRO, STEEL, ICT, CONS และกลุ่มที่กำไรลดลงแรง MEDIA, PKG, CONMAT, ENERG เป็นต้น
ส่งผลให้ SET Index ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงมา -2.64% ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี หากไม่นับปีที่เกิดวิกฤติดอทคอม (ก.พ. 2000) -21.62%, วิกฤติโควิด (ก.พ. 2020) - 11.47%
กลยุทธ์ในช่วงที่ตลาดเผชิญกับภาวะกำไรที่ออกมาต่ำคาด กดดัน Valuation ตลาด แพงขึ้น ดังนั้นการลงทุนต้องพิถีพิถันในการเลือกหุ้นมากขึ้น แนะนำเลือกหุ้นที่ปรับฐาน ลงมาลึก และกำไรงวด 4Q65 ผ่านจุดเลวร้าย (Bottom Out) มีโอกาสฟื้นได้ดีในระยะ ถัดไป แนะนำ SAWAD, STEC, CBG, IVL, BLA, JMT ส่วน Top pick ในวันนี้เลือก SAWAD, STEC, CBG
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities