ข่าวเด่น
เสนอซื้อเสนอขาย
ประเภทตราสารทั้งหมด

โปรดลองค้นหาใหม่อีกครั้ง

Investing Pro 0
👀 เบโซส์, บัฟเฟตต์ และ แบร์โควิตซ์: ในพอร์ตของพวกเขามีหุ้นตัวใดบ้าง? ปลดล็อกข้อมูล

ลุ้น สัญญาณอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) และ ระวังความเสี่ยงสงคราม รัสเซีย-ยูเครน

th.investing.com/analysis/article-200443446
ลุ้น สัญญาณอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) และ ระวังความเสี่ยงสงคราม รัสเซีย-ยูเครน
โดย Poon Panichpibool   |  Feb 20, 2023 08:26
บันทึกแล้ว ดู รายการที่ได้บันทึก.
ได้บันทึกบทความนี้ไว้เรียบร้อยแล้วใน รายการที่ได้บันทึก ของคุณ
 
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินเผชิญความผันผวน หลังอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอลงชัดเจนตามคาด
  • ควรติดตาม รายงานอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) รวมถึง ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และ รายงานการประชุมเฟดล่าสุด ขณะเดียวกัน ควรระวังความเสี่ยงสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่อาจร้อนแรงขึ้น

  • เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าต่อได้ หากอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด และ/หรือ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสดใส นอกจากนี้ หากในระยะสั้น ตลาดกังวลความเสี่ยงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็อาจหนุนความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง เงินดอลลาร์ เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) และทองคำ ได้ ส่วนในฝั่งเงินบาทนั้นยังขาดปัจจัยหนุนให้กลับมาแข็งค่า แต่ปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่ายังมีอยู่ ทำให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าทดสอบแนวต้านแถว 34.80 บาทต่อดอลลาร์ ได้ โดยเฉพาะในจังหวะตลาดปิดรับความเสี่ยง พร้อมการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ อนึ่ง นักลงทุนต่างชาติ อาจชะลอการขายสินทรัพย์ไทยลงบ้าง (โดยเฉพาะ หุ้นไทย) หลังเดินหน้าเทขายมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ การอ่อนค่าของเงินบาทอาจไม่ได้รุนแรงนัก ถ้าขาดแรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    34.25-34.90
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – ในช่วงนี้ ผู้เล่นในตลาดยังคงอยู่ในช่วงปรับมุมมองต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งธีมหลักอาจยังคงเป็น “Strong economic data = More Fed’s rate hikes = Bad for the markets” หรือรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาดอาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด กดดันบรรยากาศในตลาดการเงินได้ ซึ่งต้องจับตา รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ในเดือนมกราคม โดยภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงสดใส โดยเฉพาะในฝั่งตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว อาจทำให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline PCE) และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เช่น +0.4% จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อ PCE ก็อาจไม่ได้ชะลอลงชัดเจน ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในภาคการบริการที่ไม่รวมที่พักอาศัย (Core PCE Services Ex. Housing) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ประธานเฟดให้ความสำคัญ ว่าจะส่งสัญญาณชะลอลงบ้างหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ผ่านรายงานการประชุมเฟดล่าสุด และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งหากผลประกอบการรวมถึงแนวโน้มผลประกอบการในอนาคต ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจช่วยหนุนให้ บรรยากาศในตลาดการเงินเริ่มดีขึ้นได้ หรือ ลดแรงกดดันจากความกังวลแนวโน้มเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่างออกมาดีกว่าคาด และบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดก็สนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง (ควรจับตาว่า มีจำนวนเจ้าหน้าที่เฟดซึ่งเป็น Voting Members สนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ย +0.50% กี่ท่าน )

  • ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรป ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ โดยตลาดมองว่า เศรษฐกิจยูโรโซนยังมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนผ่านดัชนี PMI รวมของภาคการผลิตและภาคการบริการ (Composite PMI) เดือนกุมภาพันธ์ ที่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.6 จุด หลังความกังวลวิกฤตพลังงานคลี่คลายลง ตามการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของราคาแก๊สธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่อาจกดดันเศรษฐกิจยูโรโซน คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อ ส่วนในฝั่งเยอรมนี บรรดานักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน อาจยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนี ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ZEW Survey) เดือนกุมภาพันธ์ อาจปรับตัวขึ้นแตะระดับ 22 จุด ซึ่งภาพดังกล่าวจะสอดคล้องกับ มุมมองของบรรดาผู้ประกอบการในเยอรมนี โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (IFO Business Climate) อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 91.4 จุด ในเดือนกุมภาพันธ์ นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว เรามองว่า ควรระวังความเสี่ยงที่รัสเซียอาจเปิดฉากบุกโจมตียูเครนครั้งใหญ่อีกครั้งได้ในช่วงวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงครบรอบ 1 ปี การบุกยูเครนของรัสเซีย รวมถึงเป็นช่วงวันพิทักษ์ปิตุภูมิของรัสเซีย

  • ฝั่งเอเชีย – ตลาดคาดว่า ภาคการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องจะช่วยหนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการบริการขยายตัวดีขึ้น สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการบริการในเดือนกุมภาพันธ์ ที่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53 จุด อย่างไรก็ดี การทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ CPI ในเดือนมกราคมปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 4.3% ซึ่งแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นที่อยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะเพิ่มโอกาสที่ BOJ อาจปรับใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลดลงในปีนี้ได้ ทั้งนี้ ตลาดมองว่า ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย +0.50% สู่ระดับ 4.75% หลังอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงราว 7% ในขณะที่ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) อาจตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.50% หลัง BOK มองว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลง ตามภาพเศรษฐกิจโลกที่อาจไม่ได้สดใสนัก ส่วนอัตราเงินเฟ้อก็เริ่มชะลอลงตามคาด

ลุ้น สัญญาณอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) และ ระวังความเสี่ยงสงคราม รัสเซีย-ยูเครน
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ณัฐชาต เมฆมาสิน
คาดดัชนี SET เปิดตลาดปรับตัวลดลง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Oil & Gas โดย ณัฐชาต เมฆมาสิน - May 03, 2023

FOMC / BAM & CHAYO • SET: คาดดัชนี SET เปิดตลาดปรับตัวลดลง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Oil & Gas ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงแรงของราคาน้ามัน บ เมื่อคืนนี้...

Adipong Pathomsoontornchai
Scenario ของการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐในคืนนี้ โดย Adipong Pathomsoontornchai - Apr 07, 2023

Scenario ของการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรและอัตราการว่างงานของสหรัฐในคืนนี้ในวันนี้เวลา 19:30 จะมีการประกาศตัวเลขที่สำคัญมากๆนะครับ...

Poon Panichpibool
ระวังตลาดกังวลการขึ้นดอกเบี้ยเฟด หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอตามคาด โดย Poon Panichpibool - Feb 13, 2023 1

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินยังคงถูกกดดันจากความกังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด (ล่าสุดผู้เล่นในตลาดคาดเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยถึงระดับ 5.25%) ควรระวัง...

ลุ้น สัญญาณอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) และ ระวังความเสี่ยงสงคราม รัสเซีย-ยูเครน

แสดงความคิดเห็น

เกณฑ์การแสดงความคิดเห็น

เราสนับสนุนให้ท่านได้ใช้ช่องทางการแสดงความคิดเห็นนี้เพื่อสื่อสารสัมพันธ์กับผู้ใช้เว็บไซต์อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนในทัศนคติและสอบถามข้อสงสัยกับผู้เขียนและสอบถามซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การสื่อสารสัมพันธ์นี้เป็นไปอย่างเรียบร้อยที่เราทุกคนต้องการและคาดหวังดังนี้กรุณาพึงระลึกในข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้:  

  • มีเนื้อหาสาระ การสนทนาควรมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ
  • เอาใจใส่และตรงประเด็น กรุณาโพสต์ในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่กำลังอภิปราย
  • ให้เกียรติ แม้ในการแสดงความคิดเห็นเชิงลบก็ตามควรต้องกระทำในลักษณะสร้างสรรค์และสุภาพ
  • ใช้สไตล์การเขียนมาตรฐานทั่วไป ที่รวมถึงการใช้เครื่องหมายวรรคตอนและตัวอักษรใหญ่เล็ก
  • หมายเหตุ: ข้อความและลิงค์ประเภทสแปมและ/หรือเพื่อการส่งเสริมการขายที่ปรากฎในการแสดงความคิดเห็นจะถูกลบทิ้ง
  • หลีกเลี่ยงการลบหลู่ การให้ร้ายผู้อื่น และการกล่าวโจมตีโดยส่วนตัว ที่กระทำต่อผู้เขียนเนื้อหาในเว็บหรือต่อผู้ใช้เว็บไซต์คนอื่น
  • เฉพาะภาษาไทยเท่านั้น สามารถแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาไทยเท่านั้น

ผู้ที่โพสต์เนื้อหาข้อความสแปมหรือใช้เว็บไซต์นี้ไปในทางผิดจะถูกลบรายชื่อทิ้งจากเว็บไซต์และถูกปิดกั้นการลงทะเบียนเป็นสมาชิกในอนาคตซึ่งเป็นไปตามดุลพินิจของเว็บไซต์ Investing.com

เขียนบรรยายความคิดของคุณได้ที่นี่
 
คุณแน่ใจว่าต้องการลบกราฟนี้?
 
โพสต์
และโพสต์บน :
 
แทนที่กราฟที่แนบมาด้วยกราฟใหม่ ?
1000
ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นของคุณถูกระงับในขณะนี้เนื่องจากมีรายงานเชิงลบจากผู้ใช้เว็บไซต์ ผู้ดูแลเพจของเราจะทบทวนสถานะของคุณ
กรุณารอสักครู่ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ ความคิดเห็นของคุณทั้งหมดจะอยู่ระหว่างการอนุมัติจากผู้ดูแลระบบ ดังนั้นอาจใช้เวลาระยะหนึ่งก่อนที่จะปรากฎบนเว็บไซต์ของเรา
 
คุณแน่ใจว่าต้องการลบกราฟนี้?
 
โพสต์
 
แทนที่กราฟที่แนบมาด้วยกราฟใหม่ ?
1000
ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นของคุณถูกระงับในขณะนี้เนื่องจากมีรายงานเชิงลบจากผู้ใช้เว็บไซต์ ผู้ดูแลเพจของเราจะทบทวนสถานะของคุณ
กรุณารอสักครู่ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง
เพิ่มกราฟไว้ในคอมเมนต์
ยืนยันการบล็อก

คุณแน่ใจหรือว่าคุณต้องการบล็อก %USER_NAME%?

เมื่อทำการบล็อก คุณและ %USER_NAME% จะไม่สามารถเห็นโพสต์ของแต่ละฝ่ายบนเว็บไซต์ Investing.com ได้

%USER_NAME% ได้ถูกเพิ่มเข้าไปใน Block List ของคุณแล้ว

เนื่องจากคุณเพิ่งยกเลิกการบล็อกบุคคลนี้ คุณต้องรอ 48 ชั่วโมงก่อนการบล็อกอีกครั้ง

รายงานความคิดเห็นนี้

ฉันรู้สึกว่าความคิดเห็นนี้

ความคิดเห็นได้รับการติดธงเตือน

ขอบคุณ!

รายงานของคุณได้ถูกส่งไปยังผู้ดูแลบอร์ดของเราเพื่อการทบทวน
สมัครสมาชิกด้วย Google
หรือ
สมัครสมาชิกด้วยอีเมล