ราคาทองคําอาจปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน

เผยแพร่ 02/02/2566 19:55
อัพเดท 09/07/2566 17:32
GC
-

ราคาทองคําวันนี้ (2 ก.พ.) ปรับฐานขึ้นแกว่งตัวในกรอบ 1,947.60-1,959 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (16.25 น.) และมีแนวโน้มว่า หลังการแถลงผลการประชุม ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ราคาทองคําอาจปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากวันที่ผ่านมา ทั้งนี้ ราคาทองคําในวันที่ผ่านมา (1 ก.พ.) พุ่งขึ้นปิดตัวบวกถึง 21.4 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นผลจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ซึ่งเป็นตัวเลข ถดถอยลงตามคาดการณ์ จึงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลง หนุนราคาทองคําให้ปรับตัวขึ้นดังที่กล่าวไป ขณะที่ในวันนี้ คาดการณ์ว่า มติที่ประชุมของ ทั้ง ECB และ BOE จะออกมาในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.5% เพื่อต่อสู่กับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงตัวในระดับสูง ซึ่งจะมีผลให้ ค่าเงินยูโรและค่าเงินปอนด์ได้รับปัจจัยบวกต่อการแข็งค่าขึ้น กดดันค่าเงินดอลลาร์ให้ปรับตัวลงต่อไปอีก ส่งผลให้ราคาทองคําจะได้รับแรงหนุนเพิ่มขึ้นจาก สถานการณ์ตรงนี้ อย่างไรก็ตาม ราคาทองคําอาจจะปรับตัวขึ้นได้ไม่มากนัก เนื่องด้วยในก่อนหน้านี้ การเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของเยอรมนี ที่เป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 1 ของสหภาพยุโรปนั้น ออกมาย่ําแย่กว่าที่คาดการณ์ และเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุให้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ของ ECB อาจสร้างมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหภาพยุโรปเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเงินดอลลาร์อาจได้รับปัจจัยบวกจากมุมมอง ดังกล่าว เช่นเดียวกันกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BOE ที่อาจเพิ่มแรงหนุนต่อค่าเงินดอลลาร์ เพราะภาพรวมของเศรษฐกิจอังกฤษที่ไม่สู้ดีนัก สะท้อนจาก การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ลดคาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจของอังกฤษลง โดย IMF คาดว่า ในปีนี้ เศรษฐกิจอังกฤษจะหดตัวลง 0.6% จากก่อนหน้านี้ที่คาดการณ์ว่าจะหดตัวลงที่ 0.3% ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงต้องติดตามผลกระทบต่อราคาทองคํา หลังการแถลงผลการประชุมของ BOE และ ECB ในคืนนี้ เวลา 19.00 น. และ 20.15 น. ตามลําดับ นอกจากนั้น โปรดติดตามถ้อยแถลงของ คริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB ในช่วง 22.15 น. ซึ่งคาดว่าถ้อยแถลงดังกล่าวจะสะท้อนมุมมองที่มีต่อเศรษฐกิจยุโรป รวมถึงแนวโน้มการดําเนินนโยบายการเงินของ ECB ในระยะถัดไป

คําแนะนํา

• ราคาทองคําปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรง จนสร้างระดับสูงสุดใหม่จากเดือนก่อนหน้า

• หาจังหวะเปิดสถานะซื้อบริเวณ 1,934-1,916 ดอลลาร์ต่อออนซ์

• สถานะซื้อตัดขาดทุน หากหลุด 1,916 ดอลลาร์ต่อออนซ์

• หากราคาไม่ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,966-1,983 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนะนําแบ่งปิดสถานะซื้อเพื่อทํากําไร

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย