ราคาทองคํายังคงเคลื่อนไหวอย่างแข็งแกร่ง ทําสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 8 เดือนอีกครั้ง

เผยแพร่ 26/01/2566 19:59
GC
-

วันนี้ (26 ม.ค.) ราคาทองคํายังคงเคลื่อนไหวอย่างแข็งแกร่ง โดยทําการแตะระดับสูงสุดที่ 1,949.07 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นับเป็นการทําสถิติราคาสูงสุดใหม่ในรอบ 8 เดือนอีกครั้ง ทั้งนี้ ราคาทองคําถูกหนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมที่จะมาถึง หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ ออกมาก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่บ่งชี้ไปถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2022 ที่สํานักวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) สหรัฐ จะเปิดเผยในค่ําวันนี้ โดย BEA เคยให้คาดการณ์ไว้ว่า GDP ในไตรมาสดังกล่าวจะขยายตัว 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2021 ซึ่งเป็นการชะลอตัวจากไตรมาส 3/2022 ที่มีการขยายตัว 3.2% คาดการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับผลสํารวจนักเศรษฐศาสตร์ของบลูมเบิร์ก ซึ่งหากตัวเลขออกมาตามคาดการณ์ จะส่งเสริมการชะลออัตราปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงกดดันเงินดอลลาร์ และหนุนราคาทองคําให้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ Trip.com เปิดเผยว่า ในเทศกาลตรุษจีนที่พึ่งผ่านมานี้ การท่องเที่ยวจีนสามารถฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับ ช่วงก่อนวิกฤติโควิด-19 ได้เป็นที่เรียบร้อย สนับสนุนมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจจีน ซึ่งนับเป็นอีกปัจจัยบวกต่อราคาทองคํา อย่างไรก็ตาม ราคาทองคํายังคงมีปัจจัยกดดันอย่าง การขายทํากําไร เนื่องจากราคาทองคําได้ทําสถิติราคาสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ โปรดติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐก่อนการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้า โดยหากตัวเลขที่ออกมา สะท้อนถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ก็จะยิ่งเพิ่มแรงสนับสนุนให้เฟดชะลออัตราขึ้นดอกเบี้ยตามที่คาดการณ์ ซึ่งจะหนุนให้ราคาทองคําเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้นต่อไป

ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้น โดยราคาสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันก่อนหน้าได้อย่างต่อเนื่อง รอเปิดสถานะซื้อ หากราคาอ่อนตัวลง และสามารถยืนเหนือแนวรับ 1,925-1,907 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทยอยปิดสถานะซื้อทํากําไรหากราคาปรับตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้านโซน 1,950-1,956 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สถานะซื้อตัดขาดทุนหากราคาหลุดแนวรับ 1,907 ดอลลาร์ต่อออนซ์

คําแนะนํา

• ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้น โดยราคาสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันก่อนหน้าได้อย่างต่อเนื่อง

•  รอเปิดสถานะซื้อ หากราคาอ่อนตัวลง และสามารถยืนเหนือแนวรับ 1,925-1,907 ดอลลาร์ต่อออนซ์

•  ทยอยปิดสถานะซื้อทํากําไรหากราคาปรับตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้านโซน 1,950-1,956 ดอลลาร์ต่อออนซ์

•  สถานะซื้อตัดขาดทุนหากราคาหลุดแนวรับ 1,907 ดอลลาร์ต่อออนซ์

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย