เงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายนชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 5.55% ตามการปรับตัวลดลงของอาหารสด

เผยแพร่ 08/12/2565 08:50
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Headline Inflation November 2022

Actual: 5.55% Previous: 5.98%

KTBGM: 6.00% Consensus: 5.85%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายนชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับ 5.55% จากการปรับตัวลดลงของราคาอาหารสด โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายลง ทั้งนี้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าโดยสารสาธารณะที่ปรับตัวสูงขึ้นได้เป็นปัจจัยหนุนให้เงินเฟ้อคงยังอยู่ในระดับสูง

  • ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากราคาพลังงาน ราคาอาหาร รวมถึงค่าโดยสารสาธารณะยังคงอยู่ในระดับสูงจากปีก่อนหน้า อีกทั้ง การบริโภคในประเทศก็มีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรในช่วงหลังภาวะน้ำท่วม อานิสงส์จากมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐ รวมถึงการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอาจช่วยลดทอนการปรับขึ้นของเงินเฟ้อได้

  • แม้เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มชะลอลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบ 1%-3% ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้เรายังคงมองเดิมว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ครั้งละ 0.25% จนแตะระดับ 2.00% ในกลางปีหน้า

  • ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ อาทิ ความไม่แน่นอนของการปรับค่าไฟฟ้า รวมถึงการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 5.55% ลดลงต่อเนื่อง จากระดับ 5.98% ในเดือนตุลาคม

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด ลดลง -0.13% จากเดือนก่อนหน้า ชะลอลงชัดเจนจาก +0.33% ในเดือนตุลาคม โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหารและครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ -0.61% โดยเฉพาะ ผัก ผลไม้ -5.4% หลังปริมาณผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น จากสถานการณ์น้ำท่วมที่คลี่คลายลง ส่วนราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ต่างปรับตัวขึ้นไม่มากนัก อาทิ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวขึ้นราว +0.9%

  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 5.55% จาก 5.98% ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นราคาสินค้าพลังงานและราคาหมวดอาหารที่อยู่ในระดับสูงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งผ่านต้นทุนที่สูงของผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ แต่ไม่ได้รุนแรงมากนัก ทั้งนี้ เมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.22% สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ

  • กระทรวงพาณิชย์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคมอาจขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า หนุนโดยราคาพลังงาน ราคาอาหารและค่าโดยสารสาธารณะที่ยังอยู่ในระดับสูงจากปีก่อนหน้า ทว่า มาตรการดูแลค่าครองชีพ รวมถึงแนวโน้มการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท จะช่วยลดทอนแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ ตามภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การส่งผ่านต้นทุนของผู้ผลิตและความความไม่แน่นอนของการปรับค่าไฟฟ้า อนึ่ง กระทรวงพาณิชย์คงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปที่ระดับ 5.5%-6.5% ในปีนี้ (ค่ากลาง 6.0%)

แนวโน้มเงินเฟ้อไทยชะลอลงชัดเจน ยิ่งสนับสนุนการทยอยขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% ของ กนง. โดยเฉพาะในจังหวะที่เฟดก็อาจชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย

  • รายงานเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุด ได้ย้ำแนวโน้มการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานก็ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ตามภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ทำให้เรามั่นใจว่า เงินเฟ้อของไทยผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และไม่ได้มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจนน่ากังวล ซึ่งเราประเมินว่า หากเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ +0.2% ก็จะทำให้เงินเฟ้อทยอยปรับตัวกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเป็นไปตามที่ ธปท. คาดการณ์ได้ในปีหน้า นอกจากนี้ ท่าทีของบรรดาธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะเฟดที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย ทำให้เราคงมุมมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังไม่เปลี่ยนท่าทีในการทยอยขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% และจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องจนแตะระดับสูงสุด (Terminal Rate) 2.00% ในช่วงกลางปีหน้า

  • อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงต่อแนวโน้มเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะทิศทางราคาพลังงาน โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของการปรับค่าไฟฟ้า ซึ่งแม้จะมีน้ำหนักในตะกร้าเงินเฟ้อไม่มาก ราว 5% แต่หากมีการปรับเพิ่มขึ้นมาก ก็อาจหนุนให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้การส่งผ่านต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นได้ และอีกประเด็นสำคัญที่ควรจับตาอย่างใกล้ชิด คือ ราคาสินค้าพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบและราคาแก๊สธรรมชาติ หลังประเทศในกลุ่ม G7 ได้เริ่มใช้มาตรการคุมราคาขายน้ำมันรัสเซีย ทำให้ทางการรัสเซียอาจตอบโต้กลับ ด้วยการปรับลดกำลังการผลิต หรือเพิ่มความรุนแรงของสงครามรัสเซีย-ยูเครนได้ อย่างไรก็ดี เรามองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอาจช่วยลดความต้องการใช้พลังงานและทำให้ราคาสินค้าพลังงานอาจไม่ได้ปรับตัวขึ้นไปมาก เช่น ราคาน้ำมันดิบอาจยังคงต่ำกว่าระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อนึ่ง หากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวดีขึ้นมาก ก็อาจช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นได้ แต่เรามองว่า ภาพดังกล่าวจะยังไม่เกิดขึ้นในช่วงระยะสั้น จนกว่าจะเห็นการผ่อนคลายมาตรการ Zero COVID ที่ชัดเจน หรือทางการจีนเริ่มระดมแจกจ่ายวัคซีน mRNA หรือ วัคซีนเชื้อตายจาก Omicron

  • แม้ว่าผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่จะรับรู้แนวโน้มการทยอยขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ไปมากแล้ว แต่เรามองว่า ระดับบอนด์ยีลด์ระยะสั้น รวมถึงระยะกลาง อย่าง บอนด์ยีลด์ 2 ปี (1.73%) และบอนด์ยีลด์ 5 ปี ของไทย (2.12%) กลับอยู่ในระดับที่เรามองว่า “ไม่น่าดึงดูด” เมื่อเทียบกับมุมมองของเราต่อ Terminal Rate ของ กนง. ที่ระดับ 2.00% ทำให้เรามองว่า นักลงทุนควรรอจังหวะให้ บอนด์ยีลด์ระยะสั้น รวมถึงระยะปานกลางมีการปรับตัวสูงขึ้นบ้าง เพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือ Buy on Dip นอกจากนี้ เรามองว่า ปีหน้าจะเป็นปีที่ภาพเศรษฐกิจโดยรวมจะเผชิญความท้าทายมากขึ้น และเศรษฐกิจหลักมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้ ในขณะที่ นโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางอาจผ่านจุด “เร่งขึ้นดอกเบี้ย” และเริ่มเข้าสู่ “จุดจบของดอกเบี้ยขาขึ้น” ทำให้ การทยอยลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง พันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว หรือ ระยะกลาง ก็เป็นทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ แต่นักลงทุนอาจพิจารณาทยอยเพิ่มสถานะการถือครองในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ดังกล่าวมีการปรับตัวสูงขึ้น มากกว่าที่จะไล่ราคาซื้อในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวลดลง

inflation chart

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย