รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ยังอยู่ในช่วงของการดีดตัวกลับ 

เผยแพร่ 05/10/2565 09:47
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ภาพใหญ่ของประเด็นในต่างประเทศ เป็นเรื่องของการถ่วงดุลระหว่างการปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายของ Fed กับความกังวลเรื่อง Recession ที่จะเกิดขึ้น โดยล่าสุด น้้าหนักของความกลัวเรี่อง Recession ดูจะมีมากกว่าหลังการประกาศตัวเลข เศรษฐกิจที่ไม่ดี ท้าให้มุมมองเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงของ Fed เบาลง หนุนให้ ตลาดหุ้นในสหรัฐปรับตัวขึ้นแรง ซึ่งถือเป็น Sentiment บวกต่อตลาดหุ้นบ้านเรา ในเช้านี้ ส่วนประเด็นที่ติดตามคือการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อบ้านเราในเดือน ก.ย. 65 ซึ่ง Consensus คาดลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 6.6% YoY โดยที่ฝ่ายวิจัยคาดว่า เป็นไปได้ที่จะลงมาต่้ากว่านั้นได้ ทั้งนี้ตัวเลขเงินเฟ้อที่เบาลง ช่วยลดแรงกดดันเรื่อง การปรับขึ้นดอกเบี้ย ของ กนง. และน่าจะเป็นแรงเสริมให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจมี ความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทย

SET Index มีโอกาส Rebound ต่อกรอบ 1570 – 1593 จุด พอร์ตจ้าลองวันนี้ไม่ มีการปรับเปลี่ยน โดยปัจจุบันไม่มีการถือเงินสดส้ารอง ส้าหรับหุ้น Top Pick เลือก CPN, CRC และ JMT เช่นเดิม

ตลาดหุ้นสหรัฐฯฟื้นตัว จากความกังวลเร่งขึ้นดอกเบี้ยลดลง แต่ต้องระวัง RECSSION มากขึ้น

ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นแรงต่อเนื่อง โดยเริ่มจากฝั่งสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2.8% ถึง 3.7% ขณะที่ฝั่งยุโรปดีดตัวขึ้นแรงราว 2.6% ถึง 4.3% เนื่องจากความกลัวว่าเศรษฐกิจจะ อยู่ในภาวะถดถอย (Recession) หลังตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ทยอยประกาศออกมาแต่กว่าที่ คาด อาทิ PMI เดือน ก.ย. 65 ของสหรัฐต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี, PMI เดือน ก.ย. 65 ของ ยุโรปต่ำสุดในรอบกว่า 27 เดือน ทำให้ตลาดหุ้น Rebound กลับมาได้ในช่วงสั้น โดย สะท้อนได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

1. Bond Yield ของสหรัฐปรับตัวลดลง โดยBond Yield 2 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 4.1% ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับ 3.6% สะทัอนความกลัวเรื่อง Recession และ ดอกเบี้ยที่น่าจะปรับขึ้นในอัตราที่ช้าลง

2. Dollar Index อ่อนค่า โดยปรับลดลงมากว่า 4% จากจุด Peak ที่ระดับ 114.78 (28 ก.ย. 65) สู่ระดับ 110.14 (4 ต.ค. 65)

ความกลัวว่าเศรษฐกิจจะเกิด Recession เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารกลางหลาย แห่งมีแนวโน้มชะลอการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยล่าสุดธนาคารกลาง ออสเตรเลีย (RBA) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดกาณ์ ไว้ก่อนหน้าที่ 0.5% ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีท่าทีปรับลดความน่าจะเป็นในการ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งหน้าเช่นกัน เมื่อเทียบกับ ณ วันประชุมครั้งที่ผ่านมา โดย พิจารณาจาก FED Watch Tool

  • วันที่ 22 ก.ย. 65 (หลัง Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 3.25%) การประชุม ครั้งหน้ามีโอกาสสูงถึง 63.5% ที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งหน้า0.75% และปลายปี 66 อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับ 4.5%

  • ขณะที่ปัจจุบัน วันที่ 5 ต.ค. 65 (ความกลัวเศรษฐกิจ Recession เข้ามาต่อเนื่อง) มีการปรับลดน้ำหนักลงมาในระดับ 62.2% ที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งหน้า 0.75% และคาดว่าปลายปี 66 อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับ 4.25%

สรุป ตลาดหุ้นฟื้นช่วงสั้น หลังความกังวลเร่งขึ้นดอกเบี้ยลดลง แต่ต้องระวัง RECSSION มากขึ้น คาดเป็นอานิสงค์เชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยให้กลับมาฟื้นตัวในระยะ สั้นได้เช่นกัน

วันนี้ติดตามเงินเฟ้อไทยเดือย ก.ย.65 ตลาดคาด 6.6%YOY เดือนก่อน +7.8%YOY

วันนี้ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย.65 ที่ตลาดคาด จะลดลงอยู่ที่ +6.60%yoy จาก เดือนก่อนหน้า +7.86%yoy ซึ่งเหตุผลหลักๆมาจาก ราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ปรับตัวลงในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานคาดอยู่ที่ +3.20%yoy ทรงตัวจากเดือน ก่อนหน้าที่ระดับ +3.15%yoy

ขณะที่ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าอัตราเงินเฟ้อมีโอกาสลดลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน โดยอยู่ที่ ระดับ +6.2%yoy ซึ่งมี 2 เหตุผลที่สนับสนุน ดังนี้

1. ฐานอัตราเงินเฟ้อไทยเดือน 9 ของปีที่แล้วสูง โดยอยู่ระดับ 101.20 จุด หรือ +1.6%mom

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

2. การเพิ่มขึ้นรายเดือนของอัตราเงินเฟ้อดูชะลอลง โดยล่าสุดเดือน ส.ค.65 บวก เพียง 0.05%mom ซึ่งหากใช้สมมุติฐานเดียวกัน จะทำให้CPI Index เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ 107.51 จุด และพอเทียบ yoy จากฐาน CPI Index ที่สูงของเดือน ก.ย. 64 ทำให้อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย.65 บวกเพียง 6.2%yoy

ซึ่งหากพิจารณาการตอบสนองต่อตลาดหุ้น จะเห็นได้ว่า มีโอกาสสูงที่ตลาดหุ้นไทยจะ ปรับตัวขึ้นแรงในช่วงสั้น สังเกตจากฝั่งสหรัฐฯที่อัตราเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด ณ เดือน ก.ค.65 โดยเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน ก.ค.65ลดลงครั้งแรกเหลือ 8.5%yoy (ตลาดคาด 8.7%yoy) จาก เดือนก่อน 9.1%yoy ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯทั้ง S&P และ Nasdaq ปรับขึ้น 2.1% และ 2.9% ตามลำดับ (1 วันหลังวันประกาศ) ขณะที่ 5 วันหลังประกาศตลาดหุ้นสหรัฐฯยัง Outperform ทั้ง S&P และ Nasdaq ปรับขึ้น 4.4% และ 4.9% ตามลำดับ

สรุป หากตัวเลขเงินเฟ้อไทยออกมาต ่า จะช่วยผ่อนคลายความกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ย ของ ธปท. และช่วงสั้นตลาดหุ้นไทยมีโอกาสรีบาวน์เฉกเช่นเดียวกันตลาดหุ้นสหรัฐฯที ประกาศอัตราเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในเดือน ก.ค.65 โดยวันนี้ SET Index มี โอกาสทดสอบแนวต้านแรกที ระดับ 1593 จุด

ขณะที่ กลยุทธ์การลงทุนเน้น Domestic Consumption Play อย่าง AOT (BK:AOT), BEM, ADVANC, CENTEL, ERW, HMPRO, CPN, CRC, JMT, OSP, CBG ส่วน Top pick วันนี้เลือก CPN CRC JMT

ตลาดหุ้นไทยมีความถูกของ P/E แอบซ่อนอยู่ พร้อมกับกำไรเติบโตต่อ แรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยต่ำ

แม้SET Index (ณ ก.ย. 65) จะมี Tailing P/E ที่ 17.64 เท่า แต่จริงแล้วยังมีความถูกของ P/E แอบซ่อนอยู่ หากพิจารณาจากค่ากลางของ P/E (Median) ต่ำเพียง 15.8 เท่า และ ถ้าหัก 5 หุ้นใหญ่ P/E สูง ออก อาทิ AOT มี P/E N/A, DELTA 75.6 เท่า, GULF 64.8 เท่า, EA 55.7 เท่า, CRC 85.6 เท่า, ออก SET Index จะมี P/E (Ex 5 Big Company) เหลือเพียง 15.1 เท่า หนุนให้ภาพรวมยังมีหุ้นอีกหลายบริษัทใน SET Index ที่ยังน่าสะสมเพิ่มเติม อีกทั้งการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปของไทย ตามกลไกช่วยให้แรงกดดัน P/E แพงขึ้น น้อยกว่า ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วที่เร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็ว

ในมุมเศรษฐกิจไทยยังมีช่องว่างให้ฟื้นต่อ เนื่องจากยังฟื้นไม่ถึงช่วง Pre-Covid ต่างจาก หลายประเทศที่ฟื้นเกินไปพอสมควร รวมถึงแนวโน้มการเติบโต GDP ปี 2566 หลายสำนัก ฯ คาดอยู่ในกรอบ 3.2% - 4.2% สูงกว่าการเติบโตของ GDP โลก ที่ OECD คาดเติบโต 2.2%

ช่วยหนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยฝ่ายวิจัยประเมินกำไรบริษัทจด ทะเบียนปีนี้ EPS65F อยู่ที่ 96.1 บาท/หุ้น เติบโต 12% และปีหน้าเติบโตต่อราว 5% ซึ่ง หากดูการเติบโตเฉพาะหุ้นที่ไม่ได้อยุ่ในกลุ่มพลังงานและปิโตรฯ เติบโตเด่นถึง 5.2% ปีนี้ และ 14.3% ในปีหน้า

กลยุทธ์ยามที ตลาดหุ้นไทยย่อตัวลง ยังคงแนะน่าเข้าสะสมหุ้น Domestic หลีกเลี ยง ความผันผวนจากต่างประเทศ อย่าง ADVANC, ASK, BBL, BEM, CENTEL, HMPRO, GULF คาดหวังการฟื้นตัวได้ดีในช่วงที เหลือของปี

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย