ลุ้น รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ และติดตามประเด็นแผนงบประมาณใหม่ของอังกฤษ

เผยแพร่ 03/10/2565 08:39
อัพเดท 09/07/2566 17:32
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินโดยรวมอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงหนักและความผันผวนสูงของตลาดพันธบัตรรัฐบาล
  • ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ อาทิ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) นอกจากนี้ ท่าทีของรัฐบาลอังกฤต่อการปรับแผนงบประมาณใหม่ จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

  • โมเมนตัมของเงินดอลลาร์อาจเริ่มลดลงบ้าง และเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลง ท่ามกลางกระแสการเข้าแทรกแซงค่าเงินของหลายประเทศ ทว่า เงินดอลลาร์พร้อมกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ หากรัฐบาลอังกฤษยังยืนกรานใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจและลดภาษีตามเดิม ซึ่งอาจกดดันให้เงินปอนด์ (GBP) พลิกกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งได้ ส่วนเงินบาทอาจแกว่งตัว sideways โดย ควรจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ หากแรงขายสินทรัพย์ไทยเริ่มลดลงก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้ ในระยะสั้นนี้ แนวต้านเงินบาทจะอยู่ในช่วง 38.20-38.40 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวรับสำคัญจะอยู่ในช่วง 37.50 บาทต่อดอลลาร์

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    37.50-38.30
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะ ข้อมูลตลาดแรงงาน ซึ่งตลาดประเมินว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ อาจยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวต่อเนื่อง โดยยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) อาจสูงกว่า 11 ล้านตำแหน่ง หรือเกือบ 2 เท่าของจำนวนผู้ว่างงาน นอกจากนี้ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนกันยายน อาจสูงกว่า 2.6 แสนราย ทำให้อัตราการว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 3.7% ส่วนการเติบโตของรายได้ (Average Hourly Earnings) อาจสูงราว 5.1%y/y สะท้อนภาพตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งและจะหนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยตาม Dot Plot ล่าสุดของเฟด ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดเพื่อประเมินมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย หลังในสัปดาห์ที่ผ่านมา บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างออกมามาสนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะคุมปัญหาเงินเฟ้อได้ อย่างไรก็ดี เราเริ่มเห็นเจ้าหน้าเฟดบางส่วนแสดงความกังวลผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ทำให้มีโอกาสที่เฟดอาจไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปมากกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด หากแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อ

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปยังคงไม่สดใสนัก โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) ยูโรโซน ในเดือนสิงหาคม อาจหดตัว -0.4% จากเดือนก่อนหน้า กดดันโดยภาวะเงินเฟ้อสูงที่ส่งผลให้ค่าครองชีพเร่งตัวสูงขึ้น รวมถึงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโดยรวม อนึ่ง ประเด็นที่ตลาดจะรอติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ท่าทีของรัฐบาลอังกฤษต่อแผนงบประมาณใหม่ โดยหากรัฐบาลอังกฤษยังคงยืนกรานใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจและแผนลดภาษีตามเดิม (หรืออาจปรับลดวงเงินเล็กน้อย) อาจทำให้ตลาดการเงินยังคงกังวลปัญหาการคลังของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษผันผวนอีกครั้งได้ โดยบอนด์ยีลด์อาจปรับตัวสูงขึ้น ตามแรงขายพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอังกฤษและส่งผลให้เงินปอนด์ (GBP) อ่อนค่าลง ทั้งนี้ เราเชื่อว่า ในสถานการณ์ดังกล่าว ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ก็พร้อมเข้ามาช่วยดูแลเสถียรภาพของตลาดการเงิน ผ่านการซื้อพันธบัตรระยะยาวชั่วคราว ซึ่งอาจช่วยลดทอนความรุนแรงของผลกระทบได้ชั่วคราว จนกว่าตลาดจะคลายกังวลปัญหาการดำเนินนโยบายการคลังและกลับมามีความเชื่อมั่นในรัฐบาลอังกฤษ

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า บรรดาผู้ประกอบการในญี่ปุ่นอาจเริ่มมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะในภาคการบริการ หลังรัฐบาลเตรียมเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ สะท้อนผ่าน ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Tankan Survey) ในไตรมาส 3 สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กนอกภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 14 จุด และ -2 จุด ตามลำดับ ในส่วนนโยบายการเงิน ตลาดคาดว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 2.85% เพื่อคุมเงินเฟ้อ (ล่าสุดสูงถึง 6.1%) และลดแรงกดดันต่อค่าเงิน AUD เช่นเดียวกันกับ ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ที่จะเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 3.50% หลังเงินเฟ้อพุ่งขึ้นต่อเนื่องแตะระดับ 7.3%

    • ฝั่งไทย – ตลาดประเมินว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาจขยายตัวในอัตราชะลอลงเล็กน้อยในเดือนกันยายน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตอาจลดลงสู่ระดับ 53.4 จุด ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าที่กระทบความต้องการสินค้าส่งออกสำคัญของไทย อย่างไรก็ดี แนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจในประเทศจากแรงส่งของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน จะช่วยหนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกันยายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50 จุด และ 44 จุด ตามลำดับ อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอาจถูกกดดันจากภาวะเงินเฟ้อสูงได้บ้าง ท่ามกลางการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าและบริการ รวมถึงค่าไฟฟ้า ซึ่งเราประเมินว่าเงินเฟ้อทั่วไป CPI เดือนกันยายนจะยังคงอยู่ในระดับสูงราว 7.2% แต่มีแนวโน้มเริ่มชะลอตัวลง

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย