รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

คุณจะลงทุนอย่างไรเมื่อเฟดยังต้องการให้ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงอยู่?

เผยแพร่ 28/06/2565 10:33
อัพเดท 02/09/2563 13:05

เจมส์ บลูราร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ คือคนที่เคยสนับสนุนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อมาตั้งแต่ปีที่แล้ว การขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ถือว่าสมใจอยากของเขา และก็ยังสนับสนุนให้เฟดทำเช่นนั้นต่อไปจนกว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงมา ถึงกระนั้น เขาก็มองว่านักลงทุนในตลาดตอนนี้กำลังกลัวกับคำว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากเกินไป ที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงขยายตัว ณ งานอีเวนต์ UBS ที่ซูริค เขาให้สัมภาษณ์ว่า

“การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่อาจจะชะลอตัวลงตามแนวโน้มการเติบโตมากกว่าการอยู่ต่ำกว่าแนวโน้ม ผมไม่คิดว่านี่เป็นการชะลอตัวครั้งใหญ่ ผมคิดว่ามันเป็นการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง”

แต่ในมุมมองของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) กลับไม่ได้มองโลกในแง่ดีขนาดนั้น ข้อมูลในรายงานเศรษฐกิจประจำปี BIS เคยให้ข้อมูลเอาไว้ว่าถ้าอยากจะให้การขึ้นดอกเบี้ยได้ผล ธนาคารกลางจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สามารถแซงหน้าตัวเลขเงินเฟ้อได้อยู่เสมอ

“การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลง เป็นการยากที่จะประนีประนอมกับความจำเป็นในการตรวจสอบความเสี่ยง ที่มีความเกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อ เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตของแรงกดดันที่เกิดจากเงินเฟ้อในช่วงปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อสามารถบรรเทาผลกระทบจากฝั่งอุปสงค์ได้”

หรือถ้าจะให้กล่าวง่ายๆ คือ BIS ไม่เชื่อว่าการลดเงินเฟ้ออย่างค่อยเป็นค่อยไปจะสามารถแก้ไขปัญหาครั้งนี้ได้ คำถามคือแล้วแนวคิดของใครกันแน่ที่ถูกระหว่างเจมส์ บลูราร์ด กับ BIS?

กลับมาที่สหรัฐอเมริกา Joachim Klement หนึ่งในนักวิเคราะห์การลงทุนพาดหัวข่าวให้ความเห็นใน MarketWatch ว่า “เจอโรม พาวเวลล์ คือประธานเฟดที่แย่ที่สุดในชีวิตของเขา” Joachim ให้ความเห็นว่าการตัดสินใจของพาวเวลล์เป็นไปตามความกังวลของนักลงทุนในตลาด ทำให้เขาเป็นประธานเฟดที่อ่อนแอที่สุด เหมือนในช่วงปลายปี 1960 มาจนถึงช่วงต้นปี 1970

“ประธานเฟดที่แข็งแกร่งจะต้องสามารถอธิบายต่อสาธารณะชนได้อย่างตรงไปตรงมา และต้องสามารถกดเงินเฟ้อลงมาได้เร็ว แต่ภายใต้การควบคุมของพาวเวลล์นั้น เปรียบเสมือนเฟดเป็นสุนัขที่หางกระดิกเฉพาะตอนที่ตลาดได้แสดงปฏิกริยากับตลาดลงทุนไปแล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมเราถึงเห็นตลาดหุ้นมีสภาพเช่นนี้ เพราะเฟดเอาแต่ขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงตามที่ตลาดต้องการ”

Joachim ต้องการให้เฟดให้ความสำคัญกับตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐาน แทนที่จะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยเพราะปัจจัยอย่างซัพพลายขาดแคลน ที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมาก แต่สิ่งที่ Joachim และบลูราร์ดคิดเหมือนกันก็คือเฟดควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตั้งแต่ช่วงที่เงินเฟ้อพึ่งจะเริ่มเติบโต แต่ตอนนี้ต่อให้เฟดจะมาขี้นอัตราดอกเบี้ยเพราะอ้างอิงตามตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานก็อาจจะไม่ทันแล้ว เพราะตอนนี้เงินเฟ้อยังมีปัจจัยสนับสนุนคือความต้องการที่ฟื้นตัวกลับมาแล้ว มีมากจนฝั่งซัพพลายตามไม่ทัน

ในถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวลล์ ที่มีต่อสภาคองเกรสเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาก็เป็นคนยอมรับด้วยตัวเองว่าเศรษฐกิจอเมริกาในปัจจุบันมีความเสี่ยงที่อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น อันเป็นผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เขาก็บอกว่าให้สบายใจได้เพราะตอนนี้ตัวเลขการว่างงานถือว่าอยู่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยขึ้นก็ตาม แปลว่าเจอโรมรู้ความเสี่ยงนี้ดีอยู่แล้ว แต่ก็ยังเลือกที่จะทำ

“สิ่งสำคัญสำหรับพวกเราตอนนี้คือไม่มีโอกาสให้พลาดอีกแล้ว เรา (เฟด) ต้องกดเงินเฟ้อให้ลงมาอยู่ในกรอบ 2% ให้ได้ และจนกว่าเราจะเห็นหลักฐานซึ่งเป็นตัวเลขเศรษฐกิจว่าเงินเฟ้อได้ปรับตัวลดลงมาแล้วนั้น เราจึงจะสามารถประกาศชัยชนะได้อย่างเต็มภาคภูมิ” - เจอโรม พาวเวลล์ กล่าว

สำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไป ตลาดลงทุนเชื่อว่าเฟดจะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือนกรกฎาคมแน่นอน หลังจากที่สามครั้งก่อนหน้านี้พวกเขาก็ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาโดยตลอด ถ้าถาม Joachim ว่าขึ้นดอกเบี้ยมาขนาดนี้แล้วคิดว่าน้อยเกินไปไหม? อาจจะใช่ แต่ถ้าถาม BIS? ก็ไม่แน่…

ความคิดเห็นล่าสุด

ถอนเงินยังใง
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย