รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

Fed Minutes ไม่สร้างความประหลาดใจ

เผยแพร่ 26/05/2565 10:29
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Fed Minutes ที่ออกมาดูไม่สร้างความแปลกใจ โดย Fed มีแนวโน้มที่จะขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายในอัตรา 0.5% ในการประชุมรองเดือน มิ.ย. และ ก.ค.65 หลังจากนั้นน่าจะกลับมาปรับขึ้นครั้งละ 0.25% ทั้งนี้บนความเชื่อที่ตรงกันว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง ขณะที่เงินเฟ้อสูง อย่างไรก็ตามในมุม ของฝ่ายวิจัย ยังคงกังวลเกี่ยวกับการลดขนาด Balance Sheet ของธนาคาร กลางสำคัญของโลกเฉพาะอย่างยิ่ง Fed และ ECB เนื่องจากในช่วงระบาด ของ Covid-19 Fed ได้เพิ่มขนาดงบดุลขึ้นมาถึง 4.77 ล้านล้านUSD (เพิ่ม 114.39%) ขณะที่ ECB เพิ่มขึ้น 4.02 ล้านล้านEuro(เพิ่ม 76.57%) ซึ่งใน ที่สุดก็จะต้องปรับลดลงมา สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์ทางการเงิน

คาดว่า SET Index ยังอยู่ในกรอบแคบช่วง 1615 – 1640 จุด พอร์ตจำลอง วันนี้ไม่มีการปรับเปลี่ยน โดยยังคงให้ถือ เงินสดสำรอง 20% เพื่อรอจังหวะซื้อ ในอนาคต Top Pick เลือก BEM, STEC และ TFG

FOMC Minutes ตามคาด ขณะที่ Market Earning Yield Gap ของเราดูดีกว่า

การเปิดเผย FOMC Minutes มีผลออกมาตามที่ตลาดคาด โดยที่ประชุมส่วนใหญ่เห็น พ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย +0.5% ในการประชุม 2 ครั้งหน้า (14 – 15 มิ.ย. และ 26-27 ก.ค. 65) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการ Fed เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะทำให้Fed สามารถใช้นโยบายการเงินเชิงรุกต่อไปได้โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ Recession ทำ ให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นทุกดัชนีโดย Dowjones +0.6%, S&P500 +1%, Nasdaq +1.5%

และหากพิจารณา Fed Fund Futures ณ ปัจจุบันเทียบกับ 2 เดือนที่ผ่านมา จะเห็น การเคลื่อนไหวที่ Shift ขึ้นทั้งเส้น โดยล่าสุดคาดดอกเบี้ยปลายปีอยู่ที่ 2.75% โดยการ ประชุม 2 ครั้งหน้าคาดขึ้นครั้งละ 0.5% และอีก 3 ครั้งที่เหลือคาดขึ้นครั้งละ 0.25%

ตามกลไกการลดสภาพคล่องหรือเร่งขึ้นดอกเบี้ย ถือว่ากดดัน Valuation พอสมควร โดย หากประเมินจาก Forward MEYG ของสหรัฐฯ และโลก (ตลาดคาดดอกเบี้ยสหรัฐขยับ ขึ้นอีก 1.75% ในช่วงที่เหลือของปีมาอยู่ที่ 2.75%) อยู่ที่ 3.0% และ 3.6% ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นไทยถือว่าได้เปรียบกว่ามาก โดยแม้คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งในช่วงท้าย ปีมาอยู่ที่ 0.75% แต่ก็มีแรงกดดันต่อ Forward MEYG เพียงเล็กน้อย โดยยังยืนระดับสูง อยู่ที่ 4.7% และสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วมาก ดังรูปด้านล่าง

สรุป การขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกของสหรัฐฯ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผลให้ Forward MEYG ของสหรัฐฯ และไทยต่ำลง แต่ในมุม Valuation ตลาดหุ้นไทยยังได้เปรียบและ น่าสนใจอยู่ในเชิงเปรียบเทียบ

หลายประเทศกังวลปัญหาอาหารขาดแคลน…หนุนราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น

ปัจจุบันโลกเผชิญกับปัญญาเงินเฟ้อ (สินค้าราคาแพง) ทั้งจากการฟื้นของเศรษฐกิจหลัง เกิดโควิดมานาน รวมถึงสงครามรัสเซียยูเครนที่ยืดเยื้อ แต่ในมุมกลับกันยังมีกลุ่มหุ้นที่ได้ ประโยชน์จากประเด็นนี้ โดยฝ่ายวิจัยทำการวิเคราะห์แบ่งออกตามกลุ่ม Soft - Commodity ต่างๆ ที่ผลดีบริษัทใดบ้าง ดังนี้

1.ราคาไก่เป็นล่าสุดอยู่ที่ 43 บาท/กก. ปรับเพิ่มขึ้น 2.4% จากสัปดาห์ก่อน ถือว่าอยู่ใน ระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี โดยล่าสุดประเทศมาเลเซียประกาศจะระงับการส่งออกไก่ 3.6 ล้านตัว/เดือน (9 พันตัน/เดือน) ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 หรือคิดเป็นปริมาณราว 6.3 หมื่นตัน ในปี 2565 คิดเป็น 10% ของปริมาณการส่งออกไก่ของไทย เพื่อป้องกันปัญหาอาหาร ขาดแคลนและราคาไก่ในประเทศมาเลเซียที่ปรับสูงขึ้นมาก ถือเป็นผลบวกต่อ ผู้ประกอบการไก่ไทย ได้แก่ GFPT (FV@B17) TFG (FV@B6) และ CPF (FV@B32) ที่ จะได้ลูกค้าใหม่ เช่น สิงคโปร์ หันมาสั่งซื้อไก่จากไทยมากขึ้น

2.ราคาสุกรหน้าฟาร์มก็ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนล่าสุดอยู่ที่ 113 บาท/กก. เพิ่มขึ้นถึง 8.7% จากสัปดาห์ก่อน ทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากปัญหาสุกรขาดแคลน ถือเป็น ผลบวกต่อผู้ประกอบการสุกรในไทย ได้แก่ TFG และ CPF

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

3.ราคาวัตถุดิบกากถั่วเหลืองโลกล่าสุดอยู่ที่ 423.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ทรงตัวจาก สัปดาห์ก่อน แต่ก็ลดลง 10% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่ราคาปรับสูงขึ้นไปมาก ในช่วงต้นปี 2565 ถือเป็นผลบวกต่อผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่จะมีต้นทุนวัตถุดิบ อาหารสัตว์ลดลง บวกต่อ TFG CPF และ GFPT

4.ราคาน้ำมันปาล์มดิบโลกล่าสุดอยู่ที่ 6.93 พันริงกิต/ตัน เพิ่มขึ้น 4.4% wow จาก ความกังวลภัยแล้ง ทำให้แนวโน้มผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดลดลง โดยก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย (ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบรายใหญ่สุดของโลก ราว 60% ผลผลิตทั้งหมด) ได้ ประกาศระงับส่งออกน้ำมันปาล์มชั่วคราวตั้งแต่ 28 เม.ย. 65 แต่ก็ได้ยกเลิกประกาศ ดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 65 โดยราคาน้ำมันปาล์มปัจจุบันอยู่ในระดับสูง ต่อเนื่อง ถือเป็นผลบวกต่อผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มดิบ UVAN UPOIC และ VPO และ ผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มครบวงจร CPI และ LST

5.ราคาน้ำตาลดิบโลกล่าสุดอยู่ที่ 19.68 เซ็นต์/ปอนด์เพิ่มขึ้น 5.7% ในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา โดยคาดปริมาณน้ำตาลโลกปี 2564/65 จะอยู่ในภาวะสมดุล อย่างไรก็ตาม ล่าสุดอินเดีย (ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก) ประกาศจำกัดส่งออกน้ำตาลไม่ เกิน 10 ล้านตัน จนถึงต.ค. 65 (หลังจากอินเดียระงับส่งออกข้าสาลีตั้งแต่ 15 พ.ค. 65) ฝ่ายวิจัยประเมินว่าประเด็นดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อราคาน้ำตาลโลก เพราะปกติอินเดีย ส่งออกน้ำมันไม่เกิน 10 ล้านตัน/ปี อยู่แล้ว แต่เป็นประด็นที่ต้องติดตามว่าจะมีประเทศ อื่นจำกัดการส่งออกน้ำตาลอีกหรือไม่ เช่น บราซิลที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่สุดของโลก ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักแนวโน้มกำไรกลุ่มน้ำตาลจะฟื้นตัวในปี 2565 ผลบวกจากแนวโน้มราคาขายน้ำตาลและแนวโน้มผลผลิตน้ำตาลที่สูงขึ้น จึงแนะนำซื้อ KSL 6.ราคายางแท่งโลกล่าสุดอยู่ที่ 1.62 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 3.8% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากความกังวลแนวโน้มผลผลิตยางพาราจะออกสู่ตลาดลดลง เพราะ โรคใบร่วงในต้นยางพาราที่อินโดนีเซีย ทั้งนี้ ล่าสุดประเทศจีนมีการลดภาษีสำหรับการซื้อ รถยนต์ เพื่อกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในจีน ถือเป็นผลบวกต่อแนวโน้มความต้องการใช้ ยางพาราในการผลิตยางล้อมากขึ้น จึงแนะนำซื้อ NER และ STA และเก็งกำไร KTIS KBS และ BRR

นักลงทุนยังต้องคอยรับมือ การทยอยลดงบดุลของ Fed และประเทศอื่นๆ ในช่วงที่ เหลือของปี

ในช่วงที่ผ่านมา สภาพคล่องส่วนเกิน (Fund Flow) ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการ ขับเคลื่อนตลาดหุ้นมากกว่าพื้นฐาน (Fundamental) สะท้อนได้จาก ดัชนีS&P500 และ SET Index ในช่วงที่บริษัทจดทะเบียนเผชิญกับ Covid-19 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 100% และ 58% ตามลำดับ (วัดผลตอบแทนกลางเดือน มี.ค. 63 ถึง ธ.ค. 64) ขณะที่ สภาพคล่องส่วนเกินในระบบถูกอัดฉีดเข้ามาจากงบดุลของ Fed ที่เพิ่มขึ้น 4.77 หมื่น ล้านเหรียญสหรัฐ, ECB 4.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ, BOJ 0.24 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ รวม 9.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ม.ค 63 - เม.ย. 65) จนปัจจุบัน Fed มีขนาดงบดุล 8.94 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ, ECB 9.27 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ, BOJ 5.7 หมื่นล้าน เหรียญสหรัฐ รวม 2.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐแต่หนึ่งในสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องเตรียมรับมือต่อจากนี้คือ การเผชิญกับการลดขนาด งบดุลของ Fed 4.75 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน (ในช่วง มิ.ย. - ก.ย. 65) และลดเพิ่ม เป็น 9.5 หมื่นล้านเหรียญ (ในช่วง ต.ค. - ธ.ค. 65) รวมช่วงที่เหลือของปี 7 เดือน อาจ เห็นการลดงบดุลของ Fed 5.225 แสนล้านเหรียญ (11% ของปริมาณงบดุลที่เพิ่มมา ในช่วงโควิด) และ 6% ของปริมาณงบดุลทั้งหมด

เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ตลาดหุ้นไทยกับการลดขนาดงบ ดุล โดยการประเมินจากสมการ Regression พบว่า การปรับลดขนาดงบดุลของ Fed ลง -4.75 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 0.5% ของงบดุลทั้งหมด) ในเดือน มิ.ย. 65 คาด กดดัน SET Index ลดลงเฉลี่ยราว -9 จุด และในช่วงที่เหลือของปี Fed ลดขนาดงบ ดุลลง 5.225 แสนล้านเหรียญ คาดกดดัน SET Index ลดลงเฉลี่ย -91 จุด

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ประเด็นดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงสำคัญที่นักลงทุนจะต้องเตรียมรับมือตลาดใน เดือน มิ.ย. 65 กลยุทธ์แนะนำถือเงินสด 20% - 30% ของพอร์ต รวมถึงพิถีพิถันใน การเลือกหุ้นมากขึ้น สำหรับวันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว SET Index 1615 – 1640 จุด Toppick วันนี้แนะนำ BEM STEC (หุ้นเปิดเมืองเศรษฐกิจฟื้น) และ TFG (ได้ประโยชน์จากปัญหาสุกร-ไก่ขาดแคลน)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย