ผลกระทบของปัญหาเงินเฟ้อสะท้อนให้เห็นผ่านรายงานผลประกอบการของบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Target (NYSE:TGT) หนึ่งในค้าปลีกยักษ์ใหญ่รายงานผลประกอบการเมื่อวันพุธที่แล้ว ด้วยตัวเลขผลกำไรที่ไม่สามารถเอาชนะตัวเลขคาดการณ์ได้ ทำให้ราคาหุ้นบริษัทปรับตัวลงภายในวันเดียว 25% และปรับตัวลดลงต่ออีก 3.2% ในวันต่อมา เช่นเดียวกัน Walmart (NYSE:WMT) อีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ในด้านค้าแลีก ซึ่งรายงานผลประกอบการไปเมื่อวันอังคารที่แล้ว ได้พบว่าหุ้นบริษัทตัวเลขปรับตัวลดลงเกือบ 19% มาตลอดทั้งสัปดาห์ ก่อนจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้บ้างในวันศุกร์
นี่คือขาลงที่หนักที่สุดของหุ้นยักษ์ใหญ่ค้าปลีกนับตั้งแต่ปี 1987 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่าบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถทำกำไรให้เติบโตขึ้นได้ ในยุคที่เงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบสี่สิบปี ดังนั้น นักลงทุนจึงจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับบริษัทค้าปลีกชื่อดังอื่นๆ ที่เหลือ ที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้ไม่ว่าจะเป็น Costco (NASDAQ:COST), Best Buy (NYSE:BBY), Nordstrom (NYSE:JWN), Macy’s (NYSE:M), Dollar Tree (NASDAQ:DLTR), Ulta Beauty (NASDAQ:ULTA), Dick’s Sporting Goods (NYSE:DKS) และ Dollar General (NYSE:DG)
สิ่งที่เกิดกับรายงานผลกำไรของยักษ์ใหญ่ค้าปลีกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้ตลาดลงทุนตกใจอยู่พอสมควร เพราะก่อนหน้านี้รายงานตัวเลขค้าปลีกล่าสุดก็ยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 0.9% แล้วถ้าเป็นเช่นนั้น คำถามคือทำไมบริษัทค้าปลีกชั้นนำถึงไม่สามารถมีกำไรได้ ในขณะที่การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น? หรือว่าตัวเลขค้าปลีกครั้งล่าสุดเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง?
ผลกระทบของรายงานผลประกอบการครั้งนี้ทำให้หุ้นของบริษัท Amazon (NASDAQ:AMZN) ยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งแห่งวงการค้าปลีกร่วงลงตามไปด้วย เนื่องจากนักลงทุนเชื่อว่าสถานการณ์ของแอมาซอนก็คงจะไม่ต่างกับ Target และ Walmart และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ในสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลง ในขณะเดียวกัน หุ้นของห้างสรรพสินค้า Macy ได้ปรับตัวลดลง 10.7% และหุ้นของ Best Buy ก็ร่วงลง 10.8% จนทำให้หุ้นของทั้งส่วนร่วงลงไปวิ่งต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ขาลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้หุ้น Best Buy สร้างรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) สำเร็จ ยืนยันความอ่อนแอของแนวโน้มขาขึ้น หากว่าสัปดาห์นี้ รายงานผลประกอบการของบริษัทค้าปลีกที่เหลือในภาพรวมแล้วออกมาย่ำแย่ อาจจะทำให้นักลงทุนตัดสินใจย้ายเงินหนีออกจากหุ้นกลุ่มนี้ และหันไปลงทุนกับหุ้นกลุ่มอื่นแทน
โดยปกติแล้ว ในยุคที่เป็นเงินเฟ้อ สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าจำเป็นมักจะเป็นสิ่งที่ทำกำไรได้มาก และในช่วงนี้เหล่าบรรดาบริษัทค้าปลีกก็จะฉวยโอกาสขึ้นราคาและทำกำไรเพิ่มได้ แต่รายงานผลประกอบการของ Walmart เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้นักลงทุนรู้สึกกลัวกลับอีกด้านหนึ่งของเงินเฟ้อ ถ้าขนาดว่า Walmart ยังไม่สามารถรายงานผลกำไรเป็นบวกได้ แล้วบริษัทคู่แข่งอื่นๆ จะสามารถทำได้อย่างไร? เผลอๆ อาจจะแย่กว่า Walmart อีกด้วยซ้ำ นั่นคือสิ่งที่นักลงทุนคิด
อีกหนึ่งคำถามที่น่าสนใจคือ “แล้วถ้าลงทุนกับหุ้นค้าปลีกไม่ได้ สมควรหรือไม่ที่จะกลับมาลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี?” คำตอบก็คืออาจจะยังไม่ใช่ตอนนี้ เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หุ้นเทคบนดัชนีแนสแด็กก็ยังปรับตัวลดลง 4.75% แม้แต่หุ้นชื่อดังอย่าง Apple (NASDAQ:AAPL) และ Tesla (NASDAQ:TSLA) ก็ยังปรับตัวลดลง 6.4% และ 13.7% ตามลำดับ นอกจากนี้ สัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง 3% ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 2.9% มีเพียงแค่ดัชนีรัสเซล 2000 ที่ปรับตัวลดลงน้อยที่สุด 1.1%
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะเห็นว่ากราฟดัชนีแนสแด็ก 100 ลงมาเจอแนวรับเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นั่งจึงทำให้เกิดรูปแบบหัวค้อน (hammer) ซึ่งสามารถตีความได้ว่าอาจจะมีโอกาสที่ดัชนีหุ้นเทคฯ จะปรับตัวกลับขึ้นไป
ในขณะเดียวกัน กราฟรายสัปดาห์ของรัสเซล 2000 ปรากฎเป็นแท่งเทียนที่สามารถยกจุดต่ำสุด สูงกว่าแท่งก่อนหน้าได้ เพิ่มความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการกลับตัวของราคาให้เห็น ขึ้นอยู่กับว่าสัปดาห์นี้จะสามารถสร้างแท่งเทียนขาขึ้นต่อไปได้หรือไม่ ที่สำคัญตอนนี้ราคากำลังทดสอบแนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์ จึงมีโอกาสที่ราคาจะดีดตัวกลับขึ้นได้จากแนวรับบริเวณนี้
กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
จากรูปจะเห็นว่ากราฟอัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปีสร้างรูปแบบหัวไหล่เสร็จแล้ว และกำลังทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 50 วะน หากว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 สัปดาห์ สามารถตัดเส้น 200 สัปดาห์ลงมาได้ จะก่อให้เกิดเป็นการเปลี่ยนเทรนด์ในกราฟรายสัปดาห์ครั้งใหม่
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดหุ้นตอนนี้คือ ไม่ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะขึ้นหรือลง ตลาดหุ้นก็ยังคงถูกกดดันอยู่ดี ถ้าอยากจะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ก็ต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นปัจจัยผลักดันนักลงทุนในตลาดพันธบัตร เมื่อช่วงต้นปี การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดทำให้นักลงทุนกังวลว่าผลตอบแทนที่จะได้จากตลาดพันธบัตรอาจจะไม่มากพอ แต่ตอนนี้นักลงทุนกำลังหันมาลงทุนในตลาดพันธบัตรเพราะมองว่าเป้นสินทรัพย์ปลอดภัย
นอกจากนี้ ช่วงเวลาเช่นนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดของนักลงทุนในตลาดพันธบัตรในรอบสี่ทศวรรษ นักลงทุนพันธบัตรบางคนถึงกับบอกว่าช่วงเวลา 12 เดือนล่าสุดนับว่าแย่ที่สุดตั้งแต่ปี 1892 และนี่คือเหตุผลที่ดีในการเข้าซื้อในขณะที่ตลาดปรับตัวลดลง และนักลงทุนจากตลาดหุ้นบางคนก็ย้ายเงินจากตลาดวอลล์สตรีท มายังตลาดพันธบัตร
ในขณะเดียวกัน ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลงตลอดทั้งสัปดาห์ที่แล้ว ก่อให้เกิดรูปแบบหัวไหล่ขนาดเล็กที่ยังสร้างไม่เสร็จ
อินดิเคเตอร์ทั้งสามตัวไม่ว่าจะเป็น MACD RSI และ ROC ต่างก็ให้ข้อมูลเดียวกันว่ารูปแบบหัวไหล่ที่กำลังสร้างนั้งจะสำเร็จแน่ แต่จะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดขาลงที่รุนแรงพอจะหลุดเส้นแนวรับสีเขียวลงไปได้ เมื่อดอลลาร์อ่อนค่า แน่นอนว่าทองคำก็ได้โอกาสปรับตัวขึ้นมาหายใจบ้าง
จากรูปจะเห็นว่ากราฟทองคำดีดตัวกลับขึ้นมาหลังจากที่ลงไปทดสอบเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้น ที่ลากมาตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2021 แต่ขาขึ้นเช่นนี้กลับไม่เกิดกับราชาแห่งสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์เลย ตอนนี้บิทคอยน์ได้ร่วงลงมาเจ็ดสัปดาห์ติดต่อกันแล้ว นับเป้นช่วงเวลาขาลงต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของสินทรัพย์ตัวนี้
การพักตัวในตอนนี้ไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนขาขึ้นจะดีใจได้ ล่าสุดราคากำลังสร้างกรอบสามเหลี่ยมรูปธงขนาดเล็กขึ้นมา หากยังปรับตัวลดลงต่อ นี่จะเป็นการลงจาก double-top ที่มากที่สุด และมีโอกาสที่จะลงไปอยู่ต่ำกว่า $10,000 ได้เลย
สุดท้าย ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นมาเป็นสัปดาห์ที่สี่ติดต่อกัน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศราฐกิจถดถอย และท่าทีของรัสเซียที่เริ่มระงับการส่งออกให้กับประเทศที่ตีตัวออกห่างจากรัสเซีย
จากรูปจะเห็นว่าราคาน้ำมันดิบ WTI กำลังพักฐาน แต่สร้างจุดต่ำสุดสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าอาจจะเกิดขาขึ้นต่อในอนาคต
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
04:00 (เยอรมัน) ดัชนีวัดความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจจาก Ifo: คาดว่าจะลดลงจาก 91.8 เป็น 91.4
12:15 (สหราชอาณาจักร) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลาง
วันอังคาร
03:30 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ในภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 54.6 เป็น 54.0
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะออกมาอยู่ที่ 55.8
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่: คาดว่าจะลดลงจาก 763K เป็น 750K
12:20 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
14:00 (ยูโรโซน) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางยุโรป
22:00 (นิวซีแลนด์) การประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางนิวซีแลนด์: คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 50 จุดเบสิสเป็น 2.00%
วันพุธ
02:00 (เยอรมัน) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะคงที่ 0.3% QoQ
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน: คาดว่าจะลดลงจาก 1.2% เป็น 0.6%
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -3.394M เป็น 1.383M
14:00 (สหรัฐฯ) รายงานการประชุมของ FOMC
วันพฤหัสบดี
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะคงที่ -1.4%
08:30 (สหรัฐฯ) ตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 218K เป็น 213K
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 2.1% เป็น 2.0%
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 1.6% เป็น 1.0%
วันศุกร์
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาการบริโถคส่วนบุคคลพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 5.2% YoY เป็น 4.9% ในเดือนเมษายน