รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ทองคำฟื้นตัว หลังดอลลาร์อ่อนค่า แต่ยังรักษาช่วงบวกไม่ได้

เผยแพร่ 18/05/2565 10:29
อัพเดท 09/07/2566 17:32

สรป ราคาทองคําวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 8.30 คอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ระหว่างวันราคาทองคําจะฟื้นตัวขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากการการอ่อนค่าลงของดัชนีดอลลาร์ ทั้งนี้ ดอลลาร์เผชิญแรงขายทํากําไร หลังจากแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีในสัปดาห์ที่แล้ว ประกอบกับนักลงทุนกลับมาเปิดรับความเสี่ยงอีกครั้ง ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์เสียงอย่างหุ้น จนบันทอนความต้องการดอลลาร์ในฐานะสกุล เงินปลอดภัย ปัจจัยดังกล่าวกดดันให้ดอลลาร์ปิดอ่อนค่าลง 3 วันทําการติดต่อกันซึ่งหนุนให้ราคาทองคําดีดตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,835.93 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคา ทองคําไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้ เนื่องจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ “ดีเกินคาด” อาทิ ยอดค้าปลีกพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนเม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.4% และการ ผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนเม.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.99% ในเดือนมี.ค. นอกจากนี้ ราคาทองคํายังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลาง สหรัฐ(เฟด) ที่กล่าววานนี้ว่า เฟดจะเดินหน้า “คุมเข้ม นโยบายการเงินจนกว่าจะเป็นที่แน่ชัดว่าอัตราเงินเฟ้อกําลังปรับตัวลดลง ความเห็นดังกล่าวตอกมุมมองที่ว่าเฟดมุ่งมั่นจะผ่อนคลายแรงกดดัน ด้านราคา ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นจะร่วงลงและนักลงทุนบางคนกังวลว่าการคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างแข็งกร้าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ตาม มุมมองดังกล่าวผลักดันให้อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 2.9578% จนส่งผลเชิงลบต่อทองคําในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย ด้านกองทุน SPUR ถือครองทองคําลดลง อีก -4.07 ต้นสู่ระดับ 1,049.21 ดันซึ่งเป็นระดับต่ําสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค. สําหรับวันนี้คิดตามการเปิดเผยการอนุญาตก่อสร้างและข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านของสหรัฐ

ราคาเริ่มมีการอ่อนตัวกลับทุกครั้งเมื่อราคาดีดตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม วานนี้ราคาสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันก่อนหน้า แต่หากการอ่อนตัวลงอยู่ในระดับจ ากัดจะท าให้แรงขายชะลอตัวลง ทั้งนี้ ประเมินแนว รับระยะสั้นโซน 1,803-1,794 ดอลลาร์ต่อออนซ์และแนวรับส าคัญบริเวณ 1,778 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเมินแนวต้านโซน 1,836-1,851 ดอลลาร์ต่อออนซ์

คําแนะนํา เปิดสถานะขาย 1,836-1,851

จุดทํากําไร ซื้อคืนเพื่อทํากําไร $1,803-1,794

ตัดขาดทุน ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,851

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย