เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญในโลกการลงทุนขึ้น นั่นคือการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งได้ข้อสรุปว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% และจะลดขนาดงบดุลลงมา ในความเห็นของเฟดและคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) พวกเขายังคงเชื่อมั่นว่านโยบายการเงินยังอยู่ในระดับที่ดี ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง และจะสามารถกดเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่เป้าหมายของธนาคารกลางที่ 2% ดังเดิมได้
ในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้าที่จะมีการประชุม นักลงทุนส่วนใหญ่เน้นการลงทุนไปที่สินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง นักลงทุนเลือกที่จะถือครองดอลลาร์ ทองคำ บิทคอยน์ แม้กระทั้งหุ้นกลุ่มเติบโต และหุ้นสายเทคฯ สินทรัพย์เหล่านี้ล้วนเคยแต่เติบโตได้ดีในยุคที่การระบาดโควิด-19 ยังไม่มีทางรักษา อย่างไรก็ตาม หลังจากทราบผลการประชุมไปแล้ว นักลงทุนบางกลุ่มเริ่มมองว่าอีกไม่นานตลาดหุ้นวอลล์ สตรีทก็จะกหลับมาเฉิดฉายอีกครั้ง อย่างเร็วที่สุดก็ในระยะกลาง
ในทำนองเดียวกัน กลุ่มนักลงทุนที่เห็นต่างก็มองว่าการที่เฟดไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยแรงจนเกินไปอาจจะทำให้ธนาคารกลางไม่สามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้ทันเวลา พวกเขาจึงเริ่มกลับไปมองหาหุ้นหรือกองทุน ETF ที่ได้รับแรงกดดันมาตั้งแต่เดือนมกราคม และสินทรัพย์ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนกลุ่มนี้คือกลุ่มหุ้นที่มีความผันผวนสูง เพราะอะไร? เพราะหุ้นผันผวนสูงมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีในช่วงตลาดขาขึ้น แม้จะอยู่ในช่วงขาลง ก็ยังจะได้รับความสนใจจากตลาดอยู่ดี นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมความเสี่ยงสูงและอัตราผลตอบแทนที่สูงจึงมักเป็นของคู่กัน
ในวงการ ETF เราจะมีคำศัพท์ที่เอาไว้ใช้เรียกกองทุน ETF ที่มีศักยภาพว่า “อัลฟา” และ “เบต้า” เบต้า (β) คือการวัดความผันผวนของผลตอบแทน ที่สัมพันธ์กับตลาดในวงกว้าง โดยจะเริ่มนับความผันผวนที่ตัวเลข 1 ดังนั้นกองทุนที่มีเบต้า 1.3 จะมีความผันผวนมากกว่าตลาด 30% ยกตัวอย่างเช่น หากดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้น 10% ภายใต้ตัวเลขเบต้า 1.3 ความหมายคือการคาดการณ์ว่าอาจจะมีการปรับตัวขึ้น 13% ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเลขนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของกองทุนนั้นๆ
ลองมาเปรียบเทียบข้อมูลนี้ตั้งแต่ต้นปี 2022 มาจนถึงปัจจุบันระหว่างหุ้นที่มีค่าเบต้าสูงกับดัชนีเอสแอนด์พี 500 แม้จะมีค่าเบต้าอยู่ที่ 1.00 แต่ตั้งแต่ต้นปี 2022 มาจนถึงปัจจุบัน ราคาเอสแอนด์พี 500 ได้ปรับตัวลดลงมาแล้ว 12.8% ในขณะที่
หุ้น Amazon (NASDAQ:AMZN) มีค่าเบต้าอยู่ที่ 1.22 และปรับตัวลดลงมา 30.1% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
หุ้น General Motors (NYSE:GM) มีค่าเบต้าอยู่ที่ 1.19 และปรับตัวลดลงมา 31.8% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
หุ้น Meta Platforms (NASDAQ:FB) มีค่าเบต้าอยู่ที่ 1.39 และปรับตัวลดลงมา 38% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
หุ้น Micron Technology (NASDAQ:MU) มีค่าเบต้าอยู่ที่ 1.18 และปรับตัวลดลงมา 23.5% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
หุ้น Netflix (NASDAQ:NFLX) มีค่าเบต้าอยู่ที่ 1.28 และปรับตัวลดลงมา 68.7% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
หุ้น Block (NYSE:SQ) มีค่าเบต้าอยู่ที่ 2.36 และปรับตัวลดลงมา 40.8% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
แม้แต่ดัชนีที่ใช้วัดมูลค่าของดัชนีเอสแอนด์พี 500 อย่าง S&P 500 High Beta Index ที่วัดเฉพาะหุ้น 100 ตัวที่มีความอ่อนไหวต่อตลาด และดัชนี S&P 500 Low Volatility Index ก็ยังพบว่าปรับตัวลดลง 8.9% และ 3.4% มาตั้งแต่ต้นปี 2022 จนถึงปัจจุบัน กองทุน ETF ที่อ้างอิงมูลค่าตามดัชนีเหล่านี้อย่าง Invesco S&P 500 High Beta ETF (NYSE:SPHB) และ Invesco S&P 500 Low Volatility ETF (NYSE:SPLV) ก็ยังปรับตัวลดลง 13.1% และ 5.1% ตามลำดับ
ในบทความนี้ เราจึงมาแนะนำกองทุน ETF ที่เชื่อว่าจะสามารถทอบผลตอบแทนได้จากสถานการณ์เช่นนี้ และความผันผวนระยะสั้นภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
Pacer Lunt Large Cap Alternator ETF
- ระดับราคาปัจจุบัน: $42.94
- กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $39.93 - $46.83
- เปอร์เซ็นต์การปันผล: 0.99%
- อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.60% ต่อปี
กองทุน ETF Pacer Lunt Large Cap Alternator (NYSE:ALTL) เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ 100 ตัว ที่มีการถูกสับเปลี่ยนไปมาระหว่างดัชนี S&P 500 High Beta Index และ S&P 500 Low Volatility Index ความโดดเด่นของกองทุนนี้คือมีการตรวจสอบและปรับกลยุทธ์การลงทุนในทุกๆ เดือน แม้เราจะไม่สามารถหาข้อมูลถึงวิธีการปรับกลยุทธ์ที่แท้จริงมาได้ แต่เราเชื่อว่ากองทุนที่ผู้จัดการกองทุนลงทุนในหุ้นที่ความเสี่ยงต่ำ ในช่วงที่ตลาดเป็นแนวโน้มขาลงแปลว่าพวกเขากำลังเห็นอะไรบางอย่าง
ALTL เริ่มเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในเดือนมิถุนายนปี 2020 มีสินทรัพย์รวมทั้งหมด $574 ล้านเหรียญสหรัฐ หากพิจารณาสัดส่วนการถือครองหุ้น จะพบว่า ALTL ถือครองหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารประมาณครึ่งหนึ่ง ตามมาด้วยหุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (16.8%) กลุ่มอุตสาหกรรม (8.1%) กลุ่มพลังงาน (6.8%) และกลุ่มบริการดูแลสุขภาพ (6.3%)
หุ้น 10 อันดับแรกที่กองทุนนี้ถือครองคิดเป็น 13% ของหุ้นทั้งหมด หุ้นชื่อดังเหล่านั้นได้แก่ Hershey (NYSE:HSY), Coca-Cola (NYSE:KO), Johnson & Johnson (NYSE:JNJ), Southern (NYSE:SO), PepsiCo (NASDAQ:PEP) และ Procter & Gamble (NYSE:PG)
แม้ว่าตั้งแต่ต้นปี 2022 มาจนถึงปัจจุบัน ALTL จะปรับตัวลดลงมาแล้ว 6.3% แต่หากพิจารณาผลงานในรอบ 12 เดือนล่าสุดจะพบว่ากองทุนนี้ให้ผลตอบแทนคืนมาแล้วประมาณ 4.1% นักลงทุนที่สนใจกลยุทธ์การลงทุนประเภท “ตามเทรนด์” เป็นหลักสามารถพิจารณาลงทุนในกองทุนตัวนี้ได้