รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

รอลุ้นผลประชุม Fed สัปดาห์หน้า

เผยแพร่ 29/04/2565 09:22
อัพเดท 09/07/2566 17:32

GDP Growth งวด 1Q65 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาติดลบ 1.4% QoQ ซึ่งแย่กว่า ที่คาด และถูกมองว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจถดพถอย กลับถูก ตีความเป็นบวกต่อตลาดหุ้น ในมุมที่เห็นว่า Fed อาจดำเนินนโยบายการเงิน ตึงตัวที่ลดความร้อนแรงลง ภาพดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าตลาดหุ้นในปัจจุบัน ยังอยู่ในภาวะที่อ่อนไหวต่อระดับสภาพคล่องในระบบการเงินมากกว่าความ กังวลเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งเราเห็นว่าเป็นสภาวะที่ไม่สมดุลของตลาดฯ อีกปัจจัยที่ ต้องติดตามคือ Covid-19 ในจีน พบว่ายังมีการขยายพื้นที่การติดเชื้อออกไป ล่าสุดเป็นที่ กว่างโจว ผลกระทบในภาพใหญ่อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และ ทำให้ความคาดหวังเรื่องนักท่องเที่ยวจีนที่จะมาบ้านเรา ต้องยืดเวลาออกไป

คาด SET Index ผันผวนโดยมีUpside จำกัด กรอบ 1660 - 1675 จุด พอร์ต จำลอง ปรับ GPSC น้ำหนัก 10% ออก นำเงินเข้าซื้อ MCS เพิ่ม 5% และถือ เงินสดเพิ่มเป็น 15% หุ้น Top Pick เลือก MCS, TFG และ VNG

GDP ไตรมาส 1 สหรัฐฯ ออกมาต่ำคาด แต่ตลาดมองเชิงบวกระยะสั้น

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาส 1/65 โดย -1.4%QoQ /+3.6%YoY การหดตัวเกิดจากภาคการค้าระหว่างประเทศ โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้น สวน ทางกับตัวเลจการส่งออกที่ลดลง โดยนับเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจ เผชิญภาวะถดถอยในปี 2563 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงแม้ เป็นสัญญาณลบในทางเศรษฐกิจ และอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะถดถอยในอนาคต แต่ตลาดหุ้น กลับตีความในทางบวก โดยสร้างความคาดหวังว่า FED อาจใช้นโยบาย การเงินตึงตัวในระดับที่ไม่ร้อนแรงมากนัก ทั้งนี้Fed จะมีการประชุมในรอบถัดไป สัปดาห์หน้า (3-4 พ.ค.65) ประเด็นที่ต้องพิจารณา และติดตามต่อไปคือ

  1. มีโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) โดยตามนิยามจะเกิดขึ้น เมื่อเห็น GDP หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน

  2. เศรษฐกิจที่ชะลอตัวภายใต้ สถานการณ์เงินเฟ้อ ที่ยังอยู่ในระดับสูง มีโอกาสที่ จะเกิดภาวะ Stagfation หรือไม่

  3. Invert Yield Curve ที่เคยเกิดขึ้นในบางช่วงเวลาในเดือน มี.ค.-เม.ย. มีโอกาส กลับมาหรือไม่ ซึ่งจะเป็นประเด็นที่สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้น

โควิดในจีนยังคงอยู่ สร้าง Downside ต่อเศรษฐกิจจีน และ Demand Comodity

การแพร่ระบาดโควิดในจีนรอบใหม่ ยังคงเห็นพัฒนาการต่อเนื่องจากจุดเริ่ม Lockdown เซี่ยงไฮ้ ต่อด้วยปักกิ่งในบางเมือง และล่าสุด กว่างโจว สั่งตรวจโควิดจากประชากร 5.6 ล้านคน หรือเกือบหนึ่งในสามของประชาชนทั้งเมืองเกือบ 19 ล้านคน หลังพบผล ผิดปกติรายหนึ่งที่สนามบิน เป็นเหตุให้ต้องระงับเที่ยวบินส่วนใหญ่ ทำให้ประชาชนกลัว การนำไปสู่ความกังวลในการ Lock Down เต็มรูปแบบเช่นเดียวกับเซี่ยงไฮ้ จากนโยบาย Zero-Covid จนกระทบเศรษฐกิจสูงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ จีนในช่วงที่เหลือของปีหากมีการระบาดไปยังเมืองต่างๆ ของจีนมากขึ้น ทำให้การบริโภค ฟื้นตัวได้ช้า และกดดันราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่สุดของ โลก

แบตเตอรี่ ส่วนประกอบสำคัญในยานยนต์ไฟฟ้า

เห็นสัญญาณในการที่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ เซ็นสัญญารับสิทธิประโยชน์ต่างๆ กับ ภาครัฐฯ ในการนำเข้ารถยนต์EV เข้ามาขาย แลกกับการต้องมาตั้งฐานการผลิตรถ EV ในประเทศ ไทยในอนาคต โดยก่อนหน้านี้เป็นค่า GWM และ MG ล่าสุดเป็นค่ายใหญ่ของญี่ปุ่น ได้แก่ Toyota ซึ่งถือเป็นสัญญาณเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมรถยนต์EV ในประเทศไทย สำหรับสถานะของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ปี 2564 มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ (BEV) ที่จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น 92.7%yoy มาอยู่ที่ 5.8 พันคัน คิดเป็น สัดส่วนเพียง 0.2% ของจำนวนรถจดทะเบียนใหม่ทุกประเภทของไทยปี 2564 โดยมี ยอดสะสมที่ 1.1 หมื่นคัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.03% ของจำนวนรถสะสมทุกประเภท ของไทยในปัจจุบันที่ 42.3 ล้านคัน

ทั้งนี้ แบตเตอรี่ ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าต่อจากนี้โดยมีผู้ประกอบการใน ไทย นำโดย EA ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ phase 1 ขนาด 1 พัน MWh ส่วน ระยะถัดไปมีแผนขยายการผลิตไปให้ถึง 4.9 หมื่น MWh ถัดมาได้แก่ GPSC ผ่านการ ร่วมทุนกับ PTT (BK:PTT) โดยจัดตั้งบริษัท NUOVO PLUS (สัดส่วนถือหุ้น 49:51) ซึ่งปัจจุบัน NUOVO PLUS มีโรงผลิตแบตฯ กำลังการผลิตรวม 141 MWh ทั้งในประเทศไทยและ ประเทศจีน และร่วมลงนาม MOU กับ Foxconn เพื่อศึกษาความเป็นไปได้สำหรับจัดตั้ง โรงงานผลิต Platform และส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเตรียม ความพร้อมสู่ตลาด EV ในอนาคต ผ่านการจับมือกับ Foxconn บริษัทสัญชาติไต้หวัน ร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนตั้งโรงงานผลิต Platform และส่วนประกอบสำคัญ สำหรับ EV ในประเทศไทย ส่วนการผลิตแบตเตอรี่มีบริษัทลูก GPSC ที่มีโรงงานผลิต แบตเตอรี่ต้นแบบ 30.0 MWh มาพัฒนาและทดลองใช้ภายในกลุ่ม PTT นอกจากนี้ GPSC ยังได้เข้าถือหุ้น 11.1% ในบริษัท AXXIVA ประเทศจีน ซึ่งกำลังก่อสร้างโรงงาน แบตเตอรี่ 1.0 พัน MWh เพื่อนำมาใช้สำหรับลูกค้ายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีน คาด COD ได้ภายในปี 2566 นอกจากนี้ยังมี BANPU NEXT (BANPU และ BPP ถือหุ้นบริษัท ละ 50%) เข้าลงทุน 47% ใน Durapower ประเทศจีน มีโรงงานรองรับการผลิต แบตเตอรี่ได้ 1.0 พัน MWh สำหรับใช้ทั้งในอุตสาหกรรม EV และระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึง BCPG ซึ่งมีโครงการนำร่องโดยการนำแบตเตอรี่ 1.4 MWh มาใช้กักเก็บพลังงาน ในการผลิตไฟฟ้า และได้เข้าซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพบริษัท VRB ซึ่งเป็นบริษัทผลิตวิจัยและ พัฒนาแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บพลังงานในประเทศจีน

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ตลาดหุ้นเข้าสู่บททดสอบสำคัญ ช่วงกังวลเศรษฐกิจชะลอ พร้อมกับมาตรการกระตุ้น ทางการเงินและการคลังมีจำกัด วันนี้แนะนำ MCS VNG TFG

ตัวเลข GDP สหรัฐ งวด 1Q65 -1.4%QoQ เป็นการพลิกกลับมาชะลอลงอีกครั้ง นับตั้งแต่ช่วงเกิดโควิด 19 หรือ งวด 2Q63 สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ การดำเนินนโยบาย การเงินของ Fed ในช่วงต่อจากนี้ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดเช่นกัน ซึ่ง ล่าสุดตลาดยังคาดว่างวด 2Q65 Fed ยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มอีก 1% เป็น 1.5%

แม้อาจจะมีการลดระดับลงบ้าง แต่ก็ยังเป็นช่วงการลดระดับสภาพคล่อง และแตกต่าง กับปี 2563 ที่มีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบจำนวนมาก หนุนให้ตลาดหุ้นในปี 2563 ฟื้นจากโควิดได้รวดเร็ว ประเด็นนี้อาจส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในภาวะผันผวน ต่อได้และยังสอดคล้องกับข้อมูลผลตอบแทนตลาดหุ้น Nasdaq ในช่วงที่ GDP สหรัฐติด ลบ 2 ไตรมาสติดต่อกันขึ้นไป (เกิด Recession) พบว่า ตลาดหุ้น Nasdaq จะปรับฐาน แรง และผันผวนมากกว่าปกติ

สรุปคือ ตลาดหุ้นอาจรีบาวน์ในช่วงสั้นได้จากความคาดหวัง Fed อาจใช้นโยบายตึง ตัวน้อยลง แต่ในระยะถัดไปต้องเฝ้าดูว่า GDP สหรัฐจะติดลบต่อเนื่อง จนทำให้เกิด Recession หรือไม่? พร้อมกับการอัดฉีดสภาพคล่องของ Fed ที่ถูกจำกัดด้วยเงิน เฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกเผชิญกับเศรษฐกิจที่ชะลอ บวกกับ มาตการการกระตุ้นการเงินและการคลังที่ถูกจำกัดจากการอัดฉีดไปมากในช่วงโควิด 19

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ยังคงเน้น Selective Buy ในหุ้นพื้นฐานดี มีปัจจัย ขับเคลื่อนเฉพาะตัว อย่าง VNG (ผลประกอบการดี ได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า), MCS (ราคาปรับฐานลงมาจน Valuation เปิดกว้างน่าลงทุน), TFG ได้ประโยชน์ จากราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในงวด 2Q65)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย