แม้ตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาในปี 2022 จะมีแต่แนวโน้มขาลง แต่จำนวนกองทุน ETF หน้าใหม่กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กองทุน ETF ที่มีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา ณ เวลานี้มีมูลค่ารวมกันมากกว่า $5.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปแล้ว ส่วนทั่วโลกนั้นมีกองทุน ETF อยู่ทั้งหมดมากกว่า 8,500 กองทุน งานวิจัยของ Brown Brothers Harriman ล่าสุด อธิบายเอาไว้ดังนี้
“ในปี 2021 การเติบโตของจำนวนกองทุน ETF คิดเป็นประมาณ 10% ของจำนวนเงินสุทธิ ที่ไหลเข้ามาจากทั่วโลก โดยได้แรงหนุนจากนักลงทุนสหรัฐเป็นส่วนใหญ่”
ในวงการ ETF เราจะมีคำศัพท์ที่เอาไว้ใช้เรียกกองทุน ETF ที่มีศักยภาพว่า “อัลฟา” และ “เบต้า” เบต้า (β) คือการวัดความผันผวนของผลตอบแทน ที่สัมพันธ์กับตลาดในวงกว้าง โดยจะเริ่มนับความผันผวนที่ตัวเลข 1 ดังนั้นกองทุนที่มีเบต้า 1.3 จะมีความผันผวนมากกว่าตลาด 30% ยกตัวอย่างเช่น หากดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้น 10% ภายใต้ตัวเลขเบต้า 1.3 ความหมายคือการคาดการณ์ว่าอาจจะมีการปรับตัวขึ้น 13% ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเลขนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของกองทุนนั้นๆ
งานวิจัยจากสถาบันชั้นนำแห่งหนึ่งได้นิยามคำว่า “เบต้า” ในวงการเอาไว้ว่า
“หุ้นเบต้าสูงควรได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงกว่าหุ้น เบต้าต่ำซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบการเงินสมัยใหม่”
กลุ่มหุ้นถัดมามีชื่อเรียกว่าคืออัลฟา (α) หรือการวัดประสิทธิภาพของการลงทุน เทียบกับดัชนีมาตรฐาน เช่น S&P 500 ยกตัวอย่างเช่น หากกองทุนให้ผลตอบแทน 20% ในหนึ่งปีที่ S&P 500 เพิ่มขึ้นเพียง 10% กองทุนนั้นมีค่าอัลฟาหรือผลตอบแทนส่วนเกินที่สูงกว่าดัชนี นักลงทุนจำนวนมากกำลังมองหา ETF ที่มีค่า อัลฟาสูง เนื่องจากความไม่แน่นอนในพฤติกรรมของตลาดของตลาดหุ้น ที่คาดว่าจะคงอยู่ทั้งปี 2022
ขณะนี้มีกองทุน ETF หลายร้อยแห่งในอเมริกาที่ต้องการจะเป็นอัลฟา ค่าอัลฟาสามารถช่วยจัดอันดับประสิทธิภาพของกองทุน ที่มีการจัดการอย่างแข็งขัน อย่างไรก็ตาม เราต้องเตือนผู้อ่านว่าค่าอัลฟาและเบต้าเป็นค่าในอดีต ซึ่งไม่ได้หมายถึงความสามารถในการดำเนินงานหรือสร้างผลตอบแทนในอนาคต ในบทความนี้เราจะมาแนะนำกองทุน ETF นอกสหรัฐอเมริกา ที่เชื่อว่าสามารถพิจารณาให้อยู่ในกลุ่มอัลฟาและเบต้าได้
FCF International Quality ETF
- ระดับราคาปัจจุบัน: $30.21
- กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $30.01 - $37.71
- เปอร์เซ็นต์การปันผล: 1.4%
- อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.61% ต่อปี
กองทุนที่จะมาแนะนำในบทความนี้มีชื่อว่า FCF International Quality ETF (NYSE:TTAI) เป็นกองทุนที่มีการจัดการอย่างแข็งขัน เป็นพื้นที่อนุญาตให้ลงทุนกับตราสารทุนระหว่างประเทศในวงกว้าง ผู้จัดการกองทุนให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีกระแสเงินสด มีอิสระที่สูง และพยายามให้ผลตอบแทนสูงกว่า S&P Developed Ex-U.S. ดัชนี BMI NTR หรือเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ก็มีความสำคัญต่อการเลือกหุ้นของ TTAI เช่นกัน
TTAI อนุญาตให้บุคคลทั่วไปสามารถลงทุนได้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2017 ปัจจุบันถือครองหุ้นอยู่ทั้งหมด 136 ตัว หุ้น 10 อันดับแรกของกองทุนคิดเป็น 17% ของสินทรัพย์ทั้งหมด $5,830 ล้านเหรียญสหรัฐ หากพิจารณาแบ่งประเภทการถือครองหุ้นออกเป็นสัดส่วน จะพบว่า TTAI ถือครองหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมมากที่สุด 21.5% ตามมาด้วยการเงิน 14.1% เทคโนโลยีเพื่อข้อมูลข่าวสาร 13.4% และสินค้าอุปโภคบริโภคอีก 11.3%
แต่หากพิจารณาการถือของหุ้นออกตามแต่ละประเทศ จะพบว่า TTAI ถือครองหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศสหราชอาณาจักรมากกว่า 10% ตามมาด้วยสวิสเซอร์แลนด์ 9.7% ญี่ปุ่น 8.7% แคนาดา 8.5% ออสเตรเลีย 7.7% และประเทศจีน 6.1%
หุ้นชื่อดังที่กองทุนนี้ถือครองได้แก่ Novo Nordisk (NYSE:NVO) and Swiss Roche Holding (OTC:RHHBY); Royal Bank of Canada (NYSE:RY) ASML Holding (NASDAQ:ASML) และ Relx (NYSE:RELX)
ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2022 ราคากองทุน TTAI ได้ปรับตัวลดลงมาแล้วมากกว่า 16.8% และตลอดระยะเวลา 12 เดือนล่าสุดก็ได้ร่วงลงมาแล้วทั้งสิ้น 13% ถึงกระนั้้นอัตราผลตอบแทนรายปีก็ยังมีตัวเลขมากกว่า 7% สำหรับนักลงทุนที่สนใจกองทุน ETF ภายใต้เงื่อนไขในบทความนี้ แต่เป็นในประเทศสหรัฐอเมริกา เราแนะนำกองทุน FCF US Quality ETF (NYSE:TTAC) ซึ่งตั้งแต่ต้นมกราคมจนถึงปัจจุบัน ราคาของ TTAC ได้ปรับตัวลดลงมาแล้ว 11.3%
เราเชื่อว่าบริษัทที่สร้างกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่อง และมีอิสระสูงสมควรได้รับความสนใจจากนักลงทุน ตัวชี้วัดที่สำคัญนี้ ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับสุขภาพการเงินของบริษัท และมีเงินสดที่สามารถใช้เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้ ดังนั้นแม้ว่า ETF TTAI และ TTAC ในช่วงนี้จะปรับตัวลดลง แต่ก็สมควรแก่การพิจารณาเลือกเข้าพอร์ตลงทุน