เมื่อวันพุธที่ผ่านมาราคาทองคำได้ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกของเดือนเมษายน ซึ่งฟังดูแล้วเป็นเรื่องสมเหตุสมผลหากให้เหตุผลว่าขาลงครั้งนี้เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมของตลาดทุน ที่หนุนการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ กระแสข่าวที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปีทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ในรอบสองปี
เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณออกมาว่าอาจเกิดเหตุการณ์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วที่สุด หรือทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2006 ก็ทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลได้รับความนิยม เพราะการถือครองสินทรัพย์ทั้งสองยังได้ดอกเบี้ย ซึ่งเมื่อเทียบกับการถือครองทองคำที่ไม่ได้อะไร
แม้จะมีปัจจัยเชิงลบกดดัน แต่ราคาทองคำกลับอยู่ห่างจุดสูงสุดในวันที่ 8 มีนาคมน้อยกว่า 5% และถ้าวัดจากจุดสูงสุดตลอดกาลในเดือนสิงหาคมปี 2020 พบว่าราคาทองคำตอนนี้อยู่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดนั้นเพียง 3.6% คำถามก็คือทำไมราคาทองคำไม่ร่วงลงไปเลย? เท่าที่เราจะหาเหตุผลมาสนับสนุนได้ เหตุผลมีอยู่สองประเด็นสำคัญ หนึ่งคือสงครามระหว่างรัสเซียยูเครน และสองคือตลาดลงทุนไม่ได้เชื่อมั่นในธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้
ท่าทีของเฟดหลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ครั้งล่าสุดในเดือนมีนาคมมีแนวโน้มว่าจะทำนโยบายการเงินแบบดุดันแข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางช่วงเวลาที่ไฟสงครามยังไม่สงบ และซ้ำรอยปัญหาซัพพลายเชนขาดแคลนจากโควิด และนำมาซึ่งภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน นักลงทุนบางคนไม่เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะสามารถกดภาวะเงินเฟ้อครั้งนี้ลงมาได้ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นผลกระทบกับขาขึ้นที่มีในดัชนีดอลลาร์สหรัฐและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
ในขณะเดียวกัน นี่ก็เป็นเวลาเกือบสองเดือนแล้วที่สงครามรัสเซียยูเครนดำเนินมา และไม่มีทีท่าว่ารัสเซียจะยอมถอยเลย ยิ่งไปกว่านั้นประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินได้ออกมาเย้ยตะวันตกถึงการไร้ความสามารถในการหยุดยั้งเขา ทำได้เพียงตะโกนด่า อ้างสิทธิมนุษยชนไปวันๆ ตอนนี้ดูเหมือนว่ากำลังเป็นเกมทดสอบความอดทนระหว่างรัสเซียกับยุโรป ถึงแม้ว่ายุโรปจะประกาศคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย แต่ก็ต้องใช้เวลานานถึงอย่างน้อยสิ้นปีนี้ จึงจะสามารถลดการพึ่งพาทางพลังงานของรัสเซียได้
แล้วถ้าปัจจัยพื้นฐานยังมีความเสี่ยงเช่นนี้อยู่ มีเหตุผลอะไรที่จะทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงในวันนี้ ยิ่งถ้าทองคำได้รับความนิยมในฐานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัย ก็ควรจะมีความต้องการมากขึ้นแทนที่จะลดลงใช่หรือไม่? การวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจมีคำตอบให้กับคุณ
จากการวิเคราะห์กราฟรายวันรูปนี้ จะเห็นว่าราคาทองคำได้วิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมสมมาตร ตามตำราแล้ว รูปแบบคือการที่แรงซื้อและขายมีกำลังอยู่ในระดับเท่าๆ กัน ทำให้กราฟไม่สามารถเลือกข้างได้ และจึงจำใจต้องวิ่งอยู่ในกรอบราคาแคบๆ เพื่อดูสถานการณ์ไปก่อน
ที่สำคัญ ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าสุดท้ายแล้วสามเหลี่ยมนี้ก็จะจบลงที่ขาลง เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หากพิจารณาทางเทคนิคแล้ว ก่อนที่สามเหลี่ยมนี้จะเกิด ราคาทองคำได้วิ่งอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นมาก่อน แบบนั้นนักวิเคราะห์ทางเทคนิคก็สามารถสรุปได้ว่า การทะลุกรอบครั้งถัดไปควรจะเป็นแนวโน้มขาขึ้นได้เช่นกันหรือไม่?
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอให้ราคาทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไปก่อน จากนั้นรอให้ราคาลงมาทดสอบจุดที่ทะลุขึ้นไป ก่อนตัดสินใจวางคำสั่งซื้อ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอเช่นเดียวกับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง แต่จะเข้าทันทีที่ราคาลงมาทดสอบจุดที่ทะลุขึ้นไป โดยไม่รอสัญญาณยืนยันขาขึ้น
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งซื้อที่แนวรับของกรอบสามเหลี่ยมด้านล่าง หรือไม่ก็อาจจะเข้าทันทีที่ราคาทองคำสามารถทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไป ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง และสไตล์การเทรดของแต่ละคน
ตัวอย่างการเทรด (ขาขึ้น)
วันนี้เรามีตัวอย่างการวางจุดเข้าสำหรับนักลงทุนขาขึ้น ที่จะเข้าตอนทะลุกรอบสามเหลี่ยม (แบบที่ 1) และนักลงทุน ที่จะเข้าตอนราคาลงไปทดสอบกรอบสามเหลี่ยมด้านล่าง (แบบที่ 2)
แบบที่ 1
- จุดเข้า: $2,004
- Stop-Loss: $1,999
- ความเสี่ยง: $5
- เป้าหมายในการทำกำไร:$2,054
- ผลตอบแทน: $50
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:10
แบบที่ 2
- จุดเข้า: $1,930
- Stop-Loss: $1,925
- ความเสี่ยง: $5
- เป้าหมายในการทำกำไร:$1,980
- ผลตอบแทน: $50
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:10