การปรับตัวกลับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวจากข้อตกลงของกบฏฮูตี ที่จะไม่โจมตีโรงงานผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งถือเป็นการบรรเทาแรงกดดันทางภูมิรัฐศาสตร์ลงไปได้บ้าง
ในขณะเดียวกัน นักลงทุนทองคำในสัปดาห์นี้จะให้ความสนใจกับรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันที่ 15-16 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจะเปิดเผยสู่สาธารณะชนในวันพุธที่จะถึงนี้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ารายงานการประชุมนี้จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตัดสินใจของเฟดในการประชุมครั้งถัดไป ว่าสุดท้ายแล้วจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือนพฤษภาคม
ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนฝั่งเอเชียวันนี้ (เวลา 01:30 PM ตามเวลาท้องถิ่นสิงคโปร์) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้น 0.2% มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $104.56 ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เมื่อสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลง 13% มากที่สุดนับตั้งแต่ขาลงในเดือนเมษายนปี 2020 สาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบทั้งเบรนท์และ WTI ร่วงลงมากกว่า 1% เมื่อเช้านี้เป็นเพราะข่าวองค์การสหประชาชาติได้ดำเนินการหยุดยิงเป็นเวลาสองเดือน นับเป็นครั้งแรกที่มีการหยุดยิงระหว่างกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย และฮูตีที่ร่วมมือกับอิหร่านในสงครามเจ็ดปีกับเยเมน
ความขัดแย้งระหว่างฮูตีกับซาอุดีอาระเบีย และการโจมตีแหล่งพลังงานอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มกบฏเป็น “ภัยคุกคามต่ออุปทานน้ำมัน และการหยุดยิงจะช่วยลดภัยคุกคามนั้นได้” ฟิล ฟลินน์ นักวิเคราะห์จาก Price Futures Group ของชิคาโกกล่าว
ความกังวลเกี่ยวกับความต้องการน้ำมันในจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ยังคงมีอยู่ เนื่องจากเมืองเซี่ยงไฮ้ที่มีประชากรมากที่สุดของจีน รัฐบาลจีนพึ่งขยายกรอบเวลาการปิดเมืองจากโควิด-19 กระทรวงคมนาคมของจีนคาดว่าการจราจรบนท้องถนนจะลดลง 20% และเที่ยวบินลดลง 55% ในช่วงวันหยุดเช็งเม้งสามวัน อันเนื่องมาจากจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้น แม้จะมีสนธิสัญญาสันติภาพเยเมน แต่การคว่ำบาตรของตะวันตกต่อรัสเซียที่รุนแรงขึ้น ยังคงสามารถทำให้ราคาน้ำมันผันผวนในสัปดาห์นี้ได้
การเทขายน้ำมันดิบมากที่สุดนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ประกาศว่าน้ำมันดิบจำนวน 1 ล้านบาร์เรลต่อวันจะถูกปล่อยออกจากคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ (SPR) เป็นเวลาหกเดือน โดยจะเริ่มเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน ไบเดนได้สั่งให้ปล่อย 50 ล้านบาร์เรลจาก SPR และ 30 ล้านบาร์เรลในเดือนมีนาคม การปล่อยพลังงานครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือกับชาติพันธมิตรอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร ข้อมูลล่าสุดจาก EIA ที่นับถึงวันที่ 25 มีนาคมระบุว่าตอนนี้ SPR มีระดับอยู่ที่ 568 ล้านบาร์เรล ด้วยปริมาณน้ำมันสำรอง 180 ล้านบาร์เรลในช่วงหกเดือน ปริมาณสำรองอาจลดลงเหลือหนึ่งในสามของระดับปัจจุบัน
ไบเดนเริ่มดึงเอา SPR ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อให้บริษัทผู้กลั่นน้ำมันของสหรัฐฯ สามารถยืมน้ำมันสำรองจากรัฐโดยพวกเขาไม่ต้องจ่ายเงิน ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าบริษัทเหล่านี้ต้องส่งน้ำมันคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด และมีค่าเบี้ยประกันภัยเล็กน้อย การทำเช่นนี้ ฝ่ายบริหารหวังว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำมันแพงได้ ผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบและเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซินและดีเซลจึงได้ปรับตัวลดลง
แม้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำเนียบขาวได้ตัดสินใจปล่อย SPR ประมาณ 3 ล้านบาร์เรลต่อสัปดาห์ออกมา แต่ความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ กลับส่งผลกระทบต่อราคาจนถึงขณะนี้เพียงเล็กน้อย ความพยายามของไบเดนได้ทำให้บริษัทผู้กลั่นน้ำมันสามารถผลิตน้ำมันออกมาได้มากกว่าที่พวกเขามักจะทำได้ในช่วงเวลานี้ของปี ซึ่งส่งผลให้มีการหมุนเวียนของน้ำมันในระบบสูงเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ยินยอมที่จะปล่อยน้ำมันออกสู่ตลาดร่วมกับ 180 ล้านบาร์เรล ที่ไบเดนประกาศที่จะปล่อยก่อนหน้านี้ ทีน่า เต็ง นักวิเคราะห์จาก CMC Markets APAC & Canada ให้ความเห็นว่า
“ความพยายามร่วมกันของสหรัฐฯ และพันธมิตรอาจทำให้อุปทานขาดดุลในปี 2022 ชั่วคราว แต่นั่นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาระยะยาว นอกจากนี้ บริษัทเอกชนผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ อาจไม่เต็มใจที่จะเพิ่มผลผลิตเพื่อรักษากำไรให้สูง นอกจากนี้จำนวนของแท่นขุดเจาะในอเมริกายังคงชะลอตัว เนื่องจากผู้เจาะยังคงต้องนำกำไรมาคืนให้กับผู้ถือหุ้น และราคาน้ำมันดิบที่สูงมากกว่าที่จะเพิ่มการผลิต ซึ่งไม่คุ้มต้นทุน”
ในวันพุธที่ 6 เมษายนนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดการประชุมของธนาคารกลางเมื่อเดือนมีนาคมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน นักลงทุนหวังว่าจะได้รับข้อมูลอัปเดตว่าผู้มีสิทธิ์วางนโยบายการเงินมีมุมมองอย่างไรต่อแนวโน้มนโยบายการเงิน และอาจมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการลดงบดุล 9 ล้านล้านดอลลาร์
เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนที่แล้ว 0.25% ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการทำนโยบายการเงินตึงตัว เพื่อมุ่งหวังไปที่การควบคุมเงินเฟ้อ นับตั้งแต่การประชุมในเดือนมีนาคม เจ้าหน้าที่เฟดหลายคน รวมทั้งประธานธนาคารกลางเจอโรม พาวเวลล์ ได้ระบุว่าพวกเขาพร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงไปมากกว่านี้ ยิ่งได้เห้นตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยิ่งเป็นเหตุผลให้เชื่อได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 0.50% ในการประชุมวันที่ 4 พฤษภาคมนี้
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์นี้ของฝั่งสหรัฐอเมริกาจะมีรายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อจากโรงงาน จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก รายงานตัวเลขดุลบัญชีการค้า นอกจากนี้จะมีถ้อยแถลงจากคนของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้แก่ รองประธานเฟดเลล์ แบร์นาร์ด ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิส ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก และประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์